พิธีเซ่นไหว้เพื่อบูชาเทพเจ้าประจำหมู่บ้าน |
ตามตำนาน ก่อนคริสต์ศักราช 273 ปี ในสมัยกษัตริย์ หุ่ง ที่ 18 เมื่อกองทัพ ของราชวงศ์จ๊กก๊ก หรือรัฐฉู่มารุกราน นายพล ฟานไตหญาก ได้รับมอบหมายจากกษัตริย์ หุ่ง ให้เป็นผู้บัญชาการเพื่อรับมือผู้รุกราน เมื่อนำกองทัพเดินทัพผ่านหมู่บ้าน เฮืองแกง ซึ่งก็คือหมู่บ้านถิเกิ๊มในปัจจุบัน นายพล ฟานไตหญาก ได้สั่งให้จัดการแข่งขันหุงข้าวเพื่อเลือกพ่อครัวที่เก่งที่สุดมาหุงข้าวให้ทหารกิน หลังจากขับไล่ผู้รุกรานสำเร็จ นายพล ฟานไตหยญาก ได้กลับมาพำนักอาศัยในผืนแผ่นดินนี้และสอนวิธีปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าให้แก่ชาวบ้าน รวมทั้งจัดการแข่งขันก่อไฟหุงข้าวในวันที่ 8 เดือนอ้ายตามจันทรคติทุกปีเพื่อรำลึกถึงกองทัพและประชาชนที่ได้มุ่งมั่นรักษาประเทศและขับไล่ผู้รุกราน หลังจากถึงแก่อสัญกรรม นาย ฟานไตหญาก ได้รับการบูชาเป็นเทพเจ้าประจำหมู่บ้าน และเพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณต่อคุณูปการของท่าน ชาวบ้านถิเกิ๊มได้จัดการแข่งขันหุงข้าวในวันที่ 8 เดือนอ้ายตามจันทรคติทุกปี นาย เหงียนวิงเหิบ ตัวแทนของคณะกรรมการจัดพิธีกรรมของหมู่บ้านถิเกิ๊ม เล่าให้ฟังว่า “เมื่อก่อน ไม่มีไม้ขีดต้องใช้ไม้เพื่อก่อไฟหุงข้าว มี 4 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน เพราะเมื่อก่อน หมู่บ้านแบ่งเป็น 4 แห่ง ทีมต้องเข้าร่วมการแข่งขันก่อไฟ หาบน้ำและหุงข้าว และมีการมอบรางวัลให้แก่ทีมชนะ หลังจากนำข้าวไปถวายบูชาเทพเจ้าประจำหมู่บ้านแล้ว ก็จะมีการจัดกิจกรรมเลือกข้าวที่หุงได้อร่อยที่สุด”
ก่อนเปิดการแข่งขัน ทีมที่เข้าร่วมจะเตรียมอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่างๆเพื่อหุงข้าว เช่น สาก ครก ฟางและหม้อเพื่อหุงข้าวให้เร็วและอร่อยที่สุด โดยแต่ละทีมจะได้รับข้าว ๑ กิโลกรัมเพื่อหุงข้าว โดยผู้ชายจะนำข้าวใส่ครกเพื่อตำ ซึ่งจะต้องทำอย่างรวดเร็วและระมัดระวังเพื่อไม่ให้เมล็ดข้าวหัก หลังจากนั้น ก็จะทำการฝัดข้าวเพื่อแยกข้าวออกจากกรวดและแกลบ ในเวลาเดียวกัน ในขณะที่เด็กวัยรุ่นจะต้องวิ่งประมาณ 800 เมตรจากศาลาประจำหมู่บ้านไปเอาน้ำ ต่อจากนั้น แต่ละทีมจะส่งชายหนุ่ม 4 คนเข้าร่วมการแข่งขันก่อไฟซึ่งบรรยากาศกองเชียร์สนุกสนานเป็นอย่างมาก
บรรยากาศการแข่งขันหุงข้าว |
เมื่อข้าวที่หุงสะเด็ดน้ำก็จะนำไปกลบในขี้เถ้าฟางข้าวเพื่อให้ข้าวสุกซึ่งถ้าทีมไหนทำขั้นตอนนี้ได้ดี ข้าวจะสุกเท่าๆกัน จากนั้น คณะกรรมการตัดสินจะตักข้าว ๔ ถ้วยนำไปถวายบูชาเทพเจ้าประจำหมู่บ้าน หลังจากนั้นจะให้คะแนนต่อหน้ากองเชียร์และทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน นาย หวูดังเกวียน ตัวแทนคณะกรรมการโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ศาลาประจำหมู่บ้านถิเกิ๊มและดูแลการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการแข่งขันหุงข้าวในหมู่บ้านถิเกิ๊มเผยว่า "การแข่งขันหุงข้าวมีการตำข้าว ชาวข้าว หุงข้าว แต่ละทีมมีสมาชิก ๑๐ คน เวลาเริ่มก่อไฟหุงข้าวคือ 11.00 น. และเสร็จสิ้นลงในเวลา 12.00 น. ข้าวเป็นของชาวบ้านที่เองเพื่อถวายเทพเจ้าประจำหมู่บ้าน ปีนี้ การแข่งขันหุงข้าวไม่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับการมอบรางวัล ชาวบ้านมีความพอใจเกี่ยวกับการให้คะแนน การแข่งขันปีนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ชาวบ้านทำมาหากินดี มีสุขภาพแข็งแรงและมีความเจริญรุ่งเรือง"
หลังจากประกาศผลการแข่งขัน ชาวบ้านจะแบ่งข้าวที่ถวายบูชาเทพเจ้าประจำหมู่บ้านเพื่อเป็นศิริมงคลในต้นปีใหม่โดยเชื่อมั่นว่า ถ้าผู้ใหญ่กินข้าวนี้จะประสบความโชคลาภในตลอดปี เด็กๆจะกินเก่งและโตเร็ว นาง โงถิหว่า จากแขวงซวนเฟืองและเป็นตัวแทนของทีมที่ได้รับรางวัลที่ ๑ ในการแข่งขันหุงข้าวในหมู่บ้านถิเกิ๊มเผยว่า “ตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก ดิฉันได้เข้าร่วมงานแข่งขันหลายครั้ง ปีนี้ ดิฉันเป็นหัวหน้าทีม เรารู้สึกดีใจและมีความภาคภูมิใจมากเพราะได้รับรางวัลที่ 1 ปีใหม่ ชุมชนจะมีความสงบสุขและมีโชคลาภ การนำข้าวไปบูชาเทพเจ้าประจำหมู่บ้าน ทำให้ทุกคนยิ้มแย้มและรู้สึกมีความสุขมาก นี่คือการประเพณีพื้นเมืองของหมู่บ้านเรา”
ทีมเข้าร่วมการแข่งขันหุงช้าว |
ทุกปี การแข่งขันหุงข้าวในหมู่บ้านถิเกิ๊มมีชาวท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศมาเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เขตนามตื่อเลียมในกรุงฮานอยได้มีแผนการเสนอต่อกระทรวงวัฒนธรม การกีฬาและการท่องเที่ยวให้รับรองการแข่งขันหุงข้าวในหมู่บ้านถิเกิ๊มเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมระดับประเทศ.