แถลงการณ์ร่วมการประชุมจีเอ็มเอส 6 แผนปฏิบัติการกรุงฮานอยระยะปี 2018-2022

Chia sẻ
(VOVWORLD) -การประชุมผู้นำประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงขยายวงหรือGMS ครั้งที่ 6 ได้เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ณ กรุงฮานอยเมื่อเช้าวันที่ 31 มีนาคมภายใต้อำนวยการของนายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊ก ในฐานะตัวแทนประเทศเจ้าภาพ นอกจากผู้นำประเทศอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงขยายวง ยังมีประธานธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี ธนาคารโลก ตัวแทนอาเซียน ตัวแทนของธนาคารลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย ตัวแทนของสภาประกอบธุรกิจจีเอ็มเอส ตัวแทนภาคเอกชนและหุ้นส่วนการพัฒนาเข้าร่วม
แถลงการณ์ร่วมการประชุมจีเอ็มเอส 6 แผนปฏิบัติการกรุงฮานอยระยะปี 2018-2022 - ảnh 1ผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมผู้นำประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงขยายวงหรือGMS ครั้งที่ 6

ในการกล่าวปราศัยในการประชุม นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กได้ย้ำว่า            “จากผลสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของจีเอ็มเอสในตลอด 25 ปีที่ผ่านมา พร้อมกับความตั้งใจของทุกรัฐบาลและการขานรับอย่างเต็มที่ของประชาชน เอดีบีและหุ้นส่วนพัฒนา โดยเฉพาะการเข้าร่วมอย่างเป็นฝ่ายรุกและมีความคิดสร้างสรรค์ของประชาคมสถานประกอบการ จีเอ็มเอสมีความเชื่อมั่นที่จะพัฒนาต่อไปในฐานะเป็นกลไกความร่วมมือแรกที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคแม่น้ำโขงเพื่อสันติภาพ การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประชาชน”

ผู้นำจีเอ็มเอสและตัวแทนหุ้นส่วนต่างเห็นพ้องกันว่า จีเอ็มเอสกำลังย่างเข้าสู่ระยะแห่งการพัฒนาใหม่ที่มีทั้งความท้าทายและโอกาส ซึ่งจีเอ็มเอสต้องมีการเข้าถึงอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และมีวิสัยทัศน์ในระยะยาวเพื่อส่งเสริมพลังภายในของแต่ละประเทศและมีความเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างพลังความเข้มแข็งของทั้งภูมิภาคจีเอ็มเอสที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาเท่าเทียมกันทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่ประชุมยังชื่นชมการวางแผนปฏิบัติการกรุงฮานอยระยะปี 2018-2022 และกรอบการลงทุนในภูมิภาคถึงปี 2022 ผ่านการจัดกิจกรรมประมาณ 220 กิจกรรมด้วยเงินทุนประมาณ 6 หมื่น 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยได้ยืนยันว่า “ พวกเราต้องร่วมมือกันต่อยอดการอำนวยงานต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายใต้วิสัยทัศน์ 3 ปีอย่างเป็นรูปธรรมให้เพิ่มกันอีก ในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฮานอยปี 2561 หรือ 65 และกรอบการลงทุนในภูมิภาค 2565 ที่เราได้ร่วมกันลงนาม ร่วมกันรับรองในการประชุมครั้งนี้และทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งขึ้น เสริมสร้างความผูกพันของประชาชนอย่างแน่นแฟ้น ผมเห็นว่าควรจะให้ความสำคัญ 3 เรื่องนะครับ เรื่องแรกคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคมขนส่ง เพื่อการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ ประเทศไทยได้เร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งไปยังประตูเชื่อมโยงของไทยตามแนวชายแดน เพื่อเชื่อมโยงแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือใต้ตะวันออกตะวันตกของจีเอ็มเอสและสามารถเชื่อมโยงผ่านประเทศไทยไปถึงโครงข่ายสำคัญภายใต้กรอบความร่วมมือของ INTGTทางตอนใต้ของไทยเพื่อจะสร้างความเจริญเติบโตให้กับเมืองในภูมิภาค โดยเฉพาะการพัฒนาเมืองในเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวระเบียงเศรษฐกิจที่ช่วยสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ มุ่งขจัดความยากจนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง"

ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศจีนหวังอี้ได้ยืนยันถึงการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งของจีนต่อความร่วมมืออนุภูมิภาคแม่น้ำโขง โดยเผยว่า            “กรอบการลงทุนในภูมิภาคที่ได้รับการอนุมัติในการประชุมด้วยการจัดกิจกรรมประมาณ 200 กิจกรรมภายในเวลา 5 ปีที่จะถึงจะเป็นก้าวเดินต่อไปในความร่วมมือของเรา จีนจะเข้าร่วมและเป็นฝ่ายรุกในการสนับสุนนการเงิน เรามีความยินดีที่คำมั่นของเราเกี่ยวกับการปฏิบัติแผนการดังกล่าวจะมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน พวกเราควรปรับปรุงความสัมพันธ์หุ้นส่วนอย่างใกล้ชิดและพัฒนาเครือข่ายชุมชนเพื่ออนาคตร่วมกันของอนุภูมิภาคและมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ประชาคมจีเอ็มเอสที่พัฒนาอย่างยั่งยืน”

ส่วนตัวแทนธนาคารเอดีบีได้ชื่นชมส่วนร่วมของเวียดนาม โดยเฉพาะในการจัดฟ่อรั่มสุดยอดการประกอบธุรกิจจีเอ็มเอสครั้งแรกเพื่อช่วยให้สถานประกอบการทั้งภายในและนอกภูมิภาคจีเอเอ็มเอสและนักลงทุนสามารถติตต่อกันเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ให้แก่ความร่วมมือของจีเอ็มเอสในระยะใหม่

โอกาสนี้ ได้มีการจัดพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานสภาธุรกิจจีเอ็มเอสของกัมพูชาให้แก่ประเทศลาว.

คำติชม