การผลิตปลาบาซาเพื่อการส่งออก |
ใน 5 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกสัตว์นํ้าของเวียดนามอยู่ที่ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสหรัฐ ญี่ปุ่น จีนและสาธารณรัฐเกาหลียังคงเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม แต่จากความผันผวนของตลาดโลก ทำให้หน่วยงานสัตว์นํ้าต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เช่น การที่สหรัฐประกาศอัตราภาษีต่อต้านการขายทุ่มตลาดต่อกุ้งและปลาบาซา ปัญหาความปลอดภัยและสุขอนามัยด้านอาหารของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป สาธารณรัฐเกาหลีและออสเตรเลีย นอกจากนี้ ปัญหาภัยแล้ง นํ้าทะเลซึมและปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมทางทะเลในภาคกลางเวียดนามได้ทำให้แหล่งจัดสรรค์วัตถุดิบให้แก่หน่วยงานสัตว์นํ้าลดลงบวกกับกำแพงกีดกันด้านเทคนิกของประเทศนำเข้า การแข่งขันด้านราคาและภาษีนำเข้า ซึ่งถือเป็นอุปสรรคที่หน่วยงานสัตว์นํ้าต้องฟันฝ่าให้ได้ โดยต้องผลักดันการปรับปรุงโครงสร้างและรูปแบบการผลิตและประกอบธุรกิจเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น ภัยแล้งและนํ้าทะเลซึมในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงและมีมาตรการต่างๆอย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด นาย เลดังยแวง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้เผยว่า“สถานประกอบการในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงและเกษตรกรควรเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตตามสัญญาและความผันผวนของตลาด อีกทั้งต้องให้ความสนใจถึงคุณภาพมากกว่าปริมาณ ส่วนรูปแบบการผลิตต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น เปลี่ยนจากปลูกข้าวและเลี้ยงกุ้งเพียงอย่างเดียวมาเป็นการผสมระหว่างการปลูกข้าวและเลี้ยงกุ้งในเขตน้ำกร่อยเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”
ในผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้าเพื่อการส่งออกของเวียดนาม กุ้งถือเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก ซึ่งสถานประกอบการส่งออกกุ้งเวียดนามต้องเผชิญกับปัญหาการแข่งขันที่ดุเดือด รวมทั้งกำแพงกีดกันด้านเทคนิกจากประเทศนำเข้า นาย หวูวันต๊าม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทได้เผยว่า เพื่อบรรลุมูลค่าการส่งออกกุ้งที่ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2025 ต้องเน้นพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะการผลิตกุ้งพันธุ์ อาหารและการควบคุมโรคระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งต้องขยายตลาดส่งออกและรับมือกับแนวโน้มการคุ้มครองการค้า โดยเฉพาะการสร้างกำแพงกีดกันด้านเทคนิกของประเทศต่างๆในเชิงรุก โดยในปี 2017 หน่วยงานสัตว์นํ้าจะปฏิบัติมาตรการต่างๆอย่างเด็ดขาดบนพื้นฐานของการจัดทำแผนปฏิบัติการและโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้ง นาย หวูวันต๊ามกล่าวต่อไปว่า“ต้องเน้นพัฒนาวิทยาศาสตร์อย่างก้าวกระโดดเพื่อเพิ่มผลผลิตให้แก่การเลี้ยงกุ้งและขยายพื้นที่ผลิตจาก 1 แสน 4 หมื่นเฮกตาในปัจจุบันขึ้นเป็นกว่า 2 แสนเฮกตา สำหรับการเลี้ยงกุ้งในขอบเขตที่กว้างใหญ่นั้น ต้องทำการปรับปรุงและมีกลไก นโยบายเพื่อดึงดูดให้สถานประกอบการเข้ามาลงทุน อีกทั้งก่อตั้งสหกรณ์และสมาคมต่างๆเพื่อเชื่อมโยงกับสถานประกอบการ ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยี ถอดประสบการณ์ต่างๆและประยุกต์ใช้รูปแบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพในเวลาข้างหน้า”
ในปี 2017 นอกเหนือจากการผลิตเพื่อการส่งออก เช่น กุ้งและปลาบาซา หน่วยงานสัตว์นํ้าจะเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นจุดแข็งเพื่อขยายการผลิตในท้องถิ่นต่างๆ ทั้งนี้ จากการปฏิบัติมาตรการต่างๆอย่างพร้อมเพรียง เช่น เน้นลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่เป็นจุดแข็ง ปรับปรุงโครงสร้างและวางแนวทางพัฒนาตลาด จะทำให้สามารถบรรลุมูลค่าการส่งออกสัตว์นํ้าที่ 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐได้แน่นอน.