นาย ตะหว่างลิง อธิบดีกรมตลาดยุโรป-อเมริกา (hanoimoi.com.vn) |
เมื่อปี 2022 ข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTA ที่เวียดนามได้เข้าร่วมกับหุ้นส่วนในตลาดยุโรปและอเมริกา เช่น ข้อตกลงหุ้นส่วนในทุกด้านและก้าวหน้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกหรือ CPTPP ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนามหรือ EVFTA ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-อังกฤษหรือ UKVFTA ข้อตกลงการค้าเวียดนาม-ชิลี ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพเศรษฐกิจเอเชียยุโรป ยังคงส่งผลดีต่อการค้าและการลงทุนของเวียดนาม โดยเฉพาะการส่งออก นาย ตะหว่างลิง อธิบดีกรมตลาดยุโรป-อเมริกายืนยันว่า การส่งเสริมข้อได้เปรียบของข้อตกลง FTA ที่มีอยู่เหล่านี้จะยังคงเป็นเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของเวียดนามในปีนี้
“เนื้อหาที่จะได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในเวลาที่จะถึงคือ การเกาะติดสถานการณ์ของตลาดอย่างใกล้ชิด ให้คำแนะนำและมีข้อเสนอเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือ มาตรการเพื่อพัฒนาตลาดที่มีอยู่และเจาะตลาดส่งออกใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ ดังนั้น ความต้องการในการเกาะติดข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลให้แก่สถานประกอบการคือเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมจะดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเสรี โดยเฉพาะ ข้อตกลง FTA ฉบับใหม่ เช่น CPTPP, EVFTA และ UKVFTA โดยมีวัตถุประสงค์คือสนับสนุนสถานประกอบการให้มีความเข้าใจเนื้อหาของข้อผูกพันในข้อตกลง CPTPP, EVFTA และ UKVFTA และสนับสนุนเนื้อหาที่ให้สิทธิพิเศษของข้อตกลงเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้โอกาสให้เกิดประโยชน์สูงสุดและจำกัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากข้อตกลงเหล่านี้ ส่งเสริมการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่กับกลุ่มประเทศ Mercosur ประกอบด้วย บราซิล อาร์เจนตินา อุรุกวัย เวเนซุเอลาและปารากวัย”
นาย เลืองหว่างท้าย อธิบดีกรมนโยบายการค้าพหุภาคีของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมได้เผยว่า ในหลายปีที่ผ่านมา การส่งออกของเวียดนามไปยังตลาดของประเทศหุ้นส่วน FTA เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น เมื่อปี 2022 มูลค่าการส่งออกระหว่างเวียดนามกับประเทศสมาชิก CPTPP เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปี 2021 มูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรปและอังกฤษเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2021 สำหรับข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรือ RCEP ผลประโยชน์จากข้อตกลงนี้ได้รับการประเมินว่าจะเป็นผลประโยชน์ในระยะยาวเนื่องจากการจัดตั้งตลาดส่งออกที่มั่นคงสำหรับสินค้าเวียดนาม นาย เลืองหว่างท้าย อธิบดีกรมนโยบายการค้าพหุภาคีของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมได้เผยว่า
“สิ่งที่เราได้ปฏิบัติเป็นอย่างดีในเวลาที่ผ่านมาคือ ในการเจรจาข้อตกลง เราได้พิจารณาเพื่อดำเนินการอย่างเข้มแข็งในช่วงต้นปี โดยเฉพาะเน้นตลาดที่เรายังไม่สามารถเจาะได้ ควบคู่กับการผลักดันการผลิตภายในประเทศ ใช้ประโยชน์จากตลาดที่พวกเขามีศักยภาพเกี่ยวกับเทคโนโลยี โลจิสติกส์ และด้านอื่นๆ โดยเฉพาะ เราได้ผลักดันเพื่อมุ่งสู่การเสร็จสิ้นการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับอิสราเอลและการสร้างก้าวกระโดดเพื่อสามารถเจาะตลาดตะวันออกกลาง เราหวังว่า ในเวลาที่จะถึง จะมีการชี้นำของรัฐบาลและการประสานงานของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ เพื่อสามารถเสร็จสิ้นการปฏิบัติส่วนงานนี้ให้ประสบความสำเร็จ”
นาย เลืองหว่างท้าย อธิบดีกรมนโยบายการค้าพหุภาคีของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม (https://moit.gov.vn/) |
ปัจจุบัน การส่งออกของเวียดนามไปยังตลาดที่ลงนาม FTA คิดเป็นประมาณร้อยละ 2 และสัดส่วนที่เวียดนามใช้ประโยชน์ผ่านการได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีและแหล่งกำเนิดสินค้าคิดเป็นประมาณร้อยละ 33.61 จากร้อยละ 2 ดังกล่าว ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า ตลาดที่ลงนามข้อตกลง FTA กับเวียดนามยังมีศักยภาพอีกมาก นาย ฟานวันชิง อธิบดีกรมนำเข้าและส่งออกของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมได้เผยว่า เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อตกลง FTA สถานประกอบการต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตและเพิ่มการใช้วัตถุดิบที่ผลิตในเวียดนาม และลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์
“ตามรายงานของธนาคารโลก ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ของเวียดนามคิดเป็นร้อยละ 20-25 ในกิจกรรมนำเข้าและส่งออก ตลอดจนกิจกรรมการค้า ด้วยระดับดังกล่าว ถ้าเราสามารถลดต้นทุนดังกล่าวให้เหลือร้อยละ 5 ก็จะสามารถประหยัดต้นทุนทางธุรกิจให้แก่สถานประกอบการได้ นั่นคือผลกำไรและช่วยยืนยันถึงความได้เปรียบในการแข่งขัน ผมเห็นว่า เราสามารถใช้ประโยชน์ใน 2 ด้านคือ ใช้ประโยชน์จากภาษีและลดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ ตามมติฉบับใหม่ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับปัญหาโลจิสติกส์ในด้านการนำเข้าและส่งออก เรากำลังเสนอและจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมนำเข้าและส่งออก รวมถึงกิจกรรมภายในประเทศและกิจกรรมอื่น ๆ สำหรับเศรษฐกิจ”
ปัจจุบัน ในการเจรจา การลงนามและการบังคับใช้ข้อตกลง FTA กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเน้นถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกที่ลงนามข้อตกลง FTA เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน อุตสาหกรรมที่เป็นก้าวกระโดดให้สอดคล้องกับแนวโน้มระหว่างประเทศ เช่น เทคโนโลยีสีเขียว อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมชีวเคมีและเภสัชกรรม และเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาคและโลก.