เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงสร้างเครื่องหมายการค้าผลไม้ส่งออก

Nhật Trường–Sa Oanh–Tô Tuấn
Chia sẻ
(VOVworld) –  การปลูกไม้ผลเป็นจุดแข็งของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศอำนวย นอกจากนี้  สำนักงานเกษตรและเกษตรกรที่นี่ก็ให้ความสนใจถึงการยกระดับคุณภาพผลไม้เชิงพาณิชย์โดยเชื่อมโยงกับการสร้างเครื่องหมายการค้าเพื่อให้การผลิตและส่งออกผลไม้มีประสิทธิภาพสูงทางเศรษฐกิจ

(VOVworld) –  การปลูกไม้ผลเป็นจุดแข็งของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศอำนวย นอกจากนี้  สำนักงานเกษตรและเกษตรกรที่นี่ก็ให้ความสนใจถึงการยกระดับคุณภาพผลไม้เชิงพาณิชย์โดยเชื่อมโยงกับการสร้างเครื่องหมายการค้าเพื่อให้การผลิตและส่งออกผลไม้มีประสิทธิภาพสูงทางเศรษฐกิจ

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงสร้างเครื่องหมายการค้าผลไม้ส่งออก - ảnh 1
ส้มโอเขียวส่งออก( Photo: Nhandan)

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นอาณาจักรแห่งผลไม้ของประเทศโดยมีพื้นที่ปลูก๒แสน๙หมื่น๕พันเฮกตาร์ รวมทั้งผลไม้ที่มีชื่อเสียงของท้องถิ่นต่างๆ อย่างไรก็ดี ในเวลาที่ผ่านมา คุณภาพและราคาขายยังไม่มีเสถียรภาพและมูลค่าการส่งออกไม่สูง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ สำนักงานการเกษตรในเขตนี้กำลังผลักดันการสร้างเครื่องหมายการค้าเพื่อผลักดันการส่งออก

เมื่อเทียบกับท้องถิ่นอื่นๆในเขตนี้ จังหวัดเตี่ยนยางอยู่อันดับ๑ด้านพื้นที่ปลูกไม้ผลโดยมีประมาณ๖หมื่นเฮกตาร์และมีผลไม้ที่มีชื่อเสียงหลายชนิด เช่น มะม่วงหว่าหลกก๊ายแบ่ ลูกน้ำนมหล่อแหร่นหวิงกิม ทุเรียนหงูเหียป แก้วมังกรเจาะก่าว  เชอร์รี่ก่อกง  ส้มโอโก๋ก่อ เงาะเตินฟอง มังคุตเกาะเตินกวีซึ่งแม้จะมีความได้เปรียบและศักยภาพแต่มูลค่าการส่งออกยังไม่สูงเนื่องจากขาดแคลนข้อมูลตลาดส่งออก โดยเฉพาะ การเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต การจัดจำหน่ายและผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ สำนักงานการเกษตรจังหวัดเตี่ยนยางได้ปฏิบัติแนวทางสร้างรูปแบบการผลิตผลไม้ตามมาตรฐานVietGapและGlobalGap นายหวอหงอกเหยียป  เจ้าของสวนแก้วมังกรที่ตำบลเลืองหว่าหลาก อำเภอเจาะก่าว ผู้นำหน้าในการผลิตผลไม้ปลอดสารพิษ ดังนั้น สถานประกอบการจึงมารับซื้อเพื่อส่งออกในราคาที่สูงกว่ารูปแบบการผลิตผลไม้อื่นๆตั้งแต่ร้อยละ๕ถึงร้อยละ๑๐ นายเหยียปกล่าวว่า“ผมเห็นว่า ในจำนวนผลไม้หลัก๗ประเภทของเตี่ยนยาง แก้วมังกรให้ประสิทธิภาพสูงทางเศรษฐกิจ และการปลูกก็ไม่ยากโดยแค่ดูแลอย่างใกล้ชิดเท่านั้น ”

ที่จังหวัดเบ๊นแจ นอกจากส่งออกส้มโอเขียวแล้ว  ผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่น เงาะ ลำใยและขนุนก็เริ่มเจาะตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี แต่เนื่องจากการผลิตต้องได้มาตรฐานGap ดังนั้น จำนวนผลไม้ที่ได้มาตรฐานส่งออกของเขตนี้ยังมีไม่มากนักแต่สำนักงานเกษตรและเกษตรกรในจังหวัดนี้ยังถือว่า การส่งออกผลไม้เป็นแนวทางการพัฒนาในระยะยาวอย่างยั่งยืน นายเหงวียนหิวเติม เจ้าของสวนที่ตำบลเตียนลอง อำเภอโจว์แถ่งกล่าวว่า“ถ้าอยากมีส่วนแบ่งในตลาดที่เน้นคุณภาพสูง ก่อนอื่นพวกเราต้องผลิตตามมาตรฐานGap ตามการแนะนำขององค์การและหน่วยงานเกษตรเวียดนาม  อยากส่งออกผลไม้ไปยังต่างประเทศ เกษตรกรต้องผลิตผลไม้ปลอดสารพิษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและต้องระบุแหล่งผลิตอย่างชัดเจน”

จากการปฏิบัติตามการชี้นำของรัฐบาล ท้องถิ่นต่างๆกำลังปฏิบัติโครงการปรับปรุงโครงสร้างการเกษตร สำหรับผลไม้ ท้องถิ่นหลายแห่งได้วางแผนพัฒนาเขตปลูกไม้ผลที่สอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศและให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการสร้างเครื่องหมายการค้าผลไม้ของท้องถิ่น นายเจิ่นก๊วนต๊วน ผู้อำนวยการสำนักงานอุตสาหกรรมและพาณิชย์จังหวัดจ่าวิงกล่าวว่า“ในเร็วๆนี้ พวกเราจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสำรวจผลไม้ชนิดอื่นๆที่เป็นจุดแข็งของจังหวัดเพื่อสร้างเครื่องหมายการค้า สำหรับผลไม้ที่มีเครื่องหมายการค้าแล้ว พวกเรากำลังชี้นำหน่วยงานส่งเสริมการค้าแสวงหาตลาดรับรอง ส่วนตลาดขายส่งและซุปเปอร์มาร์เก็ตก็มีการวางขายผลไม้ชนิดต่างๆแล้ว สำหรับการส่งออก พวกเรากำลังจัดตั้งสถานประกอบการที่ทำธุรกิจด้านผลไม้เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการ”

ปัจจุบัน ที่จังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงยังมีท้องถิ่นที่มีผลไม้ที่มีมูลค่าการส่งออกสูง ดังนั้น การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าของสวนสามารถปลูกผลไม้ตามมาตรฐานGap เพื่อส่งออกกำลังเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ความสำเร็จในเบื้องต้นนี้เป็นพลังจูงใจเพื่อให้การส่งออกผลไม้ของเวียดนาม โดยเฉพาะ ของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงพัฒนามากขึ้น./.

Komentar