พิพิธภัณฑ์ “ด่งเกว” หรือชนบท- สถานที่บรรยายถึงชีวิตของประชาชนในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือ |
“หลังจากเปิดมาเป็นเวลากว่า 4 ปี ได้มีผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ชนบทกว่า 7 หมื่นคน รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ และคณะนักเรียนภายในประเทศ พิพิธภัณฑ์เก็บรักษาทัศนีนภาพในชนบทที่เรียบง่ายและที่อยู่อาศัยในสมัยต่างๆ ตลอดจนเครื่องมือในการดำรงชีวิตของประชาชนในเขตชนบทในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือ”
คำแนะนำของไกด์ให้แก่คณะนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เกษียณอายุราชการจากกรุงฮานอยได้ทำให้บรรยากาศในพิพิธภัณฑ์มีความคึกคักมากขึ้น พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในเขตชนบทที่อุดมสมบูรณ์ ล้อมรอบด้วยทุ่งนาเขียวขจี หลังจากเดินเข้าประตูของพิพิธภัณฑ์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบซุ้มประตูของหมู่บ้านในภาคเหนือคือมีหลังคากระเบื้องสีแดง มีบ่อเลี้ยงปลา ต้นไม้เขียวขจีสองข้างทาง ด้านข้างคือบ้านผนังดิน 2 หลัง ซึ่งเป็นลักษณะบ้านของชนชั้นทาสในสมัยศักดินา ส่วนด้านขวาคือบ้านของขุนนางชั้นสูง หลังคากระเบื้องสีแดง ลานปูด้วยอิฐสีแดง ในบ้านมีเครื่องเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ครบครัน เช่น ตู้ เตียงและหีบ เป็นต้น ด้านหน้าคือห้องครัว ภายในแขวนข้าวโพดและเครื่องสีข้าว เป็นต้น ในการกล่าวถึงเหตุผลของการเปิดพิพิธภัณฑ์ นาง โงถิเคี้ยว เจ้าของพิพิธภัณฑ์ได้เผยว่า “ดิฉันและสามีต่างเกิดในเขตชนบท เป็นอาจารย์ และโชคดีที่ได้ทำงานในสถานที่หลายแห่ง ดังนั้นพวกเรามีความคิดเหมือนกันว่า เมื่ออายุสูงขึ้น จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แก่ปิตุภูมิ และแนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากท้องถิ่น โดยได้รับการอำนวยความสะดวกเพื่อเช่าที่ดิน และพวกเราได้ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ชนบทเมื่อปลายปี 2012 ในพื้นที่กว่า 5 พันตารางเมตร 1 ใน 3 สิ่งประดิษฐ์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เราได้รับบริจาคจากประชาชนทุกสารทิศ ส่วนที่เหลือ พวกเราเก็บสะสมเป็นเวลาหลายปี”
พิพิธภัณฑ์เก็บรักษาทัศนีนภาพในชนบทที่เรียบง่าย |
นักท่องเที่ยวมาเยือนพิพิธภัณฑ์ต่างมีความประทับใจต่อบ้านของชนชั้นทาสในสมัยศักดินา เนื่องจากนี่เป็นบ้านจริง ภายในบ้านหลังนี้จัดแสดงสิ่งของวัตถุที่เป็นเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน เช่น โถ โม่ไหน้ำ เป็นต้น นาง เคี้ยว มีความพอใจต่อบ้านหลังนี้ เพราะเธอได้ทุ่มเททั้งแรงกายและทรัพย์สินเพื่อโน้มน้าวให้เจ้าของบ้านขายให้ “ดิฉันซื้อบ้านหลังนี้ตอนที่เจ้าของบ้านยังอาศัยอยู่ แต่หลังคาที่มุงด้วยลำต้นส่วนล่างของต้นข้าวมีอายุ 40-50 ปี ดังนั้นจึงเสียหายบางส่วน เมื่อนำบ้านหลังนี้ไปตั้งที่พิพิธภัณฑ์ ดิฉันต้องเก็บสะสมหลังคาที่มุงด้วยลำต้นส่วนล่างของต้นข้าวของบ้านอีก 3 หลังเพื่อใช้มุงหลังคาใหม่ ผู้ที่ทำหลังคาเป็นคุณลุงอายุเกือบ 80 ปี ซึ่งยังมีสุขภาพแข็งแรง ส่วนคนรุ่นใหม่ไม่มีประสบการณ์ ถ้าทำหลังคาแบบนี้ก็จะใช้ได้ไม่นาน”
บ้านของชนชั้นไพร่ในสมัยศักดินา |
ไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์ชนบทคือบ้าน 4 ชั้น สีเหลือง ที่มีสถาปัตยากรรมแบบบ้านที่กำลังพัฒนาในเขตชนบท ตั้งอยู่กลางพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงสิ่งของวัตถุเกี่ยวกับชนบทที่โดดเด่น เช่น กระถางทองแดง ถาดทองแดงในสมัยต่างๆ พร้อมเครื่องมือด้านการเกษตร รวมไปถึงโถเงินและโคมไฟเก่า ตลอดจนสิ่งของในช่วงสงคราม เช่นหมวกและชุดทหารเก่าหรือรูปจำลองเครื่องบิน B52 “ดิฉันต้องใช้เวลานับสิบปีเพื่อเก็บสะสมสิ่งของเหล่านี้ ในตอนแรก ดิฉันคิดว่า จะเก็บสะสมเพื่อเป็นของที่ระลึก แต่ยิ่งสะสมก็ยิ่งรักงานนี้ ดิฉันเดินทางไปเขตชนบทหลายแห่ง รวมทั้งภาคกลางและภาคใต้เพื่อหาซื้อและมีหลายชิ้นที่ดิฉันอยากซื้อ แต่พวกเขาไม่ขาย แต่เมื่อดิฉันก่อสร้างพิพิธภัณฑ์นี้ พวกเขาก็ได้นำมามอบให้”
นาง โงถิเคี้ยว เจ้าของพิพิธภัณฑ์ |
การได้เห็นบ้านของขุนนางชั้นสูง ชนชั้นไพร่และชนชั้นทาสในสมัยศักดินา ตลอดจนสิ่งของที่มีค่าหายาก ทำให้นักท่องเที่ยวหลายคน รวมทั้งนักเรียนต่างรู้สึกมีความประทับใจ
“รุ่นพ่อแม่และบรรพบุรุษรู้จักบ้านหลังนี้แล้ว ในสมัยก่อน ชาวบ้านมีชีวิตที่ลำบากมาก มาที่นี่ได้เห็นหลายสิ่งหลายอย่าง พวกเรารู้สึกหวงแหนเอกลักษณ์ที่เรามี”
“มาที่นี่ ดิฉันรู้สึกผ่อนคลายความเครียด วันนี้ ดิฉันพาหลานจากกรุงฮานอยมาเยือนพิพิธภัณฑ์เพื่อให้หลานมีความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตในเขตชนบทและชีวิตในสมัยก่อนของบรรพบุรุษ”
“หลังจากเดินทางมาเยือนพิพิธภัณฑ์ชนบท หนูได้เห็นเครื่องไม้เครื่องมือในชีวิตประจำวันของคนสมัยก่อน หนูรู้สึกมีความภาคภูมิใจและรักปิตุภูมิมากขึ้น”
เด็กๆมาเยือนพิพิธภัณฑ์ |
พิพิธภัณฑ์ชนบทได้ตอบสนองความปรารถนาของนาง เคี้ยวคือ “ช่วยให้ทุกคนและคนรุ่นหลังมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับชีวิตของคนในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือ” นักท่องเที่ยวมาเยือนพิพิธภัณฑ์ต้องซื้อตั๋วราคา 1 หมื่นด่งต่อคน ซึ่งเงินนี้นำไปจ่ายเป็นค่าจ้างคนงานช่วยดูแลและเก็บรักษาสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ ถ้ามีโอกาสเดินทางมาเยือนจังหวัดนามดิ่ง คุณผู้ฟังไม่ควรพลาดมาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ชนบท ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนแห่งแรกในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือนะคะ.