นักวิชาการ Grigory Trofimchuk ประธานสภาผู้เชี่ยวชาญกองทุนสนับสนุนการวิจัยวิทยาศาสตร์เอเชีย-ยุโรป (Photo: Tert) |
บทความดังกล่าวได้ให้ข้อสังเกตว่า ความมั่นคงในภูมิภาคและสถานการณ์ในทะเลตะวันออกเป็นหนึ่งในเนื้อหาหลักที่จะได้รับการหยิบยกขึ้นมาหารือในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 35 ที่กำลังมีขึ้น ณ กรุงเทพฯ นับตั้งแต่ได้รับการจัดตั้ง อาเซียนเป็นฟอรั่มเพื่อทำการหารือเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองต่างๆ ดังนั้น ในสภาวการณ์ที่ยังคงมีปัญหาการพิพาทด้านอธิปไตยในทะเลตะวันออก จากสถานะของภูมิภาค อาเซียนต้องผลักดันการรักษาความมั่นคงในภูมิภาคนี้ นี่ไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่งแต่เป็นปัญหาของทั้งโลกเพราะภูมิภาคเอเชียได้กลายเป็นศูนย์กลางใหม่ของภูมิรัฐศาสตร์
นาย Grigory Trofimchuk เห็นว่า จากบทบาทการเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำอาเซียนและการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ไทยได้เป็นฝ่ายรุกในการเสนอหัวข้อของการประชุมครั้งที่ 35 คือ “ความสัมพันธ์หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” แต่อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อสังเกตว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่เพียงแต่คือการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจเท่านั้นหากยังต้องค้ำประกันเสถียรภาพด้านการเมืองในภูมิภาคอีกด้วย ดังนั้น ปัญหาความมั่นคง รวมทั้งสถานการณ์ที่ซับซ้อนในทะเลตะวันออกจึงควรเป็นปัญหาหลักในระเบียบวาระการประชุมครั้งนี้ด้วย
แม้เอกสารต่างๆเกี่ยวกับดินแดนในทะเลตะวันออกทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีจะได้รับการอนุมัติแต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ในปัจจุบันได้ โดยจีนได้กล่าวว่า เขาทำเพื่อปกป้องความมั่นคงในทะเลตะวันออกแต่บรรดาประเทศที่ถูกดึงเข้าสู่การพิพาทดินแดนไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไนและประเทศอื่นๆต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีใครมอบหมายให้แก่จีนปฏิบัติในสิ่งที่จีนกำลังทำเอง
ปัจจุบัน ยังไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาในทะเลตะวันออก นอกเหนือจากการประชุมสุดยอดเกี่ยวกับความมั่นคงและการพัฒนาที่กำลังมีขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ การประชุมผู้นำอาเซียน.