หลังจากทางผู้จัดทำรายการเสนอบทความ “ร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื๋อ” คุณ Rujarat Yonsuwan คุณ พิเชษฐ์ ทองพุ่ม และอาจารย์ เกษม ทั่งทอง ต่างแสดงความเห็นไปในทางเดียวกันคือต้องอนุรักษ์ศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื๋อ โดยคุณ Rujarat Yonsuwan เขียนว่า “ดีค่ะ สืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมดีๆ ไว้ไม่สูญหายไป” คุณ พิเชษฐ์ ทองพุ่ม บอกว่า “เพลงเก่ามีคุณค่าร่วมกันรักษาให้คงอยู่ตลอดไปครับ” และอาจารย์ เกษม ทั่งทอง เขียนว่า “ดีใจที่คนรุ่นใหม่สนใจสืบทอดศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นก่าต่ายตื๋อให้ดำรงอยู่ต่อไป”
นอกจากนั้น ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการลงทุนในเวียดนามยังได้รับความสนใจจากคุณผู้ฟังเป็นจำนวนมาก โดยคุณ Shivendu Paul ได้ส่งอีเมล์มาขอบคุณผู้จัดทำรายการที่ส่งลิงค์แนะนำบทความ: Vinfast มีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์ในเวียดนาม ส่วนหลังจากอ่านข่าว ผลักดันการลงทุนของไทยในเวียดนาม ซึ่งมีการพบปะระหว่างเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย ฟานชี้แถ่ง กับคณะนักธุรกิจไทยที่เตรียมมาเวียดนามเพื่อแสวงหาโอกาสการลงทุน ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มบริษัท เอเชียพลัสกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ของไทย อาจารย์ เกษม ทั่งทอง เขียนว่า เวียดนามจัดเป็นประเทศที่น่าลงทุนอันดับต้นๆของอาเซียน
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา คณะผู้แทนนักธุรกิจไทยเชื้อสายเวียดนาม ได้เดินทางมาเยือนจังหวัดและนครสำคัญๆ หลายแห่งของเวียดนาม เช่น นครดานัง กรุงฮานอย นครโฮจิมินห์และจังหวัดเกียนยางเพื่อเชื่อมโยงการลงทุน การค้าและการท่องเที่ยว การเดินทางครั้งนี้จัดโดยสถานทูตเวียดนามประจำประเทศไทย คณะกรรมการการแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเวียดนามในต่างประเทศ จังหวัดและนครบางแห่งของเวียดนาม การเดินทางครั้งนี้ได้รับการประเมินว่า ประสบความสำเร็จโดยมีการลงนามเอกสารการลงทุนหลายฉบับ และนี่เป็นโอกาสเพื่อให้ท้องถิ่นและสถานประกอบการเวียดนามประชาสัมพันธ์ศักยภาพการลงทุนและการประกอบธุรกิจให้นักธุรกิจไทยเชื้อสายเวียดนามได้รับทราบ สร้างการเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างสถานประกอบการของทั้งสองประเทศในด้านที่มีศักยภาพ เช่น การค้า การท่องเที่ยว และส่งเสริมการนำสินค้าเวียดนามไปจำหน่ายในต่างประเทศ
นอกจากนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนกระจายเสียงต่างประเทศหรือวีโอวี 5 ยังได้รับจดหมายจากคุณผู้ฟังหลายประเทศ โดยคุณ Keo Rithy จากประเทศกัมพูชาอยากได้ขอมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับงอบเวียดนาม
นอกจากชุดอ๊าวหย่ายที่มีเสน่ห์และสวยงามแล้ว งอบยังเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สื่อถึงความเป็นเวียดนามด้วย โดยมีการพบจารึกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับงอบตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ในสมัยราชวงศ์เจิ่น เนื่องด้วยสภาพอากาศของเขตร้อน บรรพบุรุษชาวเวียดนามจึงได้คิดค้นการทำงอบขึ้นมาเพื่อกันแดดกันฝน จนในที่สุดงอบก็ได้กลายเป็นของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังมีการพบภาพงอบที่ถูกแกะสลักบนกลองมโหระทึกหงอกหลึ และโถทองแดง ด่าวถิ่ง ที่อยู่ในช่วงประมาณ 2,500-3,000 ปีก่อนคริสตกาล ปัจจุบัน ในเวียดนามมีหมู่บ้านทำงอบพื้นเมืองหลายแห่ง เช่น หมู่บ้านด่งยี หมู่บ้านยาเล หมู่บ้านเจื่องยาง หมู่บ้านฝูกามและหมู่บ้านจวงในกรุงฮานอย งอบทำจากไบไม้หลายชนิด และมักจะมีสายรัดทำจากผ้านุ่มหรือผ้ากำมะหยี่และผ้าไหม ไว้คอ
ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าว |
คุณ Frank Bresonik ผู้ฟังชาวเยอรมันอยากทราบว่า ชาวนาเวียดนามเก็บเกี่ยวข้าวได้กี่ฤดูในหนึ่งปี? ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวในเวียดนามจะแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ค่ะซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้คือ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง พื้นที่ชายฝั่งภาคกลาง เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและเขตตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงมีฤดูเกี่ยวข้าว 2 ฤดูคือช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่เริ่มปลูกกันมาตั้งแต่ฤดู เชียวซวน หรือประมาณปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายนของปีก่อน ส่วนฤดูเกี่ยวข้าวรอบที่ 2 ก็คือประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนซึ่งมีการเริ่มปลูกในฤดู ลั้วหมั่ว คือประมาณปลายเดือนพฤษภาคม
ส่วนพื้นที่ชายฝั่งภาคกลางมีฤดูเกี่ยวข้าว 3 ฤดู คือในช่วงเดือนกันยายนซึ่งเป็นข้าวที่ปลูกมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน ฤดูเกี่ยวข้าวรอบที่ 2 คือในช่วงเดือนเมษายนโดยข้าวในฤดูนี้จะปลูกมาตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมของปีก่อน และรอบที่ 3 คือเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นการเกี่ยวข้าวที่ปลูกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีฤดูเกี่ยวข้าวหลัก ๆ 2 ฤดู คือ เดือนเมษายน และรอบที่ 2 คือประมาณช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม ส่วนเขตตะวันออกเฉียงใต้ มีฤดูเกี่ยวข้าว 3 ฤดู.