นาย เจิ่นจูงติ๊ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกิ่นเทอ (Photo: เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเกิ่นเทอ) |
อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์นับวันมีบทบาทที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลก โดยรายรับจากอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์อยู่ที่กว่า 5 แสน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2023 และกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนสถานะในตลาดหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 และการแข่งขันระหว่างประเทศใหญ่ๆ เวียดนามได้รับการประเมินว่า เป็นประเทศที่มีโอกาสและปัจจัยที่จำเป็นเพื่อพัฒนาระบบนิเวศของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และมีศักยภาพยกระดับสถานะในห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์โลก
จากโอกาสใหญ่นี้ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา รัฐบาลได้อนุมัติโครงการพัฒนาแหล่งบุคลากรของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จนถึงปี 2030 แนวทางจนถึงปี 2050 นาย ด่าวจ่องโด ตัวแทนของกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมได้เผยว่า
“รัฐบาลมีแนวทางพัฒนาศูนย์ 3 แห่งใน 3 ภาคเพื่อเอื้อให้แก่มหาวิทยาลัยในภาคต่างๆเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ซึ่งในระยะแรก โรงเรียน 45 แห่งที่ได้รับการคัดเลือกไม่เพียงแต่ฝึกอบรมแหล่งบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของภายในประเทศเท่านั้นหากยังมีทักษะความสามารถที่เทียบเท่ากับภูมิภาคและโลกอีกด้วย”
จนถึงขณะนี้ เวียดนามมีสถานประกอบการประมาณ 50 แห่งที่ประกอบธุรกิจด้านการออกแบบไมโครชิป ซึ่งส่วนใหญ่คือสถานประกอบการเอฟดีไอที่ประกอบธุรกิจด้านเซมิคอนดักเตอร์จากประเทศและดินแดนต่างๆ เช่น สหรัฐ สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ประเทศจีนและเนเธอแลนด์ โดยมีวิศวกรเกือบ 5 พันคน ส่วนบริษัทต่างๆภายในประเทศ เช่น เวียดเทล เอฟพีที และ VNChip ก็ได้เข้าร่วมตลาด คาดว่า ในปีนี้ รายรับจากอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของเวียดนามจะอยู่ที่กว่า 6.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่างไรก็ดี เพื่อเข้าร่วมขั้นตอนต่างๆของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์อย่างกว้างลึก นอกจากความช่วยเหลือของรัฐบาลแล้ว สถานประกอบการเวียดนามได้เน้นพัฒนาแหล่งบุคลากรเพื่อไม่พลาดโอกาสในด้านนี้ โดยมหาวิทยาลัยและสถานประกอบการประสานงานกันเพื่อพัฒนาวิศวกรระดับสูง นาย เจิ่นจูงติ๊ง อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกิ่นเทอได้เผยว่า
“พวกเราพร้อมเชิญสถานประกอบการมาร่วมกับทางโรงเรียนฝึกอบรม นักศึกษาสามารถเรียนตามหลักสูตรของโรงเรียนและโปรแกรมของสถานประกอบการ เมื่อเรียนจบ พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว”
มหาวิทยาลัยและสถานประกอบการประสานงานกันเพื่อพัฒนาวิศวกรระดับสูง (Photo: TTXVN) |
ศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติสังกัดกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนามได้เปิดการฝึกอบรมต่างๆ โดยสามารถฝึกอบรมวิศวกรด้านไมโครชิปและเซมิคอนดักเตอร์ประมาณ 500 -600 คนต่อปี มอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาและวิศวกรที่มีทักษะความสามารถ ซึ่งโครงการนี้ไม่เพียงแต่ได้รับการชื่นชมจากสถานประกอบการเท่านั้น หากยังเป็นนิมิตหมายในความพยายามฝึกอบรมแหล่งบุคลากรด้านการออกแบบไมโครชิป เป็นก้าวเดินที่สำคัญในกระบวนการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีของชาวเวียดนามในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ นาย จิ่งคักเห่ว ผู้อำนวยการใหญ่บริษัท Qorvo เวียดนามได้ยืนยันว่า
“โครงการดังกล่าวได้เกาะติดความต้องการของสถานประกอบการ ซึ่งวิศวกรที่ได้รับการฝึกอบรม สามารถทำงานในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศอย่างรวดเร็ว”
เพื่อมีแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงที่สามารถตอบสนองความต้องการของเครือบริษัทชั้นนำของโลก สร้างสรรค์อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศ เวียดนามให้ความสำคัญต่อความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยกำหนดว่า เพื่อประสบความสำเร็จในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ ต้องเดินพร้อมกัน ร่วมกันสร้างสรรค์ห่วงโซ่มูลค่าที่มั่นคง ดอกเตอร์ เจิ่นเท้เซิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมเวียดนาม-สาธาณรัฐเกาหลีได้เผยว่า
“ความร่วมมือระหว่างประเทศในการฝึกอบรมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ พวกเราจะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและพบปะกับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในด้านนี้ นอกจากนโยบายของรัฐบาลและทางการท้องถิ่นแล้ว ทางมหาวิทยาลัยฯยังให้ความช่วยเหลือค่าเล่าเรียน เอื้อให้แก่นักศึกษาในการศึกษาในด้านนี้”
บรรดาผู้เชี่ยวชาญให้ข้อสังเกตว่า เวียดนามมีจุดแข็งเกี่ยวกับแหล่งบุคลากรที่มีทักษะความสามารถด้าน STEAM นี่เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการผลิตและออกแบบชิปเซมิคอนดักเตอร์เวียดนามเน้นพัฒนาแหล่งบุคลากรในด้านการออกแบบและผลิตไมโครชิป พัฒนาสถานประกอบการที่ประกอบธุรกิจในด้านผลิตไมโครชิป อิเล็กทรอนิกส์ มุ่งสู่การปฏิบัติเป้าหมายจนถึงปี 2050 เวียดนามมีแหล่งบุคคลากรที่มีทักษะความสามารถสูง เข้าร่วมห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก.