(VOVworld) - หลังการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ประชาชนอำเภอเตินเหียบ จังหวัดเกียนยางได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตตามแนวทางใช้ที่ดิน ผลประโยชน์จากการเกษตรและบำบัดของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตการเกษตร อีกทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเขตชุมชนและมีส่วนร่วมลดปัญหาโลกร้อนจากการผลิตเกษตร
(Photo: kiengiang.vnpt.vn)
|
ครอบครัวนาย หวอมิงเจี๊ยวที่หมู่บ้านกิงห์ 7บี ตำบลแถ่งดงอา อำเภอเตินเหียบมีพื้นที่ปลูกข้าว 10 เฮกต้า ก่อนหน้านี้ ครอบครัวนาย เจี๊ยวได้ทำการผลิตเกษตรแบบดั้งเดิม แต่หลังเข้าร่วมการฝึกอบรมเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหานํ้าทะเลหนุนต่อการผลิตเกษตร ครอบครัวนาย เจี๊ยวและสมาชิกของสหกรณ์กิงห์ 7 บีจำนวนมากได้ปฏิบัติตามวิธีการผลิตใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดผลกระทบจากการปล่อยของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย การใช้พันธุ์ข้าวที่มีแหล่งผลิตที่ชัดเจน ลดปริมาณพันธุ์ข้าว ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช การใช้นํ้า และการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปัญหาปฏิกิริยาเรือนกระจก และพยายามลดความเสียหายในการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว นาย เจี๊ยวเล่าให้ฟังว่า “ปัจจุบัน ศูนย์ส่งเสริมการเกษตร สำนักส่งเสริมการเกษตรอำเภอเตินเหียบและบรรดาผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกิ่นเธอได้มาอบรมวิธีการผลิตใหม่ให้แก่พวกเรา ทั้งนี้ได้ช่วยลดต้นทุนแต่ผลผลิตยังคงอยู่ในระดับที่มั่นคง ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อการผลิต การจำหน่ายสินค้า และการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม”
ปัญหาการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกในพื้นที่หลายล้านเฮกต้า กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ในหลายปีที่ผ่านมา องค์การ NGO ต่างๆ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกิ่นเธอและสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดเกียนยาง จัดโครงการทดลองปลูกข้าวที่ลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ซึ่งการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและวิธีการผลิตใหม่ในการปลูกข้าวได้ช่วยสร้างประสิทธิภาพสูงทางเศรษฐกิจ ลดการปล่อยก๊าซและของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม นาง เหงวียนถิโต๊งาที่หมู่บ้านเตินหว่า ตำบลเตินเหียบบีกล่าวว่า “ดิฉันได้โน้มน้าวให้ครอบครัวซื้อพันธุ์ข้าวที่มีแหล่งผลิตที่ชัดเจน ลดปริมาณพันธุ์ข้าวและการใช้ยากำจัดศัตรูพืช หลังการเก็บเกี่ยว ก็ทำลายตอซังข้าวเพื่อเตรียมให้แก่ฤดูการผลิตใหม่และไม่ปล่อยของเสียลงสู่แม่นํ้าเพื่อแก้ปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม”
ส่วนนาย เหงวียนวันย้าว รองหัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการเกษตรอำเภอเตินเหี๋ยบ ได้แสดงความเห็นว่า “ชาวบ้านอำเภอเตินเหี๋ยบมีประสบการณ์มากมาย และปฏิบัติตามวิธีการผลิตใหม่เป็นอย่างดี ส่วนทางการปกครองท้องถิ่นและสหกรณ์ต่างๆได้ผลักดันให้เกษตรกรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการลดปริมาณพันธุ์ข้าว ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญในวิธีการผลิตดังกล่าว”
แต่ละปี เวียดนามมีเศษวัตถุดิบทางการเกษตร 80 ล้านตันที่ไม่ได้รับการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมตามทุ่งนาและถนนทุกซอกทุกซอย ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนทำลายทัศนียภาพและก่อให้เกิดปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม ส่วนการปฏิบัติตามวิธีการผลิตใหม่ได้เกิดประสิทธิผลอย่างจริงจังและมีส่วนร่วมต่อขบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในท้องถิ่น นาย เจิ่นกวางกุ๋ย รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดเกียนยางได้ยืนยันว่า “การปฏิบัติโครงการดังกล่าวได้เกิดประสิทธิผลอย่างจริงจัง ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตร้อยละ 10 เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรร้อยละ 48 ลดต้นทุนการผลิตตั้งแต่ร้อยละ 30 ถึง 40 ลดการใช้นํ้าจากระบบชลประทานลงร้อยละ 40 และลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกลงร้อยละ 30”
หลังจากมีความเข้าใจถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามวิธีการผลิตใหม่เพื่อลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกแล้ว เกษตรกรได้มีส่วนร่วมอันสำคัญในการลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ช่วยพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซออกสู่สิ่งแวดล้อมและปฏิบัติกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ให้ประสบความสำเร็จ./.