เกษตรกรอำเภอ กู๋จี นครโฮจิมินห์สร้างฐานะจากการเลี้ยงโคนม

Thành Trung-Vĩnh Phong
Chia sẻ
(VOVworld) – จากการส่งเสริมความได้เปรียบเกี่ยวกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรที่ดิน อำเภอกู๋ จีนครโฮจิมินห์กำลังปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ ชนบทใหม่อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการประยุกต์ใช้รูปแบบการผลิตตามแนวทาง พัฒนาการเกษตรในตัวเมืองตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2020 โดยเฉพาะการเลี้ยงโคนมซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบที่กำลังได้รับการปฏิบัติอย่าง มีประสิทธิภาพ
(VOVworld) – จากการส่งเสริมความได้เปรียบเกี่ยวกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรที่ดิน อำเภอกู๋จีนครโฮจิมินห์กำลังปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการประยุกต์ใช้รูปแบบการผลิตตามแนวทางพัฒนาการเกษตรในตัวเมืองตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2020 โดยเฉพาะการเลี้ยงโคนมซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบที่กำลังได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
เกษตรกรอำเภอ กู๋จี นครโฮจิมินห์สร้างฐานะจากการเลี้ยงโคนม - ảnh 1
เกษตรกรอำเภอ กู๋จี นครโฮจิมินห์สร้างฐานะจากการเลี้ยงโคนม

จากการมีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่เพื่อเลี้ยงโคนมกว่า 6 หมื่นตัว อำเภอกู๋จีได้กลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมการเลี้ยงโคนมนครโฮจิมินห์ซึ่งให้ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงแก่เกษตรกรในตำบลและตัวเมือง 20 แห่งของอำเภอซึ่งที่นี่ มีการจัดตั้งฟาร์มเลี้ยงโคนมเพิ่มมากขึ้นโดยมีโคนมตั้งแต่ 30-200 ตัว ปัจจุบัน ตำบล เตินแถกดงเป็นตำบลที่มีฝูงโคนมมากที่สุดของนครคือกว่า 2 หมื่นตัว อาชีพเลี้ยงโคนมไม่เพียงแต่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว 1600 ครอบครัวดีขึ้นเท่านั้น หากยังสร้างงานทำและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่นับพันครอบครัวที่ปลูกหญ้าเพื่อใช้เป็นอาหารวัวอีกด้วยและหลายครอบครัวมีรายได้มากกว่า 1 พันล้านด่งต่อปี
นอกจากตำบล เตินแถกดงแล้ว ยังมีการเลี้ยงโคนมที่ตำบล อานฟู๊ อาเญินไต ฝ่ามวันโก่ย เตินแถกหมีและเฟือกหวิงอานซึ่งเป็นสถานที่จัดสรรน้ำนมดิบหลักให้แก่บริษัทผลิตนมที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามปัจจุบัน เช่นVinamilk Dutch lady และ Friesland Campina จากราคาขายนมสดที่ 1 หมื่น 3 พัน 5 ร้อยด่งต่อกิโลกรัมในปัจจุบัน ถ้าหากเลี้ยงโคนม 10 ตัว เกษตรกรจะมีรายได้ประมาณ 600 ล้านด่งต่อปี ถึงแม้สร้างรายได้สูงแต่เพื่อประยุกต์ใช้รูปแบบเลี้ยงโคนมนี้ เกษตรกรต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมากเพื่อซื้อพันธุ์โคนม ตลอดจนลงทุนระบบโรงเลี้ยง การปลูกหญ้าและอาหารสำหรับโคนม นอกจากนั้น ผู้เลี้ยงโคนมต้องลงทุนระบบบำบัดน้ำเสีย เครื่องรีดนมและเทคนิคการเลี้ยงโคนมขั้นสูง ดังนั้น เพื่อแก้ไขอุปสรรค์ให้แก่เกษตรกร นครโฮจิมินห์ได้มีนโยบายให้กู้เงินด้วยดอกเบี้ยพิเศษสำหรับผู้เลี้ยงโคนม นาย เหงียนหุ่งหยุง ในหมู่บ้าน 3 เอ ตำบล เตินแถกดงได้เผยว่าจากการได้รับความสนใจของนคร ครอบครัวผมได้กู้เงิน 500 ล้านด่งจากมติ 13 ของคณะกรรมการประชาชนนครเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษต่อผู้เลี้ยงโคนม ผมได้ใช้เงินนี้เพื่อซื้อโคนมและขยายการผลิตซึ่งปัจจุบัน ได้เกิดประสิทธิผล การประกาศใช้มติ 13 เกี่ยวกับการให้กู้เงินด้วยดอกเบี้ยต่ำดีมากเพราะช่วยให้เกษตรกรขยายรูปแบบการเลี้ยงโคนม”
นอกจากการช่วยเหลือด้านเงินทุนแล้ว นครโฮจิมินห์ยังเปิดการฝึกอบรม ช่วยให้เกษตรกรประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงเพื่อให้ฝูงโคนมมีสุขภาพแข็งแรงและค้ำประกันคุณภาพแหล่งนม นาย เจืองวันโหน่ย ผู้เลี้ยงโคนมในหมู่บ้าน 3 ตำบล เตินแถกดง อำเภอ กู๋จีได้เผยว่าการเลี้ยงโคนมลำบากมาก แต่หลังจากพยายามอย่างเต็มที่ก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรค์ได้ ความยากลำบากที่สุดคือโรคของโคนมและบางครั้งก็ต้องทิ้งนม ชาวบ้านรักษาโรคของโคนมตามความเข้าใจที่มีเท่านั้น ถ้าหากได้รับการช่วยเหลือด้านเทคนิค อาหาร สัตวแพทย์และมาตรการเพาะเลี้ยงจากสำนักงานการเกษตรนคร ชาวบ้านจะมีความมั่นใจในการพัฒนาฝูงโคนมมากขึ้น”
การปลูกข้าวสร้างรายได้ไม่ถึง 30 ล้านด่งต่อเฮกต้าร์ต่อปี แต่การเปลี่ยนมาปลูกหญ้าเลี้ยงโคนมทำให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า คือประมาณ 150 ล้านด่งต่อเฮกต้าร์ นาย เหงียน หวุย หว่าย ฟู๊ รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอ กู๋จีได้เผยว่า อำเภอ กู๋จีได้วางแผนเลี้ยงโคนมและพื้นที่ปลูกหญ้าเพื่อพัฒนาอาชีพเลี้ยงโคนมโดยเน้นถึงการยกระดับปริมาณและคุณภาพของผลิตภัณฑ์เมื่อก่อน อำเภอ กู๋จีมีพื้นที่ปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตต่ำ 1 หมื่น 7 พันถึง 1 หมื่น 8 พันเฮกต้าร์เท่านั้น พวกเราได้กำหนดแนวทาง เปลี่ยนมาเป็นการปลูกหญ้าเพื่อเลี้ยงโคนมซึ่งให้ผลดีกว่า เมื่อก่อน โคนมแต่ละตัวให้นมตั้งแต่ 3 – 3.5 ตัน แต่ปัจจุบันได้ 6 ตัน ถึงแม้ฝูงโคนมจะพัฒนา แต่พวกเราได้กำหนดว่า จะไม่เพิ่มจำนวนโคนมอีก แต่จะเน้นพัฒนาผลผลิตและคุณภาพผ่านการสร้างพันธุ์โคนมที่ให้ผลผลิตสูงและประยุกต์ใช้เทคนิคด้านโภชนาการณ์ในการเพาะเลี้ยง”
การเลี้ยงโคนมคือหนึ่งในรูปแบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพที่อำเภอกู๋จีกำลังปฏิบัติในตำบลต่างๆ เช่น รูปแบบปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับหรือการเพาะพันธุ์ปลาซึ่งรูปแบบดังกล่าวได้ช่วยให้เกษตรกรที่นี่แก้ปัญหาความยากจนและสร้างฐานะบนผืนแผ่นดินของปิตุภูมิ./.

คำติชม