สมุนไพรช่วยสร้างชุมชนที่อิ่มหนำผาสุกในเขตเขาลายโจว์

Khắc Kiên; Huyền
Chia sẻ
(VOVWORLD) - นานมาแล้วที่ประชาชนในเขตเขาลายโจว์นิยมนำสมุนไพรต่างๆจากป่ามาใช้ในการดูแลสุขภาพและรักษาโรค ด้วยสภาพอากาศและดินที่เอื้ออำนวย ปัจจุบัน ได้มีการปลูกสมุนไพรต่างๆอย่างเป็นระบบซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้แก่คนท้องถิ่น แก้ปัญหาความยากจนและสร้างฐานะอย่างยั่งยืนยั่งยืน
สมุนไพรช่วยสร้างชุมชนที่อิ่มหนำผาสุกในเขตเขาลายโจว์ - ảnh 1สวนสมุนไพรนำชีวิตใหม่ที่อิ่มหนำผาสุกมาให้แก่ชาวเขาในฟองโถมากขึ้น

นาย ฝาน ฟู เลียว เป็นชนเผ่าเย้าที่มีความรู้ในการเก็บและใช้พืชสมุนไพรที่หายากเพื่อรักษาโรคซึ่งปัจจุบันกำลังทำงานที่สถานีอนามัยตำบล สีเหลอโหล่ว อำเภอฟองโถ  หลังจากไปเยี่ยมชมและเรียนรู้รูปแบบการปลูกสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ต่างๆ เมื่อปี 2018 นายเลียวจึงทดลองปลูกโสมซานชี (Panax Pseudoginseng)  กว่า 4,000 ต้น โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 600 ล้านด่ง ซึ่งปัจจุบัน เขามีรายได้จากการปลูกโสมซานชีกว่า 200 ล้านด่งต่อปี และหลายคนรู้จักเขาในชื่อ "นายเลียวซานชี " นาย เลียว เผยว่า

“เราต้องพยายามลงทุนรูปแบบนี้เพื่อให้สามารถรักษาและอนุรักษ์พืชสมุนไพรของเวียดนามได้ ประการที่สองคือ ผมสามารถแนะนำชาวบ้านทำธุรกิจและเพิ่มรายได้ของครอบครัว พืชสมุนไพรชนิดนี้มีใช้เวลาเติบโตและการดูแลที่นานมาก อาจต้องใช้เวลา 6-7 ปีกว่าจะโตจนมีน้ำหนัก 100 กรัม”

สมุนไพรช่วยสร้างชุมชนที่อิ่มหนำผาสุกในเขตเขาลายโจว์ - ảnh 2รูปแบบเรือนเพาะชำและพืชสมุนไพรหลายแห่งได้รับการพัฒนาในเขตเขา

ตำบลชายแดน สีเหลอโหล่ว อำเภอฟองโถ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ห่างจากตัวอำเภอฟองโถกว่า 80 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็น "ศูนย์กลางแห่งสมุนไพร" ของจังหวัดลายโจว์เพราะชนเผ่าเย้ามักใช้พืชสมุนไพรจากป่าเพื่อรักษาโรค ใช้ดื่ม ใช้อาบ  และถือเป็นของขวัญอันล้ำค่าจากป่าเขา นาย เติ๋น ลาว ซาน รองประธานคณะกรรมการประชาชนตำบล สีเหลอโหล่ว อำเภอ ฟองโถ จังหวัดลายโจว์เผยว่า

“ทางตำบลได้เปิดการฝึกอบรมเพื่อให้ประชาชนกว่า 60 คนเข้าร่วมพัฒนารูปแบบปลูกต้นโสมอินเดีย อีกทั้งแสวงหาสถานประกอบการและสหกรณ์เพื่อเชื่อมโยงและรับซื้อผลิตภัณฑ์ รูปแบบปลูกพืชสมุนไพรเมื่อปี 2021 ทางตำบลสามารถปฏิบัติได้ดีกว่าปีก่อนๆ”

ผลการสำรวจพบว่า ปัจจุบัน จังหวัดลายโจว์มีสมุนไพรเกือบ 900 ชนิดโดยหลายชนิดมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ปัจจุบัน ทั้งจังหวัดมีการปลูกพืชสมุนไพรในพื้นที่กว่า 17,800 เฮกตาร์ เช่น ต้นอบเชย ซานจา กระวานเทศ โสมลายโจว์และโสมตังกุย  โดยเฉพาะ สำหรับต้นอบเชยและซานจา ชาวบ้านปลูกตามโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากจังหวัดฯ  ส่วนสมุนไพรอื่นๆ ชาวบ้านลงทุนปลูกเอง หรือทางจังหวัดฯสนับสนุนตามโครงการปลูกซานจาและโสมลายโจว์

นาย เวืองเท้เหมิน ประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอฟองโถ๋ จังหวัดลายโจว์ เผยว่า ท้องถิ่นส่งเสริมและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ประชาชนผลักดันการปลูกและผลิตสมุนไพรด้วยวิธีการปลูกใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี

“ความได้เปรียบของอำเภอคือมีที่ดินและสภาพอากาศที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ปัจจุบัน ในท้องถิ่นมีพืชสมุนไพรหลายชนิด เช่น ตีนฮุ้งดอย (Paris polyphylla) โสมลายโจว์ ซานจาสีม่วงและสมุนไพรอื่นๆ อีกหลายอย่าง นี่เป็นความได้เปรียบและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทางอำเภอต้องพัฒนาเพื่อนำประโยชน์ให้แก่ชาวบ้าน เราเน้นผลิตผลิตภัณฑ์ OCOP เพื่อสร้างแบรนด์ที่มีชื่อเสียง แสวงหาตลาดส่งออกและสร้างคุณค่าพิเศษให้แก่ผลิตภัณฑ์”

การปลูกและพัฒนาสวนสมุนไพรในหมู่บ้านบนเขตเขาตอบสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์พืชที่มีค่า จำกัดการใช้ประโยชน์จากป่าไม่ให้มากเกินไป นี่คือความมุ่งมั่นของหน่วยงานทุกระดับและชาวลายโจว์ ในเวลาที่ผ่านมา ทางจังหวัดฯยังได้สั่งให้สำนักงาน หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆผลักดันการประชาสัมพันธ์และยกระดับจิตสำนึกของเจ้าหน้าที่และประชาชนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ การลงทุนและการพัฒนาพืชสมุนไพร

นาย ดั่งวันโจว์ ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดลายโจว์เผยว่า นอกจากการเรียกร้องให้ลงทุนและขยายพื้นที่แล้ว หน่วยงานการเกษตรยังได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปยังท้องถิ่นเพื่อแนะนำให้ประชาชนประยุกต์ใช้เทคนิคใหม่ๆ ในการผลิตและการเก็บรักษาเพื่อยกระดับคุณภาพ ท้องถิ่นยังได้ใช้เงินทุนจากโครงการ 30a โครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ สนับสนุนการพัฒนาการผลิตและวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้ชาวบ้านพัฒนาพืชสมุนไพรและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

สมุนไพรช่วยสร้างชุมชนที่อิ่มหนำผาสุกในเขตเขาลายโจว์ - ảnh 3การพัฒนาพืชสมุนไพร ทำให้หลายครอบครัวในลายโจว์ได้ฉลองตรุษเต๊ต อย่างมีความสุขมากขึ้น

“ปัจจุบัน มีพื้นที่บางแห่งที่พัฒนาพืชสมุนไพรในเขตเขา ชาวบ้านได้สร้างผลิตภัณฑ์เพื่อขายในตลาด และถูกระบุในผลิตภัณฑ์ OCOP ระดับ 3 ดาว เช่น อาติโช๊ค ต้นเจียวกู่หลานและยารักษาโรคเรื้อน เป็นต้น นอกจากนี้ ทางจังหวัดฯกำลังให้การสนับสนุนตามรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OCOP และสนับสนุนการส่งเสริมการค้าเพื่อให้เกษตรกรพัฒนาการผลิต”

เพื่อให้สวนสมุนไพรกลายเป็นสวนที่เจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง จำเป็นต้องมีความร่วมมือและความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์จากทางการปกครองท้องถิ่น นักวิทยาศาสตร์ ผู้ปลูกสมุนไพร ผู้รับซื้อและผู้บริโภค ถ้าหากความเชื่อมโยงนี้มีความมั่นคง แน่นอนว่า การพัฒนาการผลิตสมุนไพรจะเป็นแนวทางที่ยั่งยืน เพราะความต้องการดูแลสุขภาพและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตสมัยใหม่ปัจจุบัน.

Komentar