เชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกับท้องถิ่นต่างๆ

Hồng Phương - Quang Dũng
Chia sẻ
(VOVWORLD) -ท่าอากาศยานนานาชาติเกิ่นเทอเป็นประตูสำคัญที่เชื่อมภาคตะวันตกตอนใต้และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกับท้องถิ่นต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ ดังนั้น เที่ยวบินตรงจากท้องถิ่นต่างๆ ไปยังสนามบินเกิ่นเทอจึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของเขตนี้
เชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกับท้องถิ่นต่างๆ - ảnh 1ท่าอากาศยานนานาชาติเกิ่นเทอ ( dangcongsan.vn)

ในปี 2023 จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้บรรลุเกือบ 45 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2022 ซึ่งในนั้นเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 1.8 ล้านคน มีรายได้เกือบ 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2022 แต่อย่างไรก็ตาม นาง เลดิ่งมิงห์ที ผู้อำนวยการบริษัทนำเที่ยว Vietravel สาขานครเกิ่นเทอเผยว่า ปัจจุบัน จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานนานาชาติเกิ่นเทอต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 โดยเฉพาะผู้โดยสารเที่ยวบินภายในประเทศ

“ปัจจุบัน เรามีเส้นทางบินที่เชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติเกิ่นเทอกับท้องถิ่นต่างๆ แค่ 4 เส้นทาง แต่ในช่วงก่อนเรามีทั้งหมด 11 เส้นทาง ซึ่งหมายความว่า นี่เป็นอุปสรรคที่ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการเชื่อมโยงทัวร์ท่องเที่ยวและการเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยวจากท้องถิ่น ไปยังเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ดังนั้น ในเวลาที่จะถึง เพื่อสร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าการท่องเที่ยว เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงต้องมีมาตรการแก้ไขเพื่อสามารถฟื้นฟูเส้นทางการบินต่างๆ ผ่านการประสานงานกับสายการบิน และโน้มน้าวให้สายการบิน เข้าร่วมการให้บริการผู้โดยสารจากท่าอากาศยายนานาชาติเกิ่นเทอไปยังท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ”

นอกจากท่าอากาศยานนานาชาติเกิ่นเทอที่ยังไม่สามารถใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ท่าอากาศยานนานาชาติฟู้ก๊วกก็ได้ลดเส้นทางการบินภายในประเทศบางเส้นทาง ส่วนที่ท่าอากาศยานก่าเมา มีผู้โดยสารใช้บริการเต็มทุกเที่ยวบิน แต่ด้วยข้อจำกัดในการรองรับเครื่องบินทำให้ต้องมีการปรับลดเที่ยวบิน นาย เจิ่นเหวียดเฝื่อง ประธานสมาพันธ์การท่องเที่ยวเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงยอมรับว่า การที่ท่าอากาศยานไม่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากนี้ การเชื่อมโยงทางบกและทางน้ำก็ไม่สะดวก ดังนั้น เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง จำเป็นต้องผลักดันการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน นายเฝื่องย้ำว่า

“เมื่อเร็วๆนี้ นครโฮจิมินห์และจังหวัดต่างๆ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้ลงนามกลไกความร่วมมือการท่องเที่ยว ซึ่งถ้าหากสามารถจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานได้ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้แก่การท่องเที่ยว จำเป็นต้องมีความหลากหลาย โดยต้องระดมพลังต่าง ๆเพื่อการพัฒนาในอนาคต”

เชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกับท้องถิ่นต่างๆ - ảnh 2นาย เจิ่นเหวียดเฝื่อง ประธานสมาพันธ์การท่องเที่ยวเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (baodautu.vn)

การการยกระดับถนนไฮเวย์สายต่างๆ พร้อมกับการเปิดเส้นทางบินตรงเพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกับภูมิภาคและประเทศต่างๆ ถือเป็นหนึ่งในมาตรการหลักเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ดังนั้น นับตั้งแต่ต้นปีนี้ สมาพันธ์การท่องเที่ยวเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้เสนอให้กระทรวงวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวประสานงานกับกระทรวงคมนาคมและขนส่งขยายเส้นทางการบินระหว่างเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกับประเทศต่างๆ และกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ภายในปะเทศ พร้อมทั้งปฏิบัตินโยบายลดภาษี  ลดค่าธรรมเนียมขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ผลักดันการพัฒนาแหล่งบุคลากรด้านการท่องเที่ยว โดยท้องถิ่นหลายแห่งในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้เป็นฝ่ายรุกแสวงหาแนวทางใหม่เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเน้นถึงจุดแข็งเฉพาะถิ่นเพื่อหลีกเลี่ยงการมีผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่ซ้ำกัน นาย เหงียนถึกเหียน รองประธานคณะกรรมการประชาชนนครเกิ่นเทอ เผยว่า ในฐานะเป็นศูนย์กลางของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง นครเกิ่นเทอได้ลงนามความร่วมมือในด้านการท่องเที่ยวกับนครและจังหวัดกว่า 20 แห่งทั่วประเทศและกำลังขยายการเชื่อมโยงและความร่วมมือกับจังหวัดและนครอื่นๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งมีส่วนร่วมเสริมสร้างทัวร์ท่องเที่ยวระหว่างท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้น

“นครเกิ่นเทอเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ หลากหลาย มีลักษณะเรียนรู้ประสบการณ์และมีมูลค่าเพิ่มสูง ตามแนวทางเชิงตลาดและสอดคล้องกับกลุ่มนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่ม จัดทำและทดลองรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวชนบท”

ส่วนนาง กาวถิหงอกลาน รองประธานสมาพันธ์การท่องเที่ยวเวียดนามประเมินว่า ทุกมาตรการที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงปฏิบัติถือว่าเหมาะสม แต่เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและรวดเร็ว ทางสมาพันธ์ต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ต่อการสร้างสรรค์กลไกความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในท้องถิ่นแต่ละแห่ง เช่น การขนส่ง การบินและการให้บริการ เป็นต้น เพื่อสร้างพลังที่เข้มแข็งร่วมกัน.

Komentar