บทบาทเป็นฝ่ายรุกของประชาชนในกระบวนการแก้ปัญหาความยากจน

Bùi Hằng - VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) -ในสองทศวรรษที่ผ่านมา เวียดนามสามารถลดอัตราคนยากจนจากร้อยละ 58 ในปี 1993 เหลือเพียงร้อยละ 7.8 ในปี 2013  โครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในอำเภอ ตำบลยากจนและเขตชนกลุ่มน้อยได้รับการพัฒนาและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็ดีขึ้น ดังนั้น การมุ่งสู่การแก้ปัญหาความยากจนในหลายมิติและพัฒนาบทบาทเป็นฝ่ายรุกของประชาชนถือเป็นมาตรการหลักในการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนของเวียดนาม

(VOVworld) -ในสองทศวรรษที่ผ่านมา เวียดนามสามารถลดอัตราคนยากจนจากร้อยละ 58 ในปี 1993 เหลือเพียงร้อยละ 7.8 ในปี 2013  โครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในอำเภอ ตำบลยากจนและเขตชนกลุ่มน้อยได้รับการพัฒนาและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็ดีขึ้น ดังนั้น การมุ่งสู่การแก้ปัญหาความยากจนในหลายมิติและพัฒนาบทบาทเป็นฝ่ายรุกของประชาชนถือเป็นมาตรการหลักในการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนของเวียดนาม

บทบาทเป็นฝ่ายรุกของประชาชนในกระบวนการแก้ปัญหาความยากจน - ảnh 1
ในการแก้ปัญหาความยากจน ต้องเริ่มจากการพัฒนาบทบาทของประชาชน

จังหวัดห่ายาง ซึ่งเป็นจังหวัดในเขตเขามีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่กว่าร้อยละ 88 โดยเป็นชาวม้งกว่าร้อยละ 30 ดังนั้นทางจังหวัดจึงได้ระบุในแผนการแก้ปัญหาความยากจนว่า ต้องเริ่มจากการพัฒนาบทบาทของประชาชน นายฝ่ามหงอกหยุง รองผู้อำนวยการสำนักงานแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมจังหวัดห่ายางเผยว่า            “จนถึงสิ้นปี 2012 จังหวัดห่ายางมีครอบครัวยากจนกว่าร้อยละ 30 และในปี 2013 ก็มีครอบครัวร้อยละ 2 ถึงร้อย3ในจำนวนดังกล่าวมีความเป็นไปได้สูงที่จะหลุดพ้นจากความยากจน ซึ่งเป็นการลดอัตราครอบครัวยากจนต่ำกว่าปีก่อนๆ เพราะในปี 2013 ทางจังหวัดได้ประสบอุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชนในท้องถิ่น

นางฝ่ามเงวียนเกื่อง ผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมเวียดนามเผยว่า คนจนส่วนใหญ่มีความปรารถนาว่าจะหลุดพ้นจากความยากจนแต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นยังไง ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ปฏิบัตินโยบายต้องคำนึงถึงลักษณะ จุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละท้องที่เพื่อให้คำแนะนำแก่ชาวบ้านอย่างเหมาะสมเพื่อให้พวกเขาใช้จุดแข็งที่มีเพื่อหลุดพ้นจากความยากจน “ ถ้าอยากช่วยเหลือคนยากจน เราต้องทราบว่าพวกเขามีความปรารถนาอย่างไรและทำอย่างไรให้พวกเขาเข้าใจว่า พวกเขากำลังยากจนอยู่ ดังนั้นต้องพยายามสร้างฐานะให้ดีขึ้น เรากระตุ้นให้พวกเขาเรียนวิธีการปลูกต้นไม้หรือเลี้ยงสัตว์เพื่อให้พวกเขาตัดสินใจเองว่าจะใช้วิธีการไหนเพื่อสร้างฐานะแล้วเราจะให้การช่วยเหลือ สิ่งที่สำคัญคือต้องปรับเปลี่ยนจิตสำนึกของคนจนเพื่อให้พวกเขาพยายามสร้างฐานะที่ดีในถิ่นเกิด
ตามมติของรัฐบาลเกี่ยวกับ “การวางแนวทางแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนในช่วงปี 2011-2020” เวียดนามจะยังคงเดินหน้าให้สิทธิพิเศษแก่เขตยากจนที่สุดและเขตชนกลุ่มน้อยต่อไป ดังนั้นการร่างและประกาศนโยบายช่วยเหลือแบบใหม่ตามแนวทางขยายครอบครัวที่เพิ่งหลุดพ้นจากความยากจนและครอบครัวที่ใกล้ยากจนเพื่อหลีกเลี่ยงการกลับไปเป็นครอบครัวที่ยากจนอีกครั้ง ผลักดันบทบาทของประชาชนในการเป็นแกนหลักเพื่อแก้ปัญหาความยากจน กระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมกำลังพิจารณาการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเข้าถึงมาตรฐานความยากจนเพื่อให้นโยบายมีความครอบคลุมกลุ่มคนจนมากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาความยากจน สำหรับนโยบายช่วยเหลือครอบครัวยากจน นายฉิ๋งกงแคง อธิบดีกรมนโยบายต่อชนกลุ่มน้อยสังกัดคณะกรรมการชาติพันธุ์เวียดนามเผยว่า “ หนึ่งคือต้องตรวจสอบนโยบาย เพื่อให้การแก้ปัญหาในขณะนี้ต้องเน้นการปฏิบัติแบบผสมผสานทั้งภาคปฏิบัตินโยบายและโครงการที่เกี่ยวข้อง สองคือมอบสิทธิให้แก่ประชาชน สามคือ ระดมแหล่งบุคลากรให้แก่การแก้ปัญหาความยากจน โดยเมื่อก่อน เราจัดสรรเงินให้ประชาชนเพื่อให้พวกเขาหลุดพ้นจากความยากจน แต่นั่นคือการช่วยเหลือด้านสวัสดิการเท่านั้น การแก้ไขอย่างยั่งยืนคือต้องระดมการเข้าร่วมของประชาชนให้ได้ เพื่อให้พวกเขาตระหนักได้ดีว่า การแก้ปัญหาความยากจนคือหน้าที่ของประชาชนทุกคน
รัฐสภาสมัยที่ 13 ก็กำลังปฏิบัติหน้าที่การตรวจสอบในระดับสูงสูดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนทั่วประเทศในช่วงปี 2005-2012 เพื่อทบทวนผลการแก้ปัญหาความยากจนและแสวงหาแนวทางใหม่ให้แก่การบรรลุเป้าหมายการลดคนจนในเวลาที่จะถึง นางเจืองถิ่มาย ประธานคณะกรรมาธิการปัญหาสังคมของรัฐสภาและหัวหน้าคณะดูแลการปฏิบัตินโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนในช่วงปี 2005-2012 ระบุว่า “ เราควรให้ความสนใจถึงปัญหาบางอย่างคือ ถ้าหากเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ เราสามารถบรรลุในระดับไหนแล้วและสิ่งที่สำคัญคือคุณภาพและความยั่งยืนในการแก้ไขความยากจน การประเมินแต่ละกลุ่มที่อยู่ในเป้านโยบายเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นดิฉันขอให้มีการประกาศในรัฐสภาว่า นโยบายไหนประสบความสำเร็จและนโยบายไหนที่ต้องพิจารณาประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีความเป็นธรรมในการปฏิบัตินโยบายแก้ปัญหาความยากจน
การเข้าร่วมของประชาชนในกระบวนการนี้ถือเป็นโอกาสดีเพื่อประเมินผลงานของการปฏิบัตินโยบายแก้ปัญหาความยากจน พร้อมทั้งเป็นโอกาสแสวงหาวิธีการวัดระดับความยากจนเพื่อบรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนในเวลาที่จะถึง./.

Komentar