ผลักดันการดึงดูดเงินลงทุน FDI ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

Theo Tô Tuấn- VOV5 -
Chia sẻ
(VOVworld) – เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเขตเศรษฐกิจที่ได้เปรียบดุลการค้าของเวียดนามโดยมีจุดแข็งคือ ข้าว ผลไม้และสัตว์น้ำ ถึงแม้เป็นผืนแผ่นดินที่มีศักยภาพเพื่อการพัฒนา แต่การดึงดูดแหล่งเงินลงทุน โดยเฉพาะเงิน FDI เข้าเขตนี้ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเขตต่างๆของประเทศ ดังนั้น ปัญหาที่ต้องให้ความสนใจก็คือ ต้องทำเช่นไรเพื่อปรับปรุงความสามารถในการดึงดูดเงิน FDI

(VOVworld) – เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเขตเศรษฐกิจที่ได้เปรียบดุลการค้าของเวียดนามโดยมีจุดแข็งคือ ข้าว ผลไม้และสัตว์น้ำ ถึงแม้เป็นผืนแผ่นดินที่มีศักยภาพเพื่อการพัฒนา แต่การดึงดูดแหล่งเงินลงทุน โดยเฉพาะเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI เข้าเขตนี้ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเขตต่างๆของประเทศ ดังนั้น ปัญหาที่ต้องให้ความสนใจก็คือ ต้องทำเช่นไรเพื่อปรับปรุงความสามารถในการดึงดูดเงิน FDI
ผลักดันการดึงดูดเงินลงทุน FDI ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง - ảnh 1
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเขตเศรษฐกิจที่ได้เปรียบดุลการค้าของเวียดนาม

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมี 12 จังหวัดและ 1 นคร เป็นเขตเศรษฐกิจการเกษตรหลักในภาคใต้ของเวียดนามโดยมีประชากรกว่า 17 ล้านคน อัตราการขยายตัวจีดีพีเฉลี่ยในช่วงปี 2001-2010 บรรลุกว่าร้อยละ 11 และทุกปีเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้เปรียบดุลการค้าในระดับสูง โดยเฉพาะในด้านข้าวและสัตว์น้ำ แม้จะมีจุดเด่นด้านการส่งออกสินค้าการเกษตรและสัตว์น้ำ แต่การดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI กลับมีข้อจำกัดโดยคิดเป็นร้อยละ 7 เท่านั้นเมื่อเทียบกับเขตต่างๆของประเทศ จนถึงขณะนี้ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงสามารถดึงดูดเงินลงทุน FDI ได้กว่า 1 หมื่น 1 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งในนั้นมีจังหวัด 3 แห่งที่ดึงดูดเงินลงทุน FDI ได้กว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐคือ ลองอาน เกียนยางและเตี่ยนยาง ปัจจุบัน จังหวัดลองอานเป็นท้องถิ่นนำหน้าในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเกี่ยวกับการดึงดูดเงินลงทุน FDI รวมยอดเงินจดทะเบียนสูงกว่า 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนจังหวัดเกียนยางและเตี่ยนยาง บรรลุกว่า 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่จังหวัดหวิงลองและซอกจังยังไม่สามารถดึงดูดโครงการลงทุน FDI โครงการใหม่เพิ่มเติมได้ ตามการประเมินในภาพรวม โครงสร้างพื้นฐาน แหล่งบุคลากรและบรรยากาศการลงทุนในจังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงถึงแม้จะได้รับการปรับปรุง แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างความสนใจในการดึงดูดการลงทุนซึ่งเป็นปัญหาที่จังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังแก้ไข นาย เจิ่นแองต๊วน รองประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดเบ๊นแจได้เผยว่า ทางจังหวัดกำลังผลักดันการปฏิรูประเบียบราชการ ขยายเขตนิคมอุตสาหกรรมและใช้ที่ดินขนาดใหญ่เพื่อดึงดูดเงินลงทุน FDI รวมทั้ง การที่จังหวัด เบ๊นแจเสร็จสิ้นการก่อสร้างสะพาน โก๋เจียนจะเป็นจุดแข็งเพื่อให้จังหวัดดึงดูดโครงการ FDI ต่อไป นาย เจิ่นแองต๊วนได้ยืนยันว่านอกจากการผลักดันการปฏิรูประเบียบราชการ สร้างบรรยากาศการลงทุนที่โปร่งใสแล้ว พวกเราจะเน้นก่อสร้างเขตนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มอีก 7 แห่งซึ่งในนั้นจะเป็นการขยายเขตนิคมอุตสาหกรรมเก่า 2 แห่ง รวมพื้นที่ประมาณ 1 พันเฮกต้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนในการประกอบธุรกิจ พวกเรายังให้คำมั่นว่า จะปฏิบัติงานให้ดีขึ้น อำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนที่ทำธุรกิจในท้องถิ่นเพื่อผลประโยชน์ระยะยาวของนักลงทุนและผลประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น

ผลักดันการดึงดูดเงินลงทุน FDI ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง - ảnh 2
– เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเขตเศรษฐกิจที่ได้เปรียบดุลการค้าของเวียดนามโดยมีจุดแข็งคือ ข้าว

จากการปฏิบัติในเวลาที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกำลังได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ค่าเช่าที่ดินถูกลงและแหล่งบุคลากรมีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้นักลงทุนหลายรายมีความประสงค์ขยายการลงทุนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง แต่นอกจากเงื่อนไขที่ดีดังกล่าวแล้ว บรรยากาศการลงทุนและนโยบายดึงดูดนักลงทุนก็ต้องได้รับการปรับปรุงอย่างเข้มแข็งตามแนวทางที่โปร่งใสมากขึ้น รวมทั้งยกระดับความรับผิดชอบ ความรู้ด้านกฎหมายและทักษะการบริหารของเจ้าหน้าที่บริหารทุกระดับเกี่ยวกับการปรับปรุงบรรยากาศการดึงดูดเงินลงทุน FDI
ปัจจุบัน นอกจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแบบบูรณาการแล้ว มีสองประเด็นสำคัญที่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงให้ความสนใจคือ แรงงานและบรรยากาศการลงทุน จากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงปรากฎว่า ถึงแม้เป็นเขตที่มีศักยภาพ แต่รายได้และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตนี้ยังประสบอุปสรรคมากมายซึ่งปัญหาสำคัญคือต้องปรับปรุงโครงสร้างการผลิตที่เน้นพัฒนาแขนงอาชีพที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เน้นให้ความสนใจถึงการฝึกสอนอาชีพที่มีศักยภาพ ปรับปรุงงานด้านการส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะในด้านที่เป็นจุดแข็งของท้องถิ่นคือ การแปรรูปและส่งออก
ดร. หวอหุ่งหยูง รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามได้แสดงความเห็นว่าพวกเราให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อปัญหาแรงงานและบรรยากาศการลงทุน รวมถึงการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่คล่องตัวและเข้มแข็ง เมื่อก่อน ในการพูดคุยกับนักลงทุนมักจะกล่าวถึงสินค้าการเกษตรและสัตว์น้ำ เดี๋ยวนี้ต้องกล่าวถึงความได้เปรียบใหม่ๆ เช่น เศรษฐกิจทางทะเลหรือผลการปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนที่ได้บรรลุในเวลาที่ผ่านมา
ความเปลี่ยนแปลงในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานบวกกับความพยายามและความตั้งใจอันแน่วแน่จากทั้งบรรดาผู้นำและสำนักงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังทำให้เขตนี้กลายเป็นจุดหมายที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างประเทศและนี่ก็เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อสร้างความสำเร็จใหม่ให้แก่นักลงทุนเพื่อมีส่วนร่วมทำให้เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกลายเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญอีกแห่งของประเทศอย่างแท้จริง./.

Komentar