(VOVworld) – “ถ้าหากไม่มีใครอาสาเก็บรวบรวมวัฒนธรรมพื้นเมือง คนรุ่นหลังก็คงไม่รู้จักวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ” นี่คือความคิดเห็นของผู้แทนหลายคนเกี่ยวกับส่วนร่วมของสมาชิกสมาคมวรรณศิลป์ชนกลุ่มน้อยเวียดนามนอกกรอบการประชุมใหญ่ของสมาคมวรรณคดีของชนกลุ่มน้อยเวียดนามที่มีขึ้นในกรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้
“ถ้าหากไม่มีใครอาสาเก็บรวบรวมวัฒนธรรมพื้นเมือง คนรุ่นหลังก็คงไม่รู้จักวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ”
|
ถ้าหากเอ่ยถึงการสะสมและการวิจัยวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในจังหวัดห่ายาง ก็ต้องกล่าวถึงคุณหว่างถิเกิ๊บ คุณมายหงอกเฮื้อง คุณบ่านถิบาและคุณโห่งดิ่งกวุ๊ยที่ได้รับรางวัลจากสมาคมวรรณศิลป์พื้นเมืองเวียดนามและสมาคมวรรณศิลป์ชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะนักวิจัยวัฒนธรรมชาวเย้าบ่านถิบาที่จัดทำชุดสะสมผลงาน 2 ชุด ซึ่งประกอบด้วย “นิทานชาวเย้า”และ“มหากาพย์ชาวเย้า” จนได้รับรางวัลของสมาคมวรรณศิลป์พื้นเมืองเวียดนาม ในการสะสม เธอได้บันทึกบทกวีและผลงานวรรณกรรมเป็นภาษาเวียดนามแล้วแปลเป็นภาษาเย้าเพราะชนกลุ่มน้อยเผ่าเย้าไม่มีตัวอักษรใช้เป็นของตนเองซึ่งทำให้การสะสมและบันทึกของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ในตลอด 20 ปีที่ผ่านมา คุณบาได้คุ้นเคยกับการไปเยี่ยมเยือนผู้สูงอายุชาวเย้าในหมู่บ้านที่อยู่ในเขตเขาและห่างไกลความเจริญเพื่อบันทึกประโยคหรือบทกวีที่พวกเขายังคงจำได้ เธอเผยว่า “ในขณะที่ทำการสะสม แต่ละคนมีวิธีการเขียนแตกต่างกัน ส่วนการบันทึกเสียงก็ไม่เหมือนกัน ถ้าหากสะสมผลงานวรรณกรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าไตจะสะดวกกว่าเพราะพวกเขามีตัวอักษรเป็นของตนเองแล้ว ส่วนชาวม้ง ชาวเย้าและชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นๆยังไม่มี ปัจจุบัน การเผยแพร่ผลงานวรรณคดีที่เป็นภาษาชนกลุ่มน้อยให้แก่พวกเขามีน้อยมาก”
ส่วนนายแถกด่านี สมาชิกชาวเขมรของสมาคมวรรณศิลป์ชนกลุ่มน้อยสาขาจังหวัดบากเลียว โดยงานของเขานอกจากเป็นนักข่าวแล้วก็ยังเป็นผู้แต่งบทกวีสองภาษาด้วย ซึ่งประกอบด้วยภาษาเวียดและภาษาเขมรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันถึงคุณค่าของวรรณคดีชนกลุ่มน้อยเผ่าเขมร เขาบอกว่ามีบางคนสามารถแต่งบทกวีหรือเขียนเรื่องสั้นเป็นภาษาเขมรได้แต่การแปลผลงานนั้นๆเป็นภาษาเวียดยังไม่เป็น ครั้งนั้นเขาพยายามแปลบทกวีของตนและของเพื่อนๆจากภาษาเขมรเป็นภาษาเวียดเพื่อช่วยให้คนธรรมดาก็สามารถอ่านได้และรู้จักวัฒนธรรมของชนเผ่าเขมรมากขึ้น ซึ่งงานนี้ได้ดึงดูดใจเขามากเพราะมีหลายคนเขียนบทกวีเป็นภาษาเขมรแล้ว “ชนเผ่าเขมรรักวรรณคดีมาก พวกเขามักจะแต่งเอง อ่านเองและเล่าให้คนๆฟัง ซึ่งที่วัดของชาวเขมร ผู้ที่สามารถแต่งบทกวีและเขียนเรื่องสั้นได้อย่างน้อยวัดละ 5-10 คน ในภาคตะวันออกเฉียงใต้เวียดนาม วัดของชาวเขมรมีเกือบ 500 แห่ง จึงมีนักประพันธ์นับพันคน ผมมีความประสงค์ว่าจะรวบรวมนักประพันธ์ในจังหวัดบากเลียวเข้าเป็นสมาคมเพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาการแต่งบทกวีและวรรณกรรมของชาวเขมร”
การประชุมใหญ่ของสมาคมวรรณคดีของชนกลุ่มน้อยเวียดนาม
|
ในฐานะสมาชิกของสมาคมวรรณศิลป์ชนกลุ่มน้อย นายสุ่งนายี ชาวบ้านลงกง ตำบลเมื้องหนอง อำเภอกุ๊ยฟอง จังหวัดเหงะอานได้ใช้เวลาและทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อสะสม รวบรวมและตีพิมพ์สุภาษิตของชนเผ่าไทสองภาษาคือ ไทและเวียดเนื่องจากมีความกังวลว่า เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวไทจะหายไปและไม่มีอะไรสืบต่อสู่คนรุ่นหลังถ้าหากไม่รีบทำการสะสม“ถ้าหากคนอื่นต้องเดินทางสายเดียว ผมจะต้องเดินทางสองสาย เพราะผมต้องแปลจากภาษาของชนเผ่าไทเป็นภาษากลาง บางทีสามารถแปลความหมายของผลงานวรรณคดีเท่านั้นเพราะภาษาชนเผ่ามีความลึกซึ้งมาก”
การสะสมและเผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆคือหน้าที่สำคัญของสมาชิกทุกคน ซึ่งนอกจากนักประพันธ์แล้ว ยังมีนักวิจัยวัฒนธรรมในหมู่บ้านที่ช่วยกันรักษาและประชาสัมพันธ์คุณค่าวัฒนธรรมวรรณศิลป์ให้แก่ชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นๆทั่วประเทศ ซึ่งมีส่วนร่วมไม่น้อยต่อการพัฒนาและเพิ่มความหลากหลายให้แก่วัฒนธรรมของประชาชาติเวียดนาม./.