(VOVworld) – จ่ากู๊คืออำเภอที่มีชนเผ่าเขมรอาศัยมากที่สุดในจังหวัดจ่าวิง คิดเป็นร้อยละ 60 ของประชากรและมากที่สุดของประเทศ เมื่อก่อน ชนเผ่าเขมรที่นี่ประกอบอาชีพเกษรกรรมเป็นหลักและเป็นแรงงานรับจ้าง ดังนั้น อัตราครอบครัวยากจนยังอยู่ในระดับสูง แต่ในหลายปีมานี้ จากการช่วยเหลือของส่วนกลาง การผลักดันการถ่ายทอดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืชและการเพาะเลี้ยงสัตว์ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตชนบทยากจนนี้มีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ประสิทธิภาพของการผลิตเกษตรได้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในอำเภอจ่ากู๊
|
นาง แถกถี่นัม อายุ 55 ปีในตำบล หงอกเบียน อำเภอจ่อกู๊ จังหวัดจ่าวิงได้ประกอบอาชีพรับจ้างที่จังหวัดก่าเมา ด่งทาปและนครโฮจิมินห์เป็นเวลาเกือบ 20 ปีเนื่องจากไม่มีที่ดินเพื่อทำการเกษตรแต่ปัจจุบัน นาง นัมไม่ต้องทำงานห่างไกลบ้านเกิดอีกแล้วเพราะได้งานทำที่บ้านเกิด แถมมีรายได้ประมาณ 7 หมื่นถึง 8 หมื่นด่งต่อวัน นาง นัมเผยว่า“เมื่อก่อน ดิฉันต้องไปทำงานรับจ้างแบกของที่นครโฮจิมินห์ซึ่งเป็นงานลำบากมาก ปัจจุบัน ดิฉันทำงานรับจ้างเก็บถั่วที่บ้านเกิดซึ่งเป็นงานที่ไม่ลำบาก แถมได้อยู่ใกล้บ้าน ไปเช้าเย็นกลับ เมื่อก่อนทำงานที่นครโฮจิมินห์จะเดินทางกลับบ้านหรือบางทีก็ไม่ได้กลับ”
ในอดีต เขตจ่ากู๊เป็นเขตดินทราย ดังนั้นจึงปลูกข้าวได้แค่ปีละ 1 ฤดูเท่านั้น แถมปริมาณผลผลิตที่ได้ก็ไม่แน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ท้องถิ่นมีแนวทางเปลี่ยนมาปลูกข้าวผสมกับการปลูกพืชอื่นๆและผลักดันการจ่ายกระแสไฟฟ้าและน้ำสะอาด พื้นที่แถบนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากโดยเมื่อก่อน ถึงแม้เป็นครอบครัวที่มีที่ดินนับหมื่นตารางเมตรแต่ก็ยังเป็นครอบครัวยากจน แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นครอบครัวร่ำรวยเพราะมีรายได้นับร้อยล้านด่งต่อปี นาง แถกถี่ยึง มีที่ดิน 4 พันตารางเมตรและมีลูกเรียนมหาวิทยาลัยที่นครโฮจิมินห์ได้เผยว่า“ครอบครัวของดิฉันปลูกถั่วลิสง ถั่วเขียวและข้าว การปลูกถั่วมีกำไรมากกว่าการปลูกข้าว ตอนที่ยังไม่มีการปลูกข้าวแบบผสม ครอบครัวลำบากมาก แต่พอเปลี่ยนมาปลูกถั่วเพิ่มเติม รายได้ก็เพิ่มขึ้น ปีนี้ ได้ผลผลิตดีขึ้น”
สำหรับครอบครัวของนาง กิมถีบิ๊กเฝื่องในตำบล เตินเซินก็สามารถหลุดพ้นจากความยากจนจากการปลูกข้าวแบบผสมพันธุ์พืช นับตั้งแต่ได้รับการฝึกอบรมด้านเทคนิค ครอบครัวของเธอได้ใช้ที่ดิน 2 พันตารางเมตรในการปลูกพันธุ์อย่างอื่นซึ่งทำให้ครอบครัวเธอมีรายได้ตั้งแต่ 30-40 ล้านด่งต่อปี โดยเฉพาะในเทศกาลแซนโฎนตาปีนี้ ถึงแม้ราคาขายพริกไม่สูงเมื่อเทียบกับฤดูเก็บเกี่ยวก่อน แต่ก็ขายได้ 15 ล้านด่งซึ่งสูงกว่า 4-5 เท่าเมื่อเทียบกับการปลูกข้าว นาง กิมถีบิ๊กเฟื่องได้เผยว่า“เมื่อก่อน ดิฉันปลูกพืช 1 ฤดูและข้าว 2 ฤดู แต่ปัจจุบันได้ปลูกพืชทั้ง 3 ฤดู แตงกวา 1 ฤดู มะระและพริก 1 ฤดูซึ่งแตงกวากับมะระสร้างรายได้ 20 ล้านด่ง ส่วนพริกวันหนึ่งเก็บผลผลิตได้ 70-80 กิโลกรัมและราคาขายหน้าฟาร์มคือ 1 หมื่น 2 พันด่ง”
พื้นที่ปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตต่ำทั้งหมดของอำเภอจ่ากู๊ต่างได้รับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการปลูกพืชโดยจนถึงขณะนี้ พื้นที่ปลูกข้าวผลผลิตต่ำเกือบ 4 พันเฮกต้าร์ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูง พืชและผลไม้ ควบคู่กันนั้น ทางท้องถิ่นยังผลักดันการถ่ายทอดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรโดยตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปัจจุบันได้เปิดการฝึกอบรมเกือบ 60 ครั้งซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 1 พัน 5 ร้อยคน
ใน 3 ปีมานี้ จากแหล่งเงินทุนช่วยเหลือของส่วนกลาง อำเภอจ่ากู๊ได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ก่อสร้างระบบคมนาคมเชื่อมโยงตำบลและหมู่บ้านต่างๆ ก่อสร้างสะพานหลายแห่ง รวมเงินลงทุนกว่า 4 หมื่น 5 พันล้านด่ง ทางอำเภอได้สงวนเงินกู้กว่า 1 แสนล้านด่งเพื่อสนับสนุนการผลิตและ 1 หมื่น 7 พันล้านด่งเพื่อให้การช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยให้แก่ชนเผ่าเขมรที่ยากจน นอกจากนี้ หน่วยงานและองค์การต่างๆในท้องถิ่นได้ผลักดันการประชาสัมพันธ์การรณรงค์แนะนำ ให้กำลังใจครอบครัวยากจนฝันฝ่าอุปสรรค ตั้งใจหลุดพ้นจากความยากจนซึ่งได้ผลที่น่ายินดีโดยอัตราครอบครัวยากจนของท้องถิ่นได้ลดลงเหลือร้อยละ 21.5 จากร้อยละ 30 นาย กิมหงอกเซือง หัวหน้าฝ่ายชนเผ่าของอำเภอจ่ากู๊ได้เผยว่า“จากการช่วยเหลือของรัฐ โดยเฉพาะนโยบายสำหรับชนกลุ่มน้อยและการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพันธุ์พืชจึงทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าเขมรในอำเภอจ่ากู๊มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเศรษฐกิจครอบครัวเมื่อเร็วๆนี้ได้พัฒนาเป็นอย่างดี ชาวบ้านฉลองเทศกาลแซนโฎนตาอย่างสนุกสนาน ไม่ฟุ่มเฟือยและค้ำประกันความดีงามของประเพณีของชนเผ่าตน”
ประสิทธิภาพของการผลิตเกษตรได้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในอำเภอจ่ากู๊และกำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตทั้งด้านวัตถุและจิตใจของชนเผ่าเขมรที่นี่ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อให้ชนเผ่าที่นี่หลุดพ้นจากความยากจน./.