อำเภอเอียนโจว์ จังหวัดเซินลาพัฒนาการปลูกผลไม้อินทรีย์

Vinh Phong
Chia sẻ
(VOVWORLD) -เอียนโจว์เป็นหนึ่งในอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกผลไม้มากที่สุดของจังหวัดเซินลา โดยมีผลิตภัณฑ์หลักสำหรับการส่งออก เช่น มะม่วง ลำไย กล้วยและพลัม แต่เพื่อให้การปลูกผลไม้มีรายได้สูงและเสถียรภาพ ยกระดับคุณภาพและตอบสนองความต้องการที่นับวันสูงขึ้นของตลาด ทางการอำเภอฯ ได้เน้นพัฒนาพื้นที่ปลูกผลไม้อินทรีย์และประยุกต์ใช้ขั้นตอนต่างๆ ในการผลิตตามมาตรฐาน VietGAP
อำเภอเอียนโจว์ จังหวัดเซินลาพัฒนาการปลูกผลไม้อินทรีย์ - ảnh 1อำเภอเอียนโจว์ จังหวัดเซินลาพัฒนาการปลูกผลไม้อินทรีย์ ( sonla.gov.vn)

สหกรณ์เกษตรปลอดสารพิษเจี่ยงหักในหมู่บ้านวังหลุ่ง ตำบลเจี่ยงหัก เป็นสหกรณ์แห่งแรกของอำเภอเอียนโจว์ที่ได้รับเลือกให้เป็นท้องถิ่นทดลองปลูกมะม่วงอินทรีย์ นาย ห่าวันเซิน ผู้อำนวยการสหกรณ์ฯ ได้เผยว่า ทางสหกรณ์มีพื้นที่ปลูกมะม่วงและลำไยประมาณ 25 เฮกตาร์ ซึ่งในนั้นมี 15 เฮกตาร์ที่กำลังปลูกในรูปแบบอินทรีย์ ส่วนที่เหลือได้รับรหัสพื้นที่ปลูกตามมาตรฐาน VietGAP และมาตรฐาน GlobanGAP ซึ่งการผลิตผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษเป็นเป้าหมายของสหกรณ์นับตั้งแต่ที่ได้รับการก่อตั้ง

“นอกจากเป็นสวนผลไม้ที่ปลูกในป่าแล้ว เป้าหมายของเราคือ รักษาสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่รกร้างว่างเปล่าและสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกในสหกรณ์ ดังนั้นเราได้เลือกรูปแบบการผลิตที่ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อชุมชนและผู้บริโภค นับตั้งแต่ที่ได้รับการก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบัน ผลไม้ที่เราปลูกได้รับการยกระดับทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมาก เราได้ส่งออกผลไม้ไปยังออสเตรเลีย สหรัฐและจีน เป็นต้น และจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ทั่วประเทศ”

หลังการประกอบธุรกิจมาเป็นเวลา 10 ปี ถึงขณะนี้ การปลูกผลไม้อินทรีย์และปลอดสารพิษได้นำผลดีมาให้แก่สมาชิก โดยแต่ละคนมีรายได้เฉลี่ย 200 ล้านด่งต่อปี ซึ่งในระหว่างการผลิต ทางสหกรณ์ได้ปฏิบัติมาตรฐานที่เข้มงวดต่างๆ เช่น ทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์พืช ดิน ปุ๋ย และมีการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมาใช้ในการปลูก การดูแลและการเก็บผลผลิต รวมถึงใช้ปุ๋ยอินทรีย์และยากำจัดศัตรูพืชอินทรีย์เท่านั้น ซึ่งในปีแรกๆ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีต้นทุนแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ต้นทุนนี้จะลดลงในปีต่อ ๆ ไป เพราะดินเริ่มมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อการเติบโตของพืช ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตที่สูงกว่าและมีคุณภาพดีกว่าการใช้สารเคมี

ในสวนปลูกมะม่วงที่มีพื้นที่กว่า 1 เฮกตาร์ของคุณป้า ห่าถิเยวียน สมาชิกของสหกรณ์เจี่ยงหัก ต้นมะม่วงโตเร็วและผลดกเนื่องจากปลูกด้วยรูปแบบอินทรีย์ คาดว่า ในปี 2022 จะได้ผลผลิตประมาณ 10 ตัน เธอบอกว่า

ในช่วงก่อน เราดูแลสวนผลไม้แบบธรรมดา โดยให้ปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืช จึงได้ผลผลิตไม่สูงและขายได้ราคาไม่ดี แต่เดี๋ยวนี้ ครอบครัวเราได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหกรณ์ จึงได้รับคำแนะนำการดูแลสวนมะม่วงแบบอินทรีย์ที่ใช้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชอินทรีย์ เราได้เรียนรู้ประสบการณ์จากครอบครัวอื่นๆ และผลไม้ที่ผลิตแบบอินทรีย์มีราคาสูงและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากผู้บริโภค

อำเภอเอียนโจว์ จังหวัดเซินลาพัฒนาการปลูกผลไม้อินทรีย์ - ảnh 2มะม่วงถูกส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ( baosonla.org.vn)

ปัจจุบันนี้ ที่อำเภอเอียนโจว์ มีสหกรณ์ทั้งหมด 65 แห่ง โดยเป็นสหกรณ์ปลูกผลไม้ 45 แห่ง ทางอำเภอได้มอบใบรับรองมาตรฐาน VietGAP ให้แก่สหกรณ์ 29 แห่ง  ที่มีพื้นที่ปลูกผลไม้รวมเกือบ 675 เฮกตาร์ และเพื่อพัฒนาการปลูกผลไม้ชนิดต่างๆ คณะกรรมการประชาชนอำเภอฯ ได้ชี้นำการบริหารรหัสพื้นที่ปลูกเพื่อการส่งออกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในพื้นที่ 985 เฮกตาร์ที่ส่งออกผลไม้ไปยังตลาดออสเตรเลีย สหรัฐและจีนซึ่งมีผลผลิตสูงกว่า 10,250 ตัน นาย เลฟอง รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอเอียนโจว์เผยว่า ในอำเภอ มีพื้นที่ปลูกผลไม้กว่า 11,000 เฮกตาร์ ซึ่งปลูกมะม่วง ลำไยและพลัมเป็นส่วนใหญ่

สำหรับผลไม้หลักคือ มะม่วง ลำไยและพลัม ทางอำเภอฯ ได้ชี้นำให้ปลูกอย่างมีเสถียรภาพ ตามแนวทาง VietGAP และพยายามบรรลุมาตรฐาน GlobalGAP หุ้นส่วนต่างประเทศนับวันตั้งเงื่อนไขการนำเข้าที่เข้มงวด ดังนั้น ทางเราจึงเน้นการปลูกและการดูแลผลไม้ตามรูปแบบอินทรีย์เพื่อค้ำประกันการส่งออกไปยังตลาดที่มีมาตรฐานสูง ควบคู่กันนั้น ทางเราได้ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยถือเป็นเงื่อนไขที่บังคับต่อสหกรณ์และครอบครัวที่เข้าร่วมการจัดสรรผลผลิตเกษตร โดยเฉพาะผลไม้หลัก

ในปี 2022 อำเภอเอียนโจว์ได้ตั้งเป้าหมายส่งออกผลไม้ให้ได้ประมาณ 6,500 ตัน ยอดมูลค่าการส่งออกอยู่ที่กว่า 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ทางอำเภอฯ ได้ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์แนะนำผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดสารพิษของอำเภอฯ ต่อตลาด พร้อมทั้งผลักดันให้เกษตรกรเปลี่ยนแปลงวิธีการปลูกและให้การสนับสนุนต่อสินค้าหลักของท้องถิ่น เสริมสร้างการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่การจำหน่ายให้มีเสถียรภาพเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปความเคยชินในการปลูก มู่งสู่การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดสารพิษและยั่งยืน.

คำติชม