ผลักดันการเชื่อมโยงเพื่อพัฒนาแหล่งวัตถุดิบสำหรับการส่งออกสินค้าการเกษตรแบบยั่งยืน

Hai- Huyen
Chia sẻ
(VOVWORLD) -ในเวลาที่ผ่านมา สินค้าการเกษตรเวียดนามสามารถเจาะตลาดที่มีมาตรฐานเข้มงวด เช่น สหรัฐ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ไทย สหภาพยุโรป จีนและประเทศต่างๆ เพื่อบรรลุผลงานดังกล่าว นอกเหนือจากขั้นตอนการผลิตที่ปลอดภัยและค้ำประกันคุณภาพสินค้า จำเป็นต้องมีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ผลิตกับสถานประกอบการเพื่อพัฒนาเขตปลูกวัตถุดิบสนับสนุนการส่งออก นี่เป็นแนวทางที่กำลังได้รับการปฏิบัติในฟาร์มต่างๆ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
ผลักดันการเชื่อมโยงเพื่อพัฒนาแหล่งวัตถุดิบสำหรับการส่งออกสินค้าการเกษตรแบบยั่งยืน - ảnh 1ทุเรียน มะม่วง ลำไย แก้วมังกรและลูกน้ำนมได้ถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นท้องถิ่นที่มีมูลค่าการส่งออกผลไม้มากที่สุดของเวียดนาม โดยในเวลาที่ผ่านมา ผลไม้ต่างๆ เช่น ทุเรียน มะม่วง ลำไย แก้วมังกรและลูกน้ำนมได้ถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

นาย เหงียนหว่างแอง จากตำบลเท้ยฮึง อำเภอเก่อด๋อ นครเกิ่นเทอ กล่าวว่า ครอบครัวเขากำลังปลูกลำไยเพื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐ ออสเตรเลียและอีกบางประเทศ รวมพื้นที่เกือบ 5 เฮกตาร์ ตามมาตรฐาน VietGap โดยปฏิบัติขั้นตอนการผลิตอย่างเข้มงวดทั้งการใช้ปุ๋ยและอารักขาพืช เพื่อให้ได้คำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศ ผู้ผลิตหลาย ๆ ราย รวมทั้งนาย หว่างแอง ต้องเชื่อมโยงกันเพื่อจะได้เขตปลูกวัตถุดิบที่มีเสถียรภาพ ซึ่งลำไยจะได้รับรหัสพื้นที่ปลูก ปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ของกรมคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

“เพื่อสามารถส่งออกได้ เราต้องบรรลุมาตรฐานต่างๆ โดยแต่ละตลาดมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าหากส่งออกไปยังตลาดสหรัฐ ต้องค้ำประกันคุณภาพ และเพื่อส่งออกไปยังตลาดยุโรป ต้องปลูกตามมาตรฐาน VietGap ในสหกรณ์ เป็นต้น”

ในอำเภอเก่อด๋อ มีพื้นที่ปลูกลำไยกว่า 330 เฮกตาร์ โดยปัจจุบันนี้ ลำไยกำลังได้รับ รหัสพื้นที่ปลูก 36 แห่งเพื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไทย อียู จีน สาธารณรัฐเกาหลีและตลาดที่มีมาตรฐานเข้มงวดต่างๆ ส่วนตามข้อมูลสถิติของสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทเกิ่นเทอ ปัจจุบันนี้ ในจังหวัดฯ มีพื้นที่ปลูกมะม่วง ลูกน้ำนม ลำไย ข้าวและทุเรียนที่ได้รับรหัสพื้นที่ปลูก 193 แห่ง รวม 2,600 เฮกตาร์เพื่อส่งออกไปยังตลาดที่มีมาตรฐานอย่างเข้มงวด โดยทางการท้องถิ่นกำลังแนะแนวให้ประชาชนปรับปรุงให้ได้รับรหัสพื้นที่ปลูกเพื่อตอบสนองความต้องการของการส่งออก ปฏิบัติข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารและการใช้รหัสที่ได้รับ พร้อมทั้งผลักดันการผลิตตามรูปแบบรวมศูนย์ พัฒนาการเชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์และอำนวยความสะดวกให้สถานประกอบการเชื่อมโยงกันเพื่อสร้างสรรค์เขตวัตถุดิบเพื่อการส่งออก นาย เจิ่นท้ายเงวียม รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทเกิ่นเทอเผยว่า แต่ละปีนครเกิ่นเทอเก็บผลไม้ได้กว่า 200,000 ตัน โดยหน่วยงานการเกษตรของนครฯ กำลังขยายขอบเขตพื้นที่ปลูกตามรูปแบบรวมศูนย์เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศนำเข้าต่างๆ ในการตรวจสอบย้อนกลับและคุณภาพเพื่อสร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าให้แก่ผลไม้ส่งออกของเกิ่นเทออย่างค่อยเป็นค่อยไป

“ในหลายปีมานี้ การเชื่อมโยงการจำหน่ายของผลไม้ในนครเกิ่นเทอมีขึ้นอย่างคึกคัก โดยผลไม้ที่มีมูลค่าสูง เช่น ทุเรียน ลูกน้ำนมและลำไย ได้รับความสนใจจากสถานประกอบการเป็นอย่างมากเนื่องจากได้รับรหัสพื้นที่ปลูก สถานประกอบการส่วนใหญ่แสดงความประสงค์ที่จะเชื่อมโยงกันเพื่อพัฒนาพื้นที่ปลูกวัตถุดิบสำหรับการส่งออก”

ส่วนกรมการเพาะปลูกสังกัดกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทระบุว่า การส่งออกผลไม้ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากต่อการส่งออกผลไม้ของเวียดนาม แต่ศักยภาพการปลูกผลไม้ในเขตนี้ยังมีอีกมากถ้าหากสามารถผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรกับสหกรณ์และสถานประกอบการในการพัฒนาพื้นที่ปลูกวัตถุดิบเพื่อการส่งออกมากขึ้น นาย เลแทงตุ่ง รองอธิบดีกรมการเพาะปลูก สังกัดกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทแสดงความคิดเห็นว่า 

“การเชื่อมโยงได้กลายเป็นแนวโน้มที่มีขึ้นอย่างเข้มแข็งในเวลาที่ผ่านมา ซึ่งเกษตรกรหลายคนได้เข้าร่วมสหกรณ์ ส่วนสหกรณ์ก็เชื่อมโยงกับสถานประกอบการ และมีสหกรณ์บางแห่งสามารถส่งออกโดยตรง การเชื่อมโยงเพื่อค้ำประกันคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารคือแนวโน้มที่ช่วยให้สินค้าการเกษตรเวียดนามพัฒนาและมีการส่งออกอย่างยั่งยืน”

ปัจจุบันนี้ เวียดนามมีพื้นที่ปลูกผลไม้ราว 1.2 ล้านเฮกตาร์ โดยเมื่อปี 2023 มูลค่าการส่งออกได้บรรลุกว่า 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการยืนยันคุณค่าของสินค้าการเกษตรของเวียดนามในตลาดโลก การจัดทำรหัสพื้นที่ปลูก การส่งเสริมการเชื่อมโยงและพัฒนาเขตที่ปลูกผลไม้แบบรวมศูนย์ตามความต้องการของตลาดคือแนวทางที่เกษตรกรเวียดนาม โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเน้นพัฒนาเพื่อการส่งออกอย่างยั่งยืน.

Komentar