(VOVWorld)-
เมื่อก่อนนี้ หมู่บ้านฝู่ลิวในตำบลตื่อเซิน จังหวัดบั๊กนิงประกอบอาชีพขายหมากและพลู ซึ่งเป็นของเคี้ยวเล่นพื้นเมืองที่อยู่คู่กับชาวเวียด ดังนั้น ชาวบ้านจึงชอบเรียกว่า หมู่บ้านเหยิ่วที่มีความหมายคือหมากพลู หมู่บ้านแห่งนี้ไม่เพียงแต่ขึ้นชื่อเนื่องจากค้าขายเก่งเท่านั้น หากยังเป็นบ้านเกิดของปัญญาชนและศิลปินที่มีชื่อเสียงอีกด้วย ปัจจุบันนี้ ในแนวโน้มแห่งการพัฒนาของประเทศ หมู่บ้านฝู่ลิวยังคงเก็บรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของเขตกิงห์บั๊กเอาไว้อย่างสมบูรณ์
หมู่บ้านนฝู่ลิว จังหวัดบั๊กนิง
|
นับตั้งแต่ศตวรรษที่15 ตลาดเหย่าในหมู่บ้านฝู่ลิวก็มีความคึกคักมากและถึงปลายศตวรรษที่19 ตลาดเหย่าได้ขึ้นชื่อเป็นตลาดที่ใหญ่และคึกคักที่สุดในประเทศ โดยมีผู้ขายและผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก ในวันเปิดตลาดนัด ทุกบ้านต่างเปิดร้านขายสินค้า นางเซิม ผู้สูงอายุคนหนึ่งในหมู่บ้านฝู่ลิวได้เล่าเรื่องของตลาดตั้งแต่อดีตว่า “เมื่อก่อนนี้ ที่ลานหน้าศาลาประจำหมู่บ้าน มีคนมาขายหมากพลู ผ้าและสิ่งของที่จำเป็น ส่วนด้านหลังหมู่บ้านเป็นตลาดขายวัวควาย เนื้อสัตว์และกุ้งหอยปูปลา อาจกล่าวได้ว่า ตลาดแห่งนี้ขายทุกอย่าง หลังจากนั้น ตลาดถูกย้ายไปยังบริเวณด้านหน้าหมู่บ้าน”
ในความทรงจำของผู้สูงอายุ หมู่บ้านฝู่ลิวมีความเป็นตัวเมืองที่คึกคัก โดยมีร้านค้าตั้งอยู่ตลอดสองข้างทาง แม้จะเป็นหมู่บ้านในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแห่งอารยธรรมการปลูกข้าวนาดำแต่หมู่บ้านฝู่ลิวกลับมีความแตกต่างไปจากหมู่บ้านการเกษตรอื่นๆ โดยมีบรรยากาศที่เปิดกว้างเพื่อดึงดูดผู้คนให้มาจับจ่ายใช้สอย ชาวฝู่ลิว โดยเฉพาะ สตรีฝู่ลิวขึ้นชื่อว่าค้าขายเก่งแต่ยังคงรักษาบุคลิกภาพที่ซื่อสัตว์ เรียบง่ายของชาวบ้านในภาคเหนือไว้ได้ นาย เหงวียนดิ่งฟุก ชาวบ้านฝู่ลิวได้เผยว่า
“เมื่อก่อนนี้ ชาวบ้านฝู่ลิวส่วนใหญ่ทำการค้าขายและมีบางครอบครัวประกอบอาชีพการเกษตร ดังนั้น หมู่บ้านฝู่ลิวจึงมีขนบธรรมเนียมคือให้ลูกเป็นบุตรบุญธรรมเพื่อที่จะคนดูแลในระหว่างการไปทำงานไกลบ้านจนมีบางช่วง หมู่บ้านฝู่ลิวกลายเป็นหมู่บ้านที่มีบุตรบุญธรรมมากที่สุดในภาคเหนือ”
สิ่งที่โดดเด่นในหมู่บ้านฝู่ลิวคือถนนสายหลักในหมู่บ้านฝู่ลิวปูด้วยหินสีเขียว
|
ตามขนบทำเนียมประเพณีของท้องถิ่น สตรีฝู่ลิวเป็นคนขยันหมั่นเพียรทำอะไรก็เพื่อเลี้ยงครอบครัว จากการเป็นหมู่บ้านที่ค้าขายเก่งและให้ความสำคัญต่อการศึกษา หมู่บ้านฝู่ลิวก็มีชื่อเสียงด้วยเกียรติประวัติของความขยันเรียน โดยมีตระกูลที่มีผู้ที่เรียนดี สอบได้คะแนนสูงและดำรงตำแหน่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ช่วงต่างๆของประเทศ มีปัญญาชนและจิตรกรที่มีชื่อเสียง เช่น จิตรกร หว่างติ๊กจู่ นักเขียนกิมเลิน นักเขียน เหงวียนดิกหยุงและจิตรกร แถ่งเจืองเป็นต้น
เมื่อกลับมาเยือนหมู่บ้านฝู่ลิว ทุกคนต่างเห็นถึงความกลมกลืนระหว่างความงามแบบโบราณกับความทันสมัย สิ่งที่โดดเด่นในหมู่บ้านฝู่ลิวคือถนนสายหลักในหมู่บ้านฝู่ลิวปูด้วยหินสีเขียว ศาลาประจำหมู่บ้านมีหลังคางอโค้งอยู่ใต้ร่มต้นโพธิโบราณ ซึ่งถือเป็น๑ใน๓ศาลาประจำหมู่บ้านที่สวยที่สุดในภาคเหนือ ข้างๆคือวัดฟาบหวางที่มีหอระฆังสูง นาย เหงวียนจ๋องหวู ชาวบ้านฝู่ลิวได้เผยว่า“ปัจจุบันนี้ หมู่บ้านมีโบราณสถานระดับจังหวัดและประเทศ เช่น ศาลาประจำหมู่บ้าน วิหารและวัด หมู่บ้านมีประชากร๔๐๐๐คน นอกจากอาชีพพื้นเมืองคือการค้าขายแล้ว ชาวบ้านฝู่ลิวยังประกอบอาชีพการแกะสลักไม้และทำอาหารสำหรับงานเลี้ยงแต่งงาน ซึ่งร้านค้าที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามในถนนเป็นของชาวฝู่ลิว”
ชีวิตได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่หมู่บ้านต่างๆไม่ทำซุ้มประตูแบบเก่าอีกแต่ ชาวบ้านฝู่ลิวยังก่อสร้างซุ้มประตูตามรูปแบบดั้งเดิมพร้อมการสลักคำกลอนคู่ “เหญิบเฮืองเวิ้นตุก”และ “ซวดมนเกี๊ยนเติน” ซึ่งหมายความว่า แม้จะดำรงตำแหน่งใดแต่เมื่อกลับบ้านต้องรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของหมู่บ้าน ส่วนเมื่อไปทำงานนอกหมู่บ้านจะต้องรักษาชื่อเสียงของหมู่บ้านเช่นกัน ซึ่งชาวบ้านยังคงรักษาและปฏิบัติตามคำสั่งสอนดังกล่าวของคนรุ่นก่อนมาตราบเท่าทุกวันนี้.