เทศกาลเต๊ด

Chia sẻ
เทศกาลเต๊ด(Tet) เป็นเทศกาลอรุณแรกแห่งปี หรือชาวเวียตนามเรียกว่า เต๊ด เหวียน ด่าน (Tet Nguyen Dan) ถือเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติที่สำคัญที่สุดของชาติเวียตนามเลยทีเดียว
เทศกาลเต๊ด - ảnh 1

เทศกาลเต๊ด(Tet) เป็นเทศกาลอรุณแรกแห่งปี หรือชาวเวียตนามเรียกว่า เต๊ด เหวียน ด่าน (Tet Nguyen Dan) ถือเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติที่สำคัญที่สุดของชาติเวียตนามเลยทีเดียว   เทศกาลเต๊ดจะเริ่มขึ้นหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะเข้าสู่ปีใหม่ โดยเริ่มต้นในวันที่ 23 เดือน 12 จะมีพิธีเซ่นไหว้เต๋า กวน หรือเทพเจ้าแห่งครัว ด้วยผลไม้สด อาหารคาวหวาน รองเท้าชุดแต่งกายขุนนาง และปลาคราฟ เพื่อที่จะส่งเทพเจ้าแห่งครัวขึ้นไปรายงานความเป็นไปในแต่ละครอบครัวในปีที่ ผ่านมาบนสรวงสวรรค์  นอกจากนี้ชาวเวียตนามยังนิยมตั้ง เกย เนว (Cay Neu)ซึ่งเป็นต้นไม้ทำจากลำไผ่มาปักไว้หน้าบ้าน ต้นนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี และมงคล จะทำให้วิญญาณชั่วร้ายหวาดกลัวและหนีไป ในช่วง 7 วันก่อนปีใหม่นี้จะมีการทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของใดๆที่ชำรุดเสียหายก็ทิ้งไปและเปลี่ยนใหม่ ตระเตรียมเสื้อผ้าใหม่ๆเพื่อที่จะต้อนรับสิ่งดีๆในปีใหม่
เทศกาลเต๊ด - ảnh 2
คนเวียตนามจะ นิยมประดับตกแต่งบ้านด้วยไม้มงคล 3 ชนิดคือ ต้นส้มจี๊ด ดอกท้อสีแดง และดอกมายสีเหลืองทอง   ถือเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ ทำให้คนในบ้านมีความสุขและโชคดี  ในระยะเจ็ดวันก่อนเทศกาลเต๊ดนี้ คนเวียตนามมีธรรมเนียมการไปเยี่ยมและทำความสะอาดที่สุสานของบรรพบุรุษด้วย มีการล้าง ปัดกวาด ทาสีใหม่ เขียนตัวหนังสือที่ป้ายชื่อใหม่และจุดธูปเซ่นไหว้ ด้วยผลไม้ อาหารคาวหวาน กระดาษทองบอกกล่าวให้บรรพบุรุษกลับมาบ้านเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่กับลูกหลาน ในวันส่งท้ายปีเก่า สมาชิกในครอบครัวของชาวเวียตนามจะมาพร้อมหน้าพร้อมตากัน เพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ หิ้งบูชาจะได้รับการประดับประดาตกแต่งอย่างงดงาม ประดับด้วยดอกไม้มงคล ดอกท้อ ดอกมาย และมีไฟ้ฟ้าสว่างไสว ของเซ่นไหวก็อุดมสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยผลไม้ห้าอย่าง ตามคติความเชื่อว่าเลข 5 นั้นบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ โชคดี ความสุขห้าอย่างที่คนเวียตนามเชื่อคือ ฐานะร่ำรวย เกียรติยศ อายุยืน สุขภาพแข็งแรง และความสุข นอกจากนี้ก็มีอาหารคาวหวาน หมูหัน ไก่ ช้าวเหนียวสีเแดง ผลไม้เชื่อมต่างๆ เช่น มะพร้าวแก้ว บัวเชื่อม มะเขือเทศเชื่อม ขนมประจำเทศกาลเต็ด หมูยอ เเหนม เมี่ยงทอด กระดาษเงินทอง เสื้อผ้ากระดาษ แต่อาหารสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในเทศกาลเต๊ด คือแบ๋งห์จึง ทำจากข้าวเหนียว ถั่วเขียว เนื้อหมู ห่อด้วยใบไม้สีเขียว รูปทรงสี่เหลียมจตุรัสบางท้องถิ่นจะห่อเป็นรูปทรงกระบอก เวลากินจะกินคู่กับเยือหมอน ซึ่งเป็นผักดองขึ้นชื่อของเวียตนาม ขนมนี้จะเป็นสัญลักษณ์ของแผ่นดิน และแบ๋งห์ใหย่ ทำจากข้าวเหนียวนึ่ง รูปวงกลม ซึ่งหมายถึงพระอาทิตย์ สะท้อนคติในเรื่องจักรวาลที่ประกอบไปด้วย ฟ้าและดิน  หลังจากการเซ่นไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษจะเป็นการรับประทานอาหารร่วมกัน และอยู่รอตอนรับปีใหม่ในช่วงเที่ยงคืนเรียกว่า ซาวเถื่อ (Giao thua) จะมีการตั้งโต๊ะเซ่นไหว้เทพเจ้าที่ลงมาดูแลโลกมนุษย์ที่หน้าบ้าน มักมีการจุดปะทัดหรือพลุ เพื่อเป็นสัญญาณว่าปีใหม่ได้มาถึงแล้ว จากนั้นจะฉลองปีใหม่ในอีก 3 วัน ตามธรมเนียมเวียตนามวันที่หนึ่งเป็นเต๊ดของครอบครัวบิดา วันที่สองเป็นเต๊ดของครอบครัวฝ่ายมารดา วันที่สามเป็นเต๊ดของครูอาจารย์ ดังนั้นคนเวียตนามจะเดินทางไปเยี่ยมเยียนและขอบคุณบุคคลที่มีพระคุณหรือให้ ความช่วยเหลือกันมา ความประทับใจและชื่นชอบอย่างมากถึงขั้นหลงไหลในเทศกาลเต็ดของผม ซึ่งถูกปลูกฝังมาแต่ครั้งเยาว์วัย ถึงแม้ผมจะเติบโตนอกเวียตนาม คือในประเทศไทยได้แก่ คำบอกเล่าที่ว่า
เทศกาลเต๊ด - ảnh 3
เทศกาลเต็ด  เป็นเทศกาลแห่งการเชื่อมโยงอดีตและปัจจุบันของครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น การพบปะกันของคนในครอบครัว ซึ่งทำงานอยู่ห่างไกล ได้กลับมาเจอกัน การได้แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ จะมีการให้พรอายุหรือ หมึ่งต่วย (mung tuoi) โดยผู้ใหญ่จะให้ซองแดงแก่เด็กๆและอวยพรให้ประสบความสำเร็จในการเรียนและ หน้าที่การงาน ส่วนลูกหลานก็จะร่วมกันอวยพรให้พ่อแม่และปู่ย่าตายายมีสุขภาพแข็งแรงและอายุ ยืนยาว พิธีที่หน้าสนใจอีกอย่างของเทศกาลเต๊ดคือ การซงหญ่า (Xong nha) นั้นคือความเชื่อที่ว่าผู้มาเยือนในวันแรกของเต๊ดจะทำนายโชคอนาคตและวาสนา ของเจ้าของบ้านในปีนั้น ดังนั้นคนเวียตนามจึงมักเชิญคนที่มีคุณสมบัติมาอวยพรครอบครัวของตนในเช้าวัน ขึ้นปีใหม่ นอกจากนี้ในข่วงเต็ดยังมีข้อห้ามต่างๆเช่นห้ามกวาดบ้านเพราะเกรงว่าอาจกวาด โชคลาภออกไป ห้ามยืมเงิน ห้ามพูดคำหยาบ เป็นต้น ในช่วงต้นปีคนเวียตนามก็นิยมเดินสายไปทำบุญไหว้พระตามวัดวาอารามและศาลเจ้า ต่างๆ เพื่อขอพรให้มีโชคตลอดปี และมีการติดกระดาษแดงที่เขียนคำกลอนอวยพรดีๆประดับบ้านด้วย ปัจจุบันนี้เทศกาลเต็ดยังได้รับการจัดในทั่วโลกในประเทศที่มีชุมชนชาว เวียตนามอาศัยอยู่เป็นงานใหญ่ด้วย   ...
อรรถพล อุดร

คำติชม