(VOVworld) – ในแผนการพัฒนาแหล่งบุคลากรเวียดนามในช่วงปี 2011-2020 รัฐบาลเวียดนามได้กำหนดว่า บุคลากรคือพื้นฐานและความได้เปรียบที่สำคัญที่สุดเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน มีเสถียรภาพและผสมผสานเข้ากับกระแสโลกซึ่งระบบโรงเรียนอาชีวศึกษาของเวียดนามมีบทบาทสำคัญเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของแหล่งบุคลากรเวียดนามให้ทัดเทียมกับประเทศต่างๆในภูมิภาค
โรงเรียนอาชีวศึกษาของเวียดนามมีบทบาทสำคัญเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของแหล่งบุคลากร
|
ปัจจุบัน เวียดนามมีวิทยาลัย 167 แห่ง โรงเรียนอาชีวศึกษา 306 แห่งและศูนย์ฝึกสอนอาชีพประมาณ 1500 แห่งโดยเฉลี่ยแต่ละปี โรงเรียนอาชีวศึกษาทั่วประเทศเปิดรับสมัครนักเรียนประมาณ 2 แสนคน มีการก่อสร้างโรงเรียนอาชีวศึกษาตามที่จังหวัดและนครต่างๆ รวมทั้งในระดับตำบล อีกทั้งยังมีการเปิดสอนตามหมู่บ้านศิลปาชีพและสถานประกอบการซึ่งได้สร้างโอกาสให้ผู้ใช้แรงงานสามารถเข้าถึงการฝึกอาชีพได้ง่ายขึ้น ในช่วงปี 2011-2015 ทั่วประเทศมีแรงงาน 12 ล้านคนที่ผ่านการฝึกอาชีพใน 34 แขนงอาชีพและมีความสามารถเทียบเท่ากับแรงงานในประเทศพัฒนา แหล่งพลังลงทุนให้แก่การฝึกสอนอาชีพเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มพัฒนาของสังคม สถาบันที่ฝึกสอนอาชีพเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในเบื้องต้น สอดคล้องกับแผนการพัฒนาแหล่งบุคลากรและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม นาย เหงียนห่งมิง รองอธิบดีทบวงฝึกสอนอาชีพสังกัดกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมได้เผยว่า นักเรียนและนักศึกษาร้อยละ 70 สามารถหางานทำได้หลังจากเรียนจบวิทยาลัยและโรงเรียนอาชีวศึกษา แต่เพื่อยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากรและตอบสนองความต้องการของสังคม ต้องมีการประสานงานระหว่างสถานประกอบการกับสถาบันสอนอาชีพ“เพื่อปฏิบัติมาตรการนี้ สถาบันสอนอาชีพต้องจัดตั้งองค์การที่มีความรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับสถานประกอบการโดยรัฐสามารถมีระเบียบการช่วยเหลือเงินทุนหรือจัดสรรข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการฝึกอบรมให้แก่สถานประกอบการเพราะสถานที่ฝึกอบรมและสถานประกอบการอาจไม่เกาะติดความต้องการของแขนงอาชีพหรือด้านอื่นๆจึงต้องได้รับการจัดสรรข้อมูลจากสำนักงานของรัฐ”
ใน 10 ปีมานี้ กระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมได้ประสานกับกระทรวง หน่วยงาน สถาบันวิจัยและสถานประกอบการจัดทำกรอบโครงการระดับวิทยาลัยและโรงเรียนอาชีวศึกษา 164 แห่งและโครงการฝึกสอนอาชีพในระยะสั้นนับร้อยโครงการ โรงเรียนหลายแห่งยังเป็นฝ่ายรุกในการศึกษาโครงการฝึกสอนอาชีพจากต่างประเทศซึ่งช่วยให้นักเรียนยกระดับทักษะความสามารถในการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับความต้องการที่นับวันเพิ่มมากขึ้นของตลาดแรงงานในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง วิทยาลัยและโรงเรียนอาชีวศึกษาในทุกจังหวัดและนครในแถบนี้ได้สร้างความเชื่อมโยงระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ระหว่างสถานประกอบการกับโรงเรียนในการผลิตแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงซึ่งตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการในเขตโดยระบบโรงเรียนอาชีวศึกษาในเขตเน้นถึงการส่งเสริมบทบาทของสถานประกอบการในการฝึกอบรมแหล่งบุคลากรด้านเทคโนโลยีในท้องถิ่นต่างๆ ฝึกอบรมครูอาจารย์ของโรงเรียนอาชีวศึกษาที่ได้มาตรฐาน เผยแพร่ความรู้และการฝึกฝนหล่อหลอมตนเองของแรงงาน รองศาสตรจารย์ ดร. โด๋วันหยุง อธิการบดีมหาวิทยาลัยคุรุศาสตร์เทคโนโลยีนครโฮจิมินห์ได้เผยว่า“มหาวิทยาลัยคุรุศาสตร์เทคโนโลยีนครโฮจิมินห์เป็นมหาวิทยาลัยแรกในภาคใต้ที่ได้เปิดใช้ศูนย์ฝึกสอนออนไลน์ รัฐบาลสหรัฐได้ให้การช่วยเหลือมหาวิทยาลัย 2 แสน 5 หมื่นเหรียญสหรัฐเพื่อติดตั้งกล้องดิจิตอล3ดีซึ่งครูอาจารย์ของมหาวิทยาลัยคุรุศาสตร์นครโฮจิมินห์สามารถสอนการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆให้แก่ครูอาจารย์คนอื่นๆในเขตตะวันตกเฉียงใต้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต”
การพัฒนาเครือข่ายสถาบันสอนอาชีพ 1500 แห่งและฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานกว่า 2.3 ล้านคนเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและตลาดคือเป้าหมายที่ทบวงการฝึกสอนอาชีพสังกัดกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมวางไว้ในปี 2015 นาย เยืองดึ๊กเลิน อธิบดีทบวงการฝึกสอนอาชีพได้เผยว่า ในปี 2015 จะเปลี่ยนแปลงการฝึกสอนอาชีพในขั้นพื้นฐานและในทุกด้านตามแนวทางผนวกโรงเรียนอาชีวศึกษาและวิทยาลัยเข้าระบบการฝึกสอนอาชีพเพื่อจัดตั้งระบบสถาบันสอนอาชีพที่ทันสมัยและจัดสรรแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูง นาย เยืองดึ๊กเลินได้เผยว่า“คุณภาพแหล่งบุคลากรมีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่งในขณะที่พวกเราผสมผสานเข้ากับกระแสภูมิภาคและโลก ในเวลาที่จะถึง ตามโครงการของรัฐบาล พวกเราจะก่อสร้างโรงเรียนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพจนถึงปี 2020 ซึ่งเป็นปัจจัยเพื่อค้ำประกันให้แก่การผสมผสานเข้ากับกระแสในภูมิภาค ฝึกสอนอาชีพที่มีคุณภาพสูงและใช้ความได้เปรียบเพื่อแข่งขัน”
ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งบุคลากรเวียดนามในช่วงปี 2011-2020 ได้ตั้งเป้าไว้ว่า จนถึงปี 2020 ต้องก่อสร้างโรงเรียนสอนอาชีพที่ได้มาตรฐานสากลอย่างน้อย 10 แห่งเพื่อผลิตแหล่งบุคลากรที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงานทั้งในระดับภูมิภาคและโลก เวียดนามกำลังผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับการฝึกสอนอาชีพคือความต้องการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อตอบสนองความต้องการแหล่งบุคลากรด้านเทคโนโลยีขั้นสูงในภารกิจการพัฒนาของประเทศ./.