บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการสัมมนา
|
เอกอัครราชทูต ฝ่ามเวียดหุ่งและนาย ปิยภักดิ์ ศรีเจริญ ได้ย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ความจำเป็นในการส่งเสริมความเชื่อมโยง รวมถึง “ยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยง 3 ด้าน” ระหว่างทั้งสองประเทศ โดยนาย ปิยภักดิ์ ศรีเจริญ ได้แสดงความเห็นว่า อุตสาหกรรมต่างๆ ของทั้งสองประเทศได้มีการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน และการเชื่อมโยงในท้องถิ่นถือเป็นพื้นฐานที่ดีเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติยุทธศาสตร์นี้ ส่วนเอกอัครราชทูต ฝ่ามเวียดเหวียด ได้เสนอให้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการประสานงานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและนักวิชาการต่อไป มีความประสงค์ว่า จะจัดตั้งกลุ่มปฏิบัติงานร่วมระหว่างทั้งสองประเทศโดยเร็วเพื่อหารือและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
นาย สนั่น อังอุบลกุล ประธานคณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้แสดงความเห็นว่า เวียดนามมีข้อได้เปรียบมากกว่าประเทศไทย เช่น โครงสร้างประชากรอยู่ในวัยทำงานสูง มีความเสถียรภาพทางการเมือง การป้องกันและปราบปรามการทุจริตดำเนินอย่างเข้มแข็ง มีการลงนามข้อตกลงเอฟทีเอหลายฉบับ สถานประกอบการไทยต้องใช้ประโยชน์จากโอกาสเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำของเวียดนาม โดยเฉพาะในด้านการแปรรูปอาหาร ใช้รูปแบบการประกอบธุรกิจที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงของเวียดนาม หลีกเลี่ยงการใช้รูปแบบดั้งเดิมจากประเทศไทย ปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายของเวียดนาม
นาย ทอง กุลธัญวัฒน์ นายกสมาคมนักธุรกิจไทย-เวียดนามแสดงความเห็นว่า ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในภาคอีสานของไทยในปัจจุบันคือ โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ไม่มีเส้นทางบินตรงจากเวียดนามไปยังภาคอีสาน ประเทศไทย ดังนั้น เพื่อปฏิบัติยุทธศาสตร์เชื่อมโยง 3 ด้านจึงจำเป็นต้องปรับปรุงการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง ไม่เพียงแต่ระหว่างไทย-ลาว-เวียดนามเท่านั้น หากยังรวมถึงการเชื่อมโยงระหว่างไทย-ลาว-กัมพูชาอีกด้วย.