พัฒนาระบบโลจิตสติกส์ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง

Thanh Tung - Vinh Phong
Chia sẻ
(VOVWORLD) -เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เป็นเขตเศรษฐกิจหลักที่มีส่วนร่วมต่อยอดการส่งออกข้าวของเวียดนามถึงร้อยละ 90 การส่งออกสัตว์น้ำร้อยละ 65 และการส่งออกผลไม้ร้อยละ 70 ถึงแม้มีเส้นทางน้ำยาวถึง 15,000 กิโลเมตรแต่ระบบคลังสินค้าและโลจิสติกส์ยังคงมีอุปสรรคต่างๆ ดังนั้น การเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างรูปแบบการขนส่งต่างๆ กำลังเป็นแนวทางพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงให้มีความเข้มแข็งและแก้ไขอุปสรรคต่างๆในด้านโลจิสติกส์
พัฒนาระบบโลจิตสติกส์ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง - ảnh 1พัฒนาระบบโลจิตสติกส์ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

นาย หวอกวานฮวี ผู้อำนวยการบริษัท ฮวีลองอาน จำกัด เป็นบริษัทส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตร โดยขณะนี้กำลังทำการปลูกไม้กล้วยในพื้นที่ 500 เฮกตาร์เพื่อส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีและจีน แต่ยังคงมีความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับค่าโลจิสติกส์ ซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 30 ของค่าใช้จ่ายหลังการเก็บผลผลิต เมื่อปีที่แล้ว ค่าเช่าตู้คอนเทนเนอร์เพื่อใช้ส่งออกอยู่ที่ประมาณ 2,000 ดอลลาร์ต่อตู้แต่ปัจจุบันนี้ ได้เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า อยู่ที่ประมาณ 6,000 – 7,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้แต่ราคานี้เป็นราคาแพ็คเก็จที่รวมบริการต่างๆด้วย

            “ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะถูกบวกเข้าในราคา ถ้าหากค่าโลจิสติกส์สูง เกษตรกรที่ผลิตสินค้าการเกษตรจะได้รับแรงกดดันเป็นอย่างมาก ในบริษัทของผม มีสองขั้นตอน คือการผลิตและการทำธุรกรรม โดยในส่วนของการผลิตมีประสบอุปสรรคมากกว่า ดังนั้น ผมขอเสนอความคิดเห็น 3 ข้อต่อรัฐบาล หนึ่งคือการวางผัง สองคือการดึงดูดเงินทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือและโลจิสติกส์และสามคือข้อกำหนดต่อบริษัทให้บริการเดินเรือต่างๆ”

ตามข้อมูลสถิติ ในแต่ละปี มีสินค้าในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงประมาณร้อยละ 70 ได้รับการขนส่งทางบกไปยังท่าเรือต่างๆในนครโฮจิมินห์และจังหวัดบ่าเหรียะหวุงเต่าเพื่อการส่งออก แต่ในหลายปีที่ผ่านมา โครงสร้างพื้นฐานทางบกถือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของเขต ดังนั้นเรื่องนี้จึงได้รับความสนใจลงทุนเป็นอย่างมากจากรัฐบาล นาย เหงียนเฟืองลาม ผู้อำนวยการหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามสาขานครเกิ่นเทอได้แสดงความคิดเห็นว่า

“ในอนาคต จากความต้องการในด้านอาหารที่นับวันพัฒนามากขึ้นบวกกับความได้เปรียบต่างๆจากข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามได้ลงนาม การขนส่งสินค้าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งจะสร้างแรงกดดันมากขึ้นต่อการขนส่ง โลจิสติกส์และท่าเรือ ปัจจุบันนี้โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงยังไม่ดีนัก ส่งผลให้แขนงงานโลจิสติกส์ยังไม่ได้รับความสนใจจากสถานประกอบการมากนักเนื่องจากมีกำไรต่ำ นี่คือจุดอ่อนของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงแต่ก็ถือเป็นโอกาสของหน่วยงานโลจิสติกส์”

เพื่อตอบสนองความต้องการบวกกับการขยายและพัฒนาตลาดนำเข้าและส่งออก เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจำเป็นต้องพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิตสติกส์เพื่อมุ่งสู่การให้บริการสินค้าการเกษตรและสัตว์น้ำให้ทั่วทั้งภูมิภาค นาง โห่ถิทูหว่า หัวหน้าสถาบันวิจัยและพัฒนาโลจิสติกส์เวียดนามได้แสดงความคิดเห็นว่า ท้องถิ่นต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะนครเกิ่นเทอต้องพยายามสร้างสรรค์ศูนย์โลจิสติกส์ในเขต โดยเฉพาะการขนส่ง คลังสินค้า การจัดเก็บสินค้าและการให้บริการที่ช่วยเพิ่มมูลค่า เป็นต้น

“สำหรับสำนักงานบริหารภาครัฐ ดิฉันขอเสนอว่า ควรเน้นวางแผนพัฒนาเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ ทั้งด้าน ICT และบุคลากร โดยเฉพาะให้ความสนใจเป็นอย่างมากถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการบินเพื่อสามารถส่งออกสินค้าการเกษตรผ่านทางอากาศจากเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงโดยตรงแทนการส่งไปยังนครโฮจิมินห์ พร้อมทั้งเพิ่มการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานกับแหล่งจัดสรรสินค้าต่างๆในเขตเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การส่งออก”

การพัฒนาท่าเรือและโลจิสติกส์ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การส่งออกสินค้าและเศรษฐกิจของเขต แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า จำเป็นต้องมีมาตรการแก้ไขอย่างทันการณ์และมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถของระบบท่าเรือและห่วงโซ่โลจิสติกส์เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง.

Komentar