CPTPP – ข้อตกลงใหม่ที่สร้างโอกาสให้แก่ความร่วมมือระดับโลก

Vĩnh Phong
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ข้อตกลงหุ้นส่วนในทุกด้านและก้าวหน้าภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP ชื่อใหม่ของข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพีที่ไม่มีการเข้าร่วมของสหรัฐ เป็นผลงานที่ฝ่ายต่างๆได้บรรลุในสัปดาห์ผู้นำเอเปก แม้ CPTPP จะเป็นแค่จุดเริ่มต้น แต่ก็มีความหมายเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจต่อแนวโน้มโลกาภิวัตน์ที่เน้นการเชื่อมโยงและความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

 CPTPP – ข้อตกลงใหม่ที่สร้างโอกาสให้แก่ความร่วมมือระดับโลก - ảnh 1นาย เจิ่นต๊วนแอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเวียดนาม และนาย Toshimitsu Motegi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่น

ด้วยความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์จาก 11 ประเทศสมาชิกคือ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงโคโปร์และเวียดนามนอกรอบการประชุมสัปดาห์ผู้นำเอเปกที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง ณ นครดานัง ข้อตกลงหุ้นส่วนในทุกด้านและก้าวหน้าภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP ยังคงเนื้อหาของข้อตกลงทีพีพีเดิม แต่อนุญาตให้ประเทศสมาชิกเลื่อนการปฏิบัติหน้าที่บางส่วน โดยบรรดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจของ 11 ประเทศสมาชิกเอเปกที่เข้าร่วมข้อตกลงทีพีพีได้เห็นพ้องกันว่า ข้อตกลง CPTPP คือข้อตกลงที่สมบูรณ์ มีมาตรฐานในระดับสูงบนพื้นฐานของการสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกโดยมีการคำนึงถึงระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศ

อาจกล่าวได้ว่า ข้อตกลง CPTPP เป็นการฟื้นตัวของข้อตกลงทีพีพีที่กำลังอยู่ในภาวะที่ยากลำบากหลังจากที่สหรัฐประกาศถอนตัวจากข้อตกลงนี้  บรรดาผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศได้ประเมินว่า นี่คือก้าวกระโดดของการส่งเสริมการค้าเสรีในภูมิภาคในสภาวการณ์ที่ลัทธิการคุ้มครองและลัทธิชาตินิยมกำลังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเพื่อสามารถบรรลุผลงานดังกล่าว บรรดรัฐมนตรีได้หารือกันเป็นเวลา 3 วัน (ระหว่างวันที่ 8 – 10 พฤจิกายน) นอกรอบการประชุมสัปดาห์ผู้นำเอเปก 2017 ภายใต้อำนวยการของญี่ปุ่นและเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพของปีเอเปก 2017

นาย เจิ่นต๊วนแอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเวียดนามได้เผยว่า ทุกประเทศสมาชิกต้องพิจารณาและประเมินเงื่อนไข ผลประโยชน์และจุดสมดุลต่างๆเพื่อสามารถธำรงข้อตกลงนี้อย่างมีประสิทธิภาพและยํ้าว่า“ในสภาวการณ์ที่มี 1 ประเทศถอนตัวจากข้อตกลงทีพีพี แต่ประเทศที่เหลือต่างมีความมุ่งมั่นและมีความประสงค์ที่จะปฏิบัติข้อตกลงนี้ต่อไป ดังนั้น ลักษณะและคุณภาพของข้อตกลงนี้ได้สะท้อนผ่านการเสริมเพิ่มเติม 2 คำใหม่คือ “ทุกด้าน”และ “ก้าวหน้า” ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่ครอบคลุมและได้รับการเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์จาก 11 ประเทศสมาชิก เพราะฉะนั้นชื่อใหม่ของข้อตกลงคือ ข้อตกลงหุ้นส่วนในทุกด้านและก้าวหน้าภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP ได้รับการเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในระดับสูง”

การปรับข้อตกลงทีพีพีให้เป็นข้อตกลง CPTPP ได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มโลกาภิวัตน์ที่เน้นการเชื่อมโยงและความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ซึ่งการธำรงการเชื่อมโยง 11 เศรษฐกิจในข้อตกลงที่มีข้อกำหรดที่เข้มงวดในสภาวการณ์ที่สหรัฐ ซึ่งเป็นเสาหลักพิเศษได้ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงนี้ถือเป็นการส่งสาส์นเกี่ยวกับแนวโน้มการเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาในระดับสูงจะนำไปสู่ผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่มีอะไรทดแทน ถึงแม้ไม่มีการเข้าร่วมของสหรัฐ

นาย เจิ่นต๊วนแอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเวียดนามเผยต่อไปว่า พร้อมกับญี่ปุ่น เวียดนามก็มีบทบาทสำคัญในการแสวงหามาตราการให้แก่ข้อตกลงทีพีพี ซึ่งช่วยสร้างโอกาสให้แก่การกระชับความร่วมมือในระดับโลก“เวียดนามได้ทำการวิจัยและประเมินสถานการณ์ที่เป็นจริงเพื่อกำหนดนโยบายต่างๆในการปฏิรูปเพื่อเปิดประเทศ การผสมผสานและการกำหนดเงื่อนไขต่างๆด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม เพื่อเสนอทัศนะที่คํ้าประกันความสมดุลและผลประโยชน์ของเวียดนามในฐานะประเทศสมาชิกข้อตกลงทีพีพี 11 อีกทั้งมีส่วนร่วมต่อการผลักดันความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ที่เอื้อให้แก่การส่งเสริมการปฏิบัติข้อตกลงทีพีพี 11 โดยเร็ว”

ส่วนนาย Toshimitsu Motegi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ยํ้าว่า ทุกเศรษฐกิจสมาชิกได้บรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในเวลาอันสั้น พร้อมทั้งเห็นพ้องเกี่ยวกับความสำคัญของการธำรงข้อตกลงฉบับนี้  การเลื่อนการปฏิบัติข้อกำหนดบางส่วนคือมาตรการที่ดีที่สุดในปัจจุบันและยังมีการเปิดทางให้สหรัฐที่อาจกลับเข้าร่วมข้อตกลงในอนาคต “ข้อตกลงนี้ถูกแปลเป็นภาษาฝรั่งเศษและภาษาอังกฤษ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายในเวลา 60 วันหลังจากที่มีอย่างน้อย 6 เศรษฐกิจสมาชิกอนุมัติ ข้อตกลงฉบับใหม่จะเลื่อนการปฏิบัติข้อกำหนด 12 ข้อเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ทางปัญญาที่ถูกระบุในข้อตกลงทีพีพี นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดอีก 4 ข้อที่ฝ่ายต่างๆหารือต่อไปในเวลาข้างหน้า ถึงแม้จะมีความลำบากมาก แต่พวกเราก็จะพยายามบรรลุข้อตกลง ณ นครดานัง”

ผลงานที่ได้บรรลุในนครดานังได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามเป็นอย่างมากของ 11 ประเทศสมาชิกข้อตกลงทีพีพี รวมถึงบทบาทที่เข้มแข็งของญี่ปุ่นและเวียดนามในฐานะประเทศเจ้าภาพปีเอเปก 2017 เพื่อผลักดันการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ สร้างงานทำ ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน อำนวยความสะดวกให้แก่การพัฒนาการค้าและกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาค พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของประเทศต่างๆในการยืนหยัดนโยบายเปิดกว้างประเทศและการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างมีประสิทธิภาพ.

Komentar