บทบาทของวิทยุกระจายเสียงในการป้องกันและรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

Pham Hai- VOV
Chia sẻ

(VOVWORLD) -เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปลูกผลไม้และข้าวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ฝนตกหนักผิดปกติ ปัญหาารกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำและชายฝั่งทะเล ล้วนแต่เป็นปัญหาที่กำลังส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเขตนี้  ซึ่งสถานีวิทยุเวียดนามได้มีกิจกรรมการประชาสัมพันธ์เพื่อช่วยเหลือทางการและประชาชนในท้องถิ่นในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

บทบาทของวิทยุกระจายเสียงในการป้องกันและรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1การเสวนาเกี่ยวกับปัญหาน้ำทะเลซึมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

สถานีวิทยุเวียดนามได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับงานด้านการพยากรณ์และการเตือนภัยธรรมชาติและปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างสมบูรณ์ รวดเร็วและถูกต้องให้แก่ทางการท้องถิ่นและประชาชน  ซึ่งช่วยให้ทางการท้องถิ่นและประชาชนมีมาตรการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ นาย ดั๋งวันตุ่ง ชาวนครเกิ่นเทอได้เผยว่า

“ในขณะที่ผมขับรถ ผมสามารถฟังรายการวิทยุได้และเห็นว่า การพยากรณ์ภัยธรรมชาติและเหตุน้ำท่วมมีประสิทธิภาพมากและมีการอัพเดทข้อมูลอย่างรวดเร็ว ”

นาย เหงวียนกวี๊นิง หัวหน้าสำนักงานการป้องกันและรับมือภัยธรรมชาติและกู้ภัยเกิ่นเทอ ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศรวมทั้ง ปัญหาการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำ เพื่อรับมือผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สำนักงานการป้องกันและรับมือภัยธรรมชาติและการกู้ภัยเกิ่นเทอได้ประสานงานกับสถานีวิทยุเวียดนามเพื่อสนับสนุนข้อมูลให้แก่พรรคสาขา ทางการท้องถิ่นและประชาชนอย่างสมบูรณ์เพื่อมีมาตรการอย่างทันการณ์

“การกระจายเสียงได้มีส่วนช่วยยกระดับจิตสำนึกของประชาชนในการร่วมกับสำนักงานที่เกี่ยวข้องและทางการต่างๆในการรับมือภัยธรรมชาติ ผมมีความประสงค์ว่า สถานีวิทยุจะเดินพร้อมกับสำนักงานการป้องกันและรับมือภัยธรรมชาติของจังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะ นครเกิ่นเทอเพื่อเผยแพร่คำเตือนต่างๆอย่างทันการณ์เพื่อให้ประชาชนรับทราบ มีส่วนร่วมลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”

บทบาทของวิทยุกระจายเสียงในการป้องกันและรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 2 นักข่าวสถานีวิทยุเวียดนามลงพื้นที่จังหวัดอานยาง

นาย กี๋กวางวิง อดีตหัวหน้าสำนักงานการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนครเกิ่นเทอได้เผยว่า ในตลอด 10 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีความผันผวนอย่างซับซ้อน ซึ่งสถานีวิทยุเวียดนามได้สนองข้อมูลเกี่ยวกับเหตุภัยแล้ง ปัญหาน้ำทะเลซึมและภัยธรรมชาติอย่างทันการณ์เพื่อช่วยให้ทางการท้องถิ่นและประชาชนตระหนักได้ดีต่ออุปสรรคและความท้าทายจากปัญหาดังกล่าว

“สถานีวิทยุเวียดนามนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย ในเวลาที่จะถึง พวกเราต้องเฝ้าติดตามข้อมูลทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะ สำนักงานที่เกี่ยวข้อง นักวิทยาศาสตร์ทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อนำเสนอข้อมูลอย่างทันการณ์ ช่วยให้ประชาชนลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”

ส่วนนาย  เหงวียนหึวเถียน ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการวิจัยอิสระเกี่ยวกับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้เผยว่า เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในเวลาที่ผ่านมา หน่วยงานกระจายเสียงได้ปฏิบัติงานด้านการพยากรณ์เหตุน้ำท่วม ภัยธรรมชาติ ปัญหาการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำและชายฝั่งทะเลในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นอย่างดี รวมทั้ง การรายงานข่าวเกี่ยวกับมติ 120 ของรัฐบาลเกี่ยวกับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะ การปรับตัวในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

“ในเวลาที่ผ่านมา สถานีวิทยุได้รายงานข่าวและบทความต่างๆเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งช่วยให้บรรดานักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้แก่ประชาชนและทางการท้องถิ่นต่างๆ”

จากความท้าทายต่างๆต่อเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง การกระจายเสียงมีบทบาทที่สำคัญในการพยากรณ์ ป้องกันและรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  สถานีวิทยุเวียดนามได้มีรายการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภิมอากาศเพื่อให้ประชาชนและทางการทุกระดับ วางแนวทางและมาตรการรับมือความท้าทายต่างๆจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ.

Komentar