ใช้ศักยภาพต่างๆ เพื่อเพิ่มการลงทุนและพัฒนาสถานประกอบการ start – up ในเวียดนาม

Chia sẻ
(VOVWORLD) - รายงานประจำปีเกี่ยวกับการลงทุนธุรกิจ start – up ของ Topica Founder Institute หรือ TFI ปรากฎว่า ในปี 2018 บริษัท start – up เวียดนามได้รับเงินลงทุนประมาณ 889 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ โดยตามรายงานของบริษัท Kr Asia และ Bain&Co ในปี 2018 เวียดนามดึงดูดเงินทุนให้แก่สถานประกอบการ start – up เวียดนามในระยะแรกได้ประมาณ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2017 และคาดว่า ในปีหน้า จำนวนเงินดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นต่อไปแต่ต้องทำอย่างไรเพื่อให้สถานประกอบการ start – up เวียดนามสามารถดึงดูดเงินทุนเพิ่มขึ้นคือคำถามที่กระทรวง หน่วยงานและสถานประกอบการเวียดนามต้องพยายามหาคำตอบให้ได้
ใช้ศักยภาพต่างๆ เพื่อเพิ่มการลงทุนและพัฒนาสถานประกอบการ start – up ในเวียดนาม - ảnh 1(Photo Internet)

ปัจจุบันนี้ ระบบการทำธุรกิจ start – up ของเวียดนามกำลังพัฒนาโดยมีกองทุนร่วมลงทุนกว่า 40 กองทุนที่มีกลุ่มบริษัทรายใหญ่ๆภายในประเทศของเวียดนามเข้าร่วม เช่น เอฟพีที เวียดเทล วินกรุ๊ป ซีเอ็มซีและเซนกรุ๊ป เป็นต้น ควบคู่กันนั้นได้มีการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะและผลักดันการประกอบธุรกิจกว่า 40 แห่ง ในปี 2018 กลุ่มบริษัทรายใหญ่ๆของเวียดนาม เช่น วีนาแคปปิตอลและวินกรุ๊ปก็ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจ start – up ด้านเทคโนโลยีรวมมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค การทำธุรกิจ start – up ในเวียดนามยังเป็นเรื่องใหม่ที่ขาดการเชื่อมโยงกัน โดยถึงแม้ปัจจัยต่างๆเพื่อช่วยให้การทำธุรกิจ start – up ประสบความสำเร็จ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน กลไกนโยบาย การเงิน แหล่งเงินทุน ตลาดและวัฒนธรรม ยังคงได้รับการปรับปรุงให้สมบูรณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่กระบวนการทำธุรกิจ start – up ในเวียดนามเริ่มได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากกองทุนร่วมลงทุนระดับภูมิภาคและโลก ดังนั้น รัฐบาลเวียดนามจึงตั้งเป้าหมายคือ ต้องสร้างเงื่อนไขที่สะดวกในการรับเงินทุนได้อย่างสะดวกและใช้ศักยภาพจากการลงทุนให้แก่การพัฒนานวัตกรรมในเวียดนามเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายระยะสั้นคือ ภายในปลายปีนี้ ต้องสามารถดึงดูดเงินทุนด้านนวัตกรรมได้1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นาย จูหงอกแอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนามย้ำว่า           “สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องมีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของรัฐบาลเวียดนามผ่านการปฏิบัตินโยบายสนับสนุนที่เหมาะสมต่างๆ รวมทั้งแหล่งเงินทุนจากกองทุนร่วมลงทุนและนักลงทุนที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ ยังต้องมีโครงสร้างพื้นฐานและการบริการเพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจ start – up และบทบาทของมหาวิทยาลัยต่างๆในการเสนอความคิดริเริ่มและจัดสรรแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูง ควบคู่กันนั้นต้องมีการเข้าร่วมของสถานประกอบการรายใหญ่ๆ ส่วนวัฒนธรรมการทำธุรกิจ start – up ต้องเหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ที่กล้าคิดกล้าทำ”

ผลการวิจัยใน 60 เศรษฐกิจทั่วโลกของหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามหรือวีซีซีไอปรากฎว่า เวียดนามติดกลุ่ม 20 เศรษฐกิจนำหน้าในความตั้งใจทำธุรกิจ start – up แต่การแปรความตั้งใจนั้นให้เป็นรูปธรรมยังไม่สูงนัก นาย หวูเตี๊ยนหลก ประธานวีซีซีไอเผยว่า จำเป็นต้องสร้างระบบการทำธุรกิจ start – up โดยต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากถึงการสร้างแหล่งเงินทุน            “การทำธุรกิจ start – up เป็นการประกอบธุรกิจพิเศษ ซึ่งต้องมีแหล่งเงินทุนเฉพาะที่ต้องยอมรับทั้งความเสี่ยงและความเป็นไปได้ที่จะสร้างกำไรสูง ผมคิดว่า ต้องวิจัยอย่างรอบคอบเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนร่วมลงทุนและนักลงทุนที่มีศักยภาพเพื่อสร้างกระบวนการส่งเสริมแหล่งเงินทุนเหล่านี้”

ส่วนบรรดาผู้เชี่ยวชาญได้ยืนยันถึงบทบาทของกองทุนร่วมลงทุนในการสนับสนุนและความจำเป็นของระบบกลไกนโยบายในการอำนวยความสะดวกให้สถานประกอบการ start – upในเวียดนามพัฒนา ในการกล่าวปราศรัยในฟอรั่มกองทุนสนับสนุนการพัฒนาการทำธุรกิจ start –up ในเวียดนามปี 2019 รองนายกรัฐมนตรีหวูดึ๊กดามได้ย้ำว่า            “มีหลายอย่างที่เราต้องทำ โดยเริ่มจากการปรับปรุงบรรยากาศการประกอบธุรกิจ ในการจัดลำดับล่าสุด เวียดนามยังติดกลุ่มประเทศอ่อนแอ ดังนั้นต้องทำการเปลี่ยนแปลงใหม่อย่างเข้มแข็ง โดยแต่ละจังหวัด แต่ละเมืองต้องปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างก้าวกระโดด ต้องพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและหน่วยงานเศรษฐกิจผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้มากที่สุด เน้นพัฒนาการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เงินลงทุนจากกองทุนร่วมลงทุนสามารถเข้าถึงสถานประกอบการ start – up ได้อย่างสะดวก นอกจากปฏิบัตินโยบายส่งเสริมการปฏิรูปกลไกระเบียบการสำหรับกองทุนนี้จากสำนักงานภาครัฐแล้ว สถานประกอบการ start-up เวียดนามจำเป็นต้องมีความพยายามและมีไหวพริบในการับโอกาสด้วย ผู้บริหารสถานประกอบการบางแห่งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้แก่สถานประกอบการ start - up ว่า

            “สำหรับนักธุรกิจ start-up ควรพยายามอย่างสุดความสามารถและต้องมีความอดทนเพื่อแปรความฝันให้เป็นความจริง ที่อียู อายุเฉลี่ยของนักธุรกิจ start-up คือ 35 ปี และเป็นผู้ชายถึงร้อยละ 83”

            “ต้องทำอย่างไรให้ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษากลางในการประกอบธุรกิจ โดยเอกสารต่างๆเราต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อช่วยให้เพื่อนมิตรชาวต่างชาติรับทราบเกี่ยวกับประเทศเวียดนามและช่วยให้นักธุรกิจเวียดนามและสถานประกอบการเวียดนามสามารถเข้าถึงได้”

หนึ่งในเสาหลักสำคัญของระบบการพัฒนาธุรกิจ start-up ในเวียดนามคือแหล่งเงินทุน ดังนั้นการที่กองทุนร่วมลงทุน 18 แห่งได้ให้คำมั่นป่อยเงินลงทุน420 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อธุรกิจ start-up เวียดนามในอีก 3 ปีข้างหน้า ก็ถือเป็นข่าวดี เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนามได้ยื่นรายงานให้รัฐบาลพิจารณาอนุมัติเกี่ยวกับการจัดทำข้อกำหนดด้านการสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจ start – up ในเวียดนามจากกองทุนพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งส่งเสริมกิจกรรมการสนับสนุนและการฝึกอบรมด้านวิชาชีพให้แก่สถานประกอบการ start – up เวียดนามเพื่อสามารถออกสู่ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ.

Komentar