( VOV world )-
ภาพคุณ เอดีตา รอสซ์โก ชาวโปแลนด์ที่ผมสีเหลืองอมน้ำตาล ดวงตาสีฟ้าและสื่อสารด้วยภาษาเวียดนามสำเนียงเหน่อๆปั่นจักรยนรอบเกาะหลีเซินและพูดคุยกับชาวบ้านเมื่อพบเห็นเป็นภาพที่คุ้นตาของชาวเกาะหลีเซิน เธอทักทายและถามทุกคนที่พบเกี่ยวกับงานประมง ราคาปลาและกุ้ง วัฒนธรรมพื้นบ้านบนเกาะและความหมายของโบราณสถานต่างๆ สำหรับคุณเอดีตา รอสซ์โก วัฒนธรรมพื้นบ้านของเกาะหลีเซินของเวียดนามดึงดูดให้เธอต้องค้นหาให้ได้
คุณ เอดีตา รอสซ์โก
คุณเอดีตา รอสซ์โกไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะต้องมาเวียดนามเพื่อทำการศึกษาวิจัย เมื่อปี ๒๐๐๒ เธอทำหนังสือขอให้กระทรวงศึกษาธิการโปแลนด์อนุญาติให้เธอไปทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตที่ประเทศจีน แต่มีอาจารย์ท่านหนึ่งได้แนะนำว่า ควรไปเวียดนาม และคุณเอดีตา รอสซ์โกก็ได้เลือกมาเวียดนามศึกษา ๔ ปี เธอเรียนภาษาเวียดนามเพื่อที่จะสามารถอ่านเอกสารต้นฉบับได้ คุณเอดีตา รอสซ์โกกล่าวว่า “ ดิฉันมาเวียดนามปี ๒๐๐๓ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ดิฉันมาเวียดนามและต้องสื่อสารด้วยภาษารัสเซีย ต่อมามีอาจารย์เวียดนามสองท่านสอนภาษาเวียดนามให้และดิฉันเรียนภาษาเวียดนามตามฟุตบาทถนนด้วย ดิฉันได้พบปะและพูดคุยกับคนเวียดนามเพื่อฝึกภาษาเวียดนาม ”
ปี ๒๐๐๕ คุณเอดีตา รอสซ์โกเรียนจบหลักสูตร ๔ ปีและกลับยุโรปเพื่อทำงาน แต่ใจเธอยังคิดถึงเวียดนามทุกขณะจิต ดังนั้น เมื่อทำวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต เธอได้เลือกจังหวัดกว่างหง่ายภาคกลางเวียดนามเพื่อทำการวิจัย คุณเอดีตากล่าวว่า “ ดิฉันสงวนเวลาเพื่อเรียนเข้มและอ่านเอกสารเกี่ยวกับภาคกลางเวียดนาม ดิฉันติดต่อกับสถาบันบ๊ากโก๋ของฝรั่งเศสที่มีโครงการวิจัย ณ กว่างหง่ายและพวกเขาชวนดิฉันไปด้วย โครงการของดิฉันวิจัยเกี่ยวกับความเลื่อมใสศรัทธาพื้นบ้าน ดังนั้นดิฉันได้มาอยู่ที่เกาะหลีเซินเป็นเวลา ๑ ปีตั้งแต่ปี ๒๐๐๖-๒๐๐๗เพื่อศึกษาวิจัยวัฒนธรรมซาหวิ่ง ”
คุณเอดีตา รอสซ์โกชื่นชอบวัฒนธรรมและความเลื่อมใสศรัทธาในกว่างหง่ายและเกาะหลีเซิน ซึ่งมีพื้นที่ราว ๑๐ ตารางกิโลเมตรแต่มีโบราณสถานหลายแห่งและได้รับการอนุรักษ์จากชาวเกาะเป็นอย่างดี โดยเฉพาะงานเทศกาลพื้นบ้านเช่น งานเทศกาลคาวเหล่เท้ลิ้งห์หว่างซาหรืองานบวงสรวงเพื่อสำนึกในบุญคุณของทหารที่สละชีพเพื่อปกป้องทะเลหว่างซาและเจื่องซาของเวียดนาม และเทศกาลเซ่นไหว้งือโองหรือปลาวาฬ คุณเอดีตา รอสซ์โกกลับประเทศเพื่อป้องกันวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตและทำงาน แม้มีงานหลายอย่างแต่เธอยังจัดเวลาอ่านหนังสือเกี่ยวกับเวียดนามและเกาะหลีเซินเพราะความรักแผ่นดิน คนและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักณษ์ของเขตทะเลหลีเซิน ปี ๒๐๑๓ คุณเอดีตา รอสซ์โกได้เขียนเค้าโครงศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางทะเลของเวียดนามและได้รับการอนุมัติจากสหภาพยุโรป ภายหลัง ๗ ปีที่ห่างเหินจากเกาะหลีเซิน เมื่อกลับมา คุณเอดีตา รอสซ์โกก็สัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลงบนเกาะ คุณเอดีตา กล่าวว่า “ ประเพณีต่างๆได้มีการเปลี่ยนแปลงเช่น สมัยก่อนห้ามสตรีเข้าสถานที่จัดทำพิธี แต่ปัจจุบันไม่ห้ามแม้กระทั่งนักท่องเที่ยวก็ได้รับอนุญาตเข้า วัฒนธรรมของที่นี่มีการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาดังนั้นมันต้องเปิดกว้าง ดิฉันวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลานั้น ”
แม้ชีวิตได้เปลี่ยนแปลงไปมากแต่ชาวเกาะหลีเซินยังใจดีและเป็นกันเอง คุณเอดีตาบอกว่า พวกเขาอยู่ใกล้ชิดกัน บ้านเรือนอยู่ติดกันจึงเข้าใจกันดี ช่วยเหลือกันและสามัคคีกัน ชาวบ้านมักจะถามดิฉันว่า ทำไมมาอยู่ที่นี่และแต่งงานหรือยัง พวกเขาถามดิฉันบางครั้งบางคราวแต่ดิฉันถามพวกเขามากกว่า
คุณ เอดีตา รอสซ์โกกับนายหวอวันอุ๊ต
นายหวอวันอุ๊ต ที่ช่วยคุณเอดีตาในการศึกษาวัฒนธรรมของเกาะหลีเซินเปิดเผยว่า “ ตอนแรกผมคิดว่าเธอพูดภาษาเวียดนามไม่คล่องแคล่ว เมื่อผมถามเธอว่า เธออยากศึกษาวิจัยเรื่ออะไร เธอตอบว่าวัฒนธรรมพื้นบ้านของเวียดนาม งานเทศกาลและเทศกาลประเพณีของชาวเกาะหลีเซิน ผมคิดว่า มีคนต่างชาติอยากศึกษาวัฒนธรรมหลีเซินและเวียดนามก็รู้สึกมีความสุขและผมอยากแนะนำเกี่ยวกับวัฒนธรรมเวียดนามและหลีเซินให้เธอ ดังนั้นผมจึงช่วยเธอ ”
เวียดนามไม่เพียงแต่ดึงดูดใจคุณเอดีตา รอสซ์โกเท่านั้น หากยังดึงดูดใจสามีเธออีกด้วย สามีคุณเอดีตาเป็นนักชาติพันธุ์ชาวเนเธอร์แลนด์ที่ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชนเผ่าในเตยเงวียนและมรดกวัฒนธรรมของเวียดนามมา ๒๐ ปี พวกเขาเจอกันและตกลงใช้ชีวิตร่วมกันเพราะต่างรักเวียดนาม คุณเอดีตาเล่าว่า
“ เราพบกันในการประชุมสัมมนาและคุยกันด้วยภาษาเวียดนาม และเรื่องราวของสองเราไม่จบลงแค่นี้ ปัจจุบัน ดิฉันกับสามีอยู่ที่เดนมาร์ค แต่ดิฉันสอนในประเทศอังกฤษ เราสองคนมีการคุยกันภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่เมื่อไม่อยากให้คนอื่นรู้เรื่องก็คุยกันด้วยภาษาเวียดนาม พวกเรายังสื่อสารด้วยภาษาเวียดนามในการทำงานเพราะพวกเรารักเวียดนามและถือเวียดนามเป็นบ้านเกิดแห่งที่สอง ”
คุณเอดีตา รอสซ์โกหวังว่า คราวหน้าเธอจะกลับมาหลีเซินกับสามีและบุตร เธออยากแนะนำให้กับลูกเกี่ยวกับแผ่นดินที่เธอรัก พาลูกไปเยือนเกาะและลิ้มลองเมนูยำปลาที่ตนโปรดปราน ./.