สร้างความร่ำรวยจากการปลูกอบเชย

Khắc Kiên
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เนินเขาที่เคยเป็นที่รกร้างว่างเปล่าและเสื่อมโทรมในจังหวัดลายโจว์ปัจจุบันกำลังถูกปกคลุมด้วยต้นอบเชย พื้นที่ปลูกอบเชยปกคลุมไปทั่วทุกพื้นที่จนทำให้กลิ่นหอมของอบเชยปกคลุมไปทั่วหมู่บ้าน สร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชาวท้องถิ่นและเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า ฤดูเก็บเกี่ยวที่ได้ผลดีกำลังเวียนมา
สร้างความร่ำรวยจากการปลูกอบเชย - ảnh 1เจ้าหน้าที่ของอำเภอเหมื่องแต่แนะนำเทคนิคการตัดแต่งกิ่งและใบไม้เพื่อให้ต้นอบเชยเติบโตให้แก่ชาวบ้าน

 

หมู่บ้านปั๊กมา (Pac Ma) อำเภอเหมื่องแต่ (Muong Te) จังหวัดลายโจว์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวชนเผ่าไทและชนเผ่าลาหูกว่า 100 ครอบครัว เต็มไปด้วยสีเขียวของอบเชย ชาวบ้านปลูกอบเชยมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว และพื้นที่ปลูกอบเชยกำลังปกคลุมเนินเขาที่เมื่อก่อนเป็นพื้นที่รกร้าง

คุณหว่างหล่อปือ (Vang Lo Pu) ชนเผ่าลาหู ในหมู่บ้าน ปั๊กมา ตำบล เหมื่องแต่ เล่าให้ฟังว่า จากการแนะนำของทางการตำบลและอำเภอ ครอบครัวของเธอและบางครอบครัวในหมู่บ้านจึงเริ่มทดลองปลูกอบเชยเมื่อปี 2016 ซึ่งก็พบว่า อบเชยมีอัตราการรอดสูง เหมาะสมกับพื้นที่และเจริญเติบโตได้ดี หลังจากปลูกมาเป็นเวลากว่า 4 ปี พื้นที่ปลูกอบเชยนำร่องสามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว ด้วยพื้นที่ปลูกอบเชยในปัจจุบันอยู่ที่ 1.6 เฮกตาร์ ครอบครัวของนาง หว่างหล่อปือ มีรายได้กว่า 30 ล้านด่งหรือประมาณ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

“ครอบครัวของดิฉันปลูกอบเชยตั้งแต่ปี 2017 และจนถึงปัจจุบัน สามารถเก็บผลผลิตได้ 3 ปีแล้ว การปลูกอบเชยบนเนินเขาทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น ไม่ลำบากลำบากเหมือนเมื่อก่อนอีก”

จากพื้นที่ปลูกอบเชยนำร่องที่เกิดประสิทธิผลในเบื้องต้น ในปีต่อๆ มา จากการได้รับการสนับสนุนด้านพันธุ์พืชและปุ๋ยจากทางการปกครองท้องถิ่น ประชาชนในตำบลเหมื่องแต่ ได้ขยายพื้นที่ปลูกอบเชย  จนถึงปัจจุบัน ทั้งตำบลฯมีพื้นที่ปลูกอบเชยกว่า 200 เฮกตาร์ และกำลังขยายพื้นที่ปลูกอบเชยอย่างต่อเนื่อง ด้วยความปรารถนาที่จะทำให้อบเชยเป็นพันธุ์พืชหลักของท้องถิ่น นาย ลี้วันแช้ง รองประธานคณะกรรมการประชาชนตำบล  เหมื่องแต่ อำเภอ เหมื่องแต่ เผยว่า

“เราเริ่มปลูกอบเชยในตำบลเมื่อปี 2016 ในพื้นที่ 10 เฮกตาร์เป็นการนำร่อง ในปีต่อๆ มา ทางตำบลฯ ได้รณรงค์ให้ชาวบ้านขยายพื้นที่ปลูกต้นอบเชย จนปัจจุบันมีพื้นที่กว่า 200 เฮกตาร์ อบเชยได้รับการประเมินว่า เจริญเติบโตเหมาะสมกับภูมิอากาศและมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ” 

อบเชยถูกปลูกในตำบลและอำเภอเมือง 13 แห่งในอำเภอชายแดน  เหมื่องแต่ และหลังจากปลูกมาเป็นเวลากว่า 7 ปี ปัจจุบัน อำเภอฯมีพื้นที่ปลูกอบเชยกว่า 2,300 เฮกตาร์ โดยพื้นที่กว่าร้อยละ 50 คืออบเชยที่มีอายุกว่า 4 ปี ซึ่งได้รับการตัดแต่งกิ่งและใบเพื่อขาย สร้างรายได้เฉลี่ย 15 - 20 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ต่อปีหรือประมาณ 600-800 ดอลลาร์สหรัฐ มีส่วนร่วมทำให้อัตราครอบครัวยากจนในท้องถิ่นลดลงเฉลี่ยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี นาย ด่าววันแค้ง ประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอ เหมื่องแต่ จังหวัดลายโจว์ เผยว่า

“หลังจากศึกษารูปแบบทางการเกษตรและป่าไม้มาเป็นเวลาหลายปี จนถึงขณะนี้ สามารถยืนยันได้ว่า การที่ทางการอำเภอฯเลือกแนวทางปลูกอบเชยเป็นสิ่งที่ถูกต้อง รายได้จากการปลูกอบเชยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านได้ก่อสร้างบ้านที่โอ่โถงและมีรายได้ที่มั่นคงจากการปลูกอบเชย”

สร้างความร่ำรวยจากการปลูกอบเชย - ảnh 2ต้นอบเชยได้กลายเป็นพันธุ์พืชหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของอำเภอชายแดนเหมื่องแต่

ควบคู่กับการขยายพื้นที่ปลูกอบเชยแล้ว อำเภอ เหมื่องแต่ ยังอำนวยความสะดวกและเชิญชวนนักลงทุนมาศึกษาและร่วมมือในการปลูกและจำหน่ายสินค้าให้แก่ชาวบ้าน ปัจจุบัน โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากอบเชยแห่งแรกในจังหวัดลายโจว์ได้รับการลงทุนก่อสร้างและเปิดใช้ในอำเภอ เหมื่องแต่ ด้วยความสามารถในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกิ่งและใบไม้ถึง 100 ตันต่อวัน โรงงานแห่งนี้กำลังช่วยให้ครอบครัวหลายพันครอบครัวมีรายได้ที่มั่นคง นาย ดาววันแค้ง ประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอ เหมื่องแต่ จังหวัดลายโจว์เผยว่า ทางการท้องถิ่นกำลังส่งเสริมการปลูกอบเชย และถืออบเชยเป็นพันธุ์พืชหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและแก้ปัญหาความยากจนให้แก่ประชาชน ทางอำเภอฯพยายามจนถึงปี 2025 พื้นที่ปลูกต้นอบเชยจะอยู่ที่ 3,800 - 4,000 เฮกตาร์ และ 8 และ 10,000 เฮกตาร์ภายในปี 2030

“เรากำหนดว่า อบเชยจะเป็นพันธุ์พืชหลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และเลือกนักลงทุนรายใหญ่เพื่อสนับสนุนชาวบ้านในการพัฒนาการปลูกอบเชยทั่วทั้งอำเภอ ล่าสุด มีนักลงทุน 3 รายที่ได้รับการอนุมัติจากจังหวัดให้มาศึกษาและปลูกอบเชย นักลงทุนยังประสานงานและเชื่อมโยงกับประชาชนในตำบลที่มีศักยภาพ สภาพภูมิอากาศและที่ดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกและขยายพื้นที่ปลูกอบเชย”

พื้นที่ปลูกอบเชยในอำเภอ เหมื่องแต่ จังหวัดลายโจว์กำลังได้รับการขยายและกลายเป็นพันธุ์พืชหลักของท้องถิ่นในการแก้ปัญหาความยากจน ความเชื่อมั่นของประชาชนเกี่ยวกับการปลูกอบเชยได้รับการเสริมสร้างเนื่องจากมีรายได้ที่มั่นคงจากการขายกิ่งและใบอบเชย ซึ่งนี่เป็นพื้นฐานที่มั่นคงเพื่อให้อบเชยกลายเป็นหนึ่งในพันธุ์พืชหลักที่นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่กลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถิ่น.

คำติชม