ธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรปเพิ่มการปล่อยเงินกู้ให้แก่เวียดนามขึ้นเป็น 2 เท่า

Chia sẻ
(VOVWORLD) -ในการพบปะกับสื่อมวลชน เช้าวันที่ 8 กันยายน ณ กรุงฮานอย  นาย Kris Peeters รองประธานธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรปได้กล่าวถึงกระบวนการปรับเปลี่ยนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและโครงการช่วยเหลือของทางธนาคารฯในเวียดนาม 
ธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรปเพิ่มการปล่อยเงินกู้ให้แก่เวียดนามขึ้นเป็น 2 เท่า - ảnh 1นาย Kris Peeters รองประธานธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป

นาย Kris Peeters รองประธานธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรปเผยว่า ในเวลาที่จะถึง จะเพิ่มการปล่อยเงินกู้ให้แก่เวียดนามขึ้นเป็น 2 เท่า ทางธนาคารฯ กำลังสร้างสรรค์กระบวนการเบิกจ่ายเงินทุนให้แก่การปฏิบัติโครงการปรับเปลี่ยนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนรัฐบาลเวียดนามได้ให้คำมั่นเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ดังนั้น การผลักดันความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรปจะมีบทบาทที่สำคัญต่อทั้งสองฝ่าย

“เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตรการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สิ่งที่สำคัญคือต้องลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการขยายตัวอย่างยั่งยืนในอนาคต ซึ่งต้องย้ำว่า ชีวิตของประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างหนักถ้าหากพวกเราไม่สร้างสรรค์และปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อปลายปี 2022 พวกเราได้ให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ที่มาเยือนธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรปเพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมเงินลงทุนแห่งสีเขียวในเวียดนาม ซึ่งนี่ก็เป็นเป้าหมายของการเยือนเวียดนามครั้งนี้ของผม พวกเรากำลังเจรจากับกระทรวงการคลังเวียดนามเกี่ยวกับกรอบการปล่อยสินเชื่อ 500ล้านยูโร ซึ่งหวังว่า จะมีการลงนามในบันทึกช่วยจำเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายโดยเร็ว”

 นับตั้งแต่ปี 1997 มาจนถึงปัจจุบัน ธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรปมีโครงการลงทุน 7 โครงการในเวียดนาม รวมยอดเงินลงทุนกว่า 5 แสน 5 หมื่นล้านยูโร โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟใต้ดินหมายเลข 3 ในกรุงฮานอยและหมายเลข 2 ในนครโฮจิมินห์ หนึ่งในโครงการร่วมมือที่สำคัญระหว่างเวียดนามกับทางธนาคารฯ คือโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำบ๊ากอ๊าย จังหวัดนิงถวน   นอกจากนี้ นาย Kris Peeters  ยังยืนยันว่า ทั้งสองฝ่ายยังมีศักยภาพความร่วมมืออีกมาก โดยเฉพาะเมื่อเวียดนามกลายเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญในกระบวนการปรับเปลี่ยนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

คำติชม