นาง บุ่ยถิแทงฮา ผู้อำนวยการสหกรณ์ฯ (tuoitrethudo.com.vn) |
สหกรณ์ผลิตสินค้าและให้บริการการเกษตรแทงห่าหรือสหกรณ์แทงห่าในกรุงฮานอยเป็นสหกรณ์แรกๆที่ขายยอดผักอ่อนในตลาดตั้งแต่ปี 2012 จากด้วยความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งในการเข้าถึง การเจาะตลาด การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และการใช้วิธีการใหม่ๆในการทำฟาร์มได้ช่วยให้ในปี 2016 ทางสหกรณ์ได้รับรางวัล"แบรนด์ทองคำเพื่อการเกษตรของเวียดนาม" ต่อมาในปี 2019 สหกรณ์ฯได้รับใบรับรองผลิตภัณฑ์ OCOP ระดับ 4 ดาวสำหรับผลิตภัณฑ์ผักสะอาด 15 รายการ โดยได้รับความนิยมจากลูกค้าทั้งในกรุงฮานอยและพื้นที่ปริมณฑลในหลายปีที่ผ่านมา นาง บุ่ยถิแทงฮา ผู้อำนวยการสหกรณ์ฯ กล่าวว่า เนื่องจากมีคุณภาพ สอดคล้องกับความนิยมและมีราคาที่ย่อมเยา ผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์ฯ ยังคงได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมาก ถึงแม้ต้องรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็ตาม เนื่องจากผลิตภัณฑ์ขายดีในซูเปอร์มาร์เก็ตของต่างชาติในเวียดนาม เช่น อิออนและบิ๊กซี เป็นต้น ทางสหกรณ์กำลังวางแผนที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ นาง ฮาเผยว่า
"ในหลายปีมานี้ เวียดนาม โดยเฉพาะกรุงฮานอยได้จัดโครงการส่งเสริมการค้าที่หลากหลาย ทั้งในตลาดภายในและต่างประเทศ ทางเราเห็นศักยภาพจากการส่งออกจึงตั้งใจที่จะทำการส่งออก ซึ่งก่อนอื่นจะจำหน่ายให้แก่ชาวต่างชาติที่อาศัยในเวียดนามแล้วจะมุ่งสู่การส่งออกไปยังต่างประเทศ"
เพื่อสนับสนุนสถานประกอบการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ในเวลาที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ได้ประสานงานกับกระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นปฏิบัติมาตรการต่างๆเพื่อประชาสัมพันธ์และเชื่อมโยงความต้องการ สนับสนุนสถานประกอบการสตาร์ทอัพพัฒนาตลาดและหาตลาดใหม่ๆให้แก่สินค้า โดยได้ปฏิบัติข้อตกลงการค้าเสรีรุ่นใหม่กับหุ้นส่วนนับสิบประเทศ นาง เลถิเหวียดงา รองอธิบดีกรมฝ่ายตลาดภายในประเทศสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เวียดนามเผยว่า
"เวียดนามได้เข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรี 16 ฉบับที่มีผลบังคับใช้แล้ว โดยในเวลาที่จะถึง เวียดนามจะผสมผสานเข้ากับกระแสโลกมากขึ้นเพื่อสามารถนำสินค้าที่มีคุณภาพสูงเข้าสู่ระบบจำหน่ายสินค้าที่ทันสมัย ซึ่งก็รวมถึงตลาดสดและร้านค้าทั่วๆไปที่ในอนาคตก็ต้องได้มาตรฐาฯตามข้อกำหนดของหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
นาย หมากก๊วกแอง รองประธานและเลขาธิการสมาคมสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมกรุงฮานอยได้แสดงความคิดเห็นว่า โอกาสการส่งออกสินค้าของสถานประกอบการสตาร์ทอัพไม่เคยได้รับการเปิดกว้างเหมือนปัจจุบันเนื่องจากการเดินถูกทิศทางของสถานประกอบการและการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างเข้มแข็งของเวียดนาม
"สถานประกอบการสตาร์ทอัพมีโอกาสมากมายในการเข้าร่วมตลาดโลก เพราะในข้อตกลงทวิภาคีและพหุภาคีที่เวียดนามได้ลงนาม บรรดาประเทศหุ้นส่วนต่างสงวนส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม สถานประกอบการสตาร์ทอัพ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของชมรมสถานประกอบการที่กำลังต้องได้รับการช่วยเหลือ นอกจากนี้ นักลงทุน องค์กรการเงินและกองทุนต่างๆมีความปรารถนาลงทุนในสถานประกอบการสตาร์ทอัพเพราะสถานประกอบการเหล่านี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่นวัตกรรม มีก้าวกระโดดและพัฒนาอย่างเข้มแข็ง ในเวลาที่ผ่านมา สถานประกอบการสตาร์ทอัพหลายแห่งได้นำเสนอสินค้าเฉพาะถิ่นและสินค้าพื้นเมืองที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเวียดนามต่อเพื่อนมิตรนานาชาติ ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่สินค้าของสถานประกอบการสตาร์ทอัพ"
จากการใช้โอกาสจำหน่ายสินค้าในตลาดต่างประเทศได้อย่างเต็มที่ สถานประกอบการสตาร์ทอัพไม่เพียงแต่สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่สินค้าของตนเองเท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมยืนยันเครื่องหมายการค้าของเวียดนามและกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย./.