จัตุรัสบาดิ่งยามฤดูไม้ผลัดใบ

Le Phuong - VOV5
Chia sẻ
( VOVworld ) - จัตุรัสบาดิ่งถือเป็นหัวใจของกรุงฮานอย  นับตั้งแต่ฤดูไม้ผลัดใบเมื่อปี ๑๙๔๕ ที่การปฏิวัติของเวียดนามประสบชัยชนะนั้น ที่นี่ได้เป็นพยานของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆของประเทศ บาดิ่งได้รับการตกแต่งด้วยธงทิวต่างๆอย่างสวยงามขึ้น  
  


( VOVworld ) - จัตุรัสบาดิ่งถือเป็นหัวใจของกรุงฮานอย  นับตั้งแต่ฤดูไม้ผลัดใบเมื่อปี ๑๙๔๕ ที่การปฏิวัติของเวียดนามประสบชัยชนะนั้น ที่นี่ได้เป็นพยานของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆของประเทศ  ในบรรยากาศทั่วประเทศจัดการฉลองครบรอบ ๖๗ ปีชัยชนะของการปฏิวัติเดือนสิงหาคมและวันชาติ ๒ กันยายน บาดิ่งได้รับการตกแต่งด้วยธงทิวต่างๆอย่างสวยงามขึ้น 
 จัตุรัสบาดิ่งยามฤดูไม้ผลัดใบ - ảnh 1
จัตุรัสรอนด์ พ้อยท์ ปูกีเนอร์ ( Rond Point Puginier )หรือจัตุรัสวงกลม  
บาดิ่ง ( Ba Dinh ) ในปัจจุบัน ( ภาพจากแฟ้ม )
 

จัตุรัสบาดิ่ง ( Ba Dinh )  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของซุ้มประตูกำแพงเก่าฮานอย  ซึ่งกว่าจะได้รู้จักในชื่อในปัจจุบันก็ได้มีชื่อต่างๆ  โดยเฉพาะช่วงแรกๆของศตวรรษที่ ๒๐ ที่นี่เป็นสวนดอกไม้โดยชาวฝรั่งเศสได้ตั้งชื่อว่า รอนด์ พ้อยท์ ปูกีเนอร์ ( Rond Point Puginier )หรือจัตุรัสวงกลม  รอบๆบริเวณนี้มีสำนักงานและคฤหาสสไตล์ฝรั่งเศสที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันเช่น ทำเนียบข้าหลวงใหญ่หรือทำเนียบประธานในปัจจุบัน โรงเรียนอาลเบอร์ต ซาร์โรท์ ( Albert Sarraunt )และสำนักงาานการคลัง ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นทำการโค่นล้มฝรั่งเศสสำเร็จและจัดตั้งรัฐบาลเวียดนามโดยเจิ่นจ๋องกีมเป็นนายกฯนั้น สวนดอกไม้รอนด์ พ้อยท์ ปูกีเนอร์ ( Rond Point Puginier ) ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสวนดอกไม้บาดิ่ง  ช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายนปี ๑๙๔๕ ได้มีการตั้งอัฒจรรย์ ณ ที่นี่  โดยเวลา ๑๔.๐๐ น วันที่ ๒ กันยายนปี ๑๙๔๕ รัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามได้ปรากฎตัวออกสู่สายตาของสาธารณชนและประธานโฮจิมินห์อ่านปฏิญญาเอกราชอันเป็นการให้กำเนิดสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ซึ่งเป็นรัฐประชาธิปไตยประชาชนรัฐแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 จัตุรัสบาดิ่งยามฤดูไม้ผลัดใบ - ảnh 2
จัตุรัสบาดิ่งในปัจจุบัน

จัตุรัสบาดิ่งเป็นสถานที่สวยงามที่มีสวนหญ้าเขียวขจีที่ได้รับการจัดเหมือนกระดาน  ที่นี่มีสุสานประธานโฮจิมินห์ที่ได้รับการก่อสร้างด้วยหินอ่อนประเภทดี รอบสุสานมีไม้ใผ่หลายกอทำให้เราหวนคิดถึงบ้านเกิดเหง่อานของลุงโฮ ทิวไม้ดอกกาหลงที่ถนนบั๊กเซินตรงข้ามกับสุสานเป็นสัญญลักษณ์ของเขตตะวันตกเฉียงเหนือถิ่นปฏิวัติ ด้านหน้าของจตุรัสบาดิ่งคืออนุสาวรีย์ทหารนิรนามพลีชีพเพื่อชาติ  ในช่วงนี้ทุกปี  มีคนเวียดนามและนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากได้มาคำนับศพประธานโฮจิมินห์ที่สุสานและเดินทอดน่องดูทิวทัศน์จตุรัสบาดิ่งแห่งประวัติศาตร์และบริเวณรอบๆ   คุณเหงวียนหงอกฝุ่ง คนถาคใต้กล่าวว่า  “ คุณยายเคยเล่าเรื่องที่ท่านได้อยู่ในเหตุการณ์ที่สำคัญในวันที่ ๒ กันยายน ๑๙๔๕ ณ จัตุรัสบาดิ่ง  วันนี้ดิฉันได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยือนสถานที่ทางประวัติศาสตร์นี้ จึงได้เข้าใจความรู้สึกของคุณยายในวันนั้นที่มีทั้งความรู้สึกเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจด้วย

 จัตุรัสบาดิ่งยามฤดูไม้ผลัดใบ - ảnh 3
พิธีเคารพธงชาติ

จตุรัสบาดิ่งยังเป็นสถานที่จัดพิธีเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาเทุกๆ ๖ โมงเช้าและเวลา ๓ ทุ่มจะมีพิธีเชิญธงชาติลงจากยอดเสา นายเหงวียนฮุยบิ่ง นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาบาดิ่ง ฮานอย  “ ผมมักจะมาที่นี่ชมพิธีเชิญธงชาติขึ้นและลงจากยอดเสา ผมชอบมาก เมื่อเพลงชาติดังขึ้น ผมก็จะร้องตาม  การเคารพธงชาติที่นี่แตกต่างกับที่โรงเรียนที่จัดขึ้นทุกๆเช้าของวันจันทร์  ”  นอกจากที่ได้รู้จักเป็นสถานที่ประธานโฮจิมินห์อ่านปฏิญญาเอกราชแล้ว จัตุรัสบาดิ่งยังผูกพันกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศในฤดูไม้ผลัดใบ อาทิ การปฏิวัติปี ๑๙๔๕  กองทัพนครหลวงกลับสู่ฮานอยปี ๑๙๕๔ และฤดูไม้ผลัดใบปี ๑๙๖๙  ณ ที่นี่ได้จัดพิธีไว้อาลัยประธานโฮจิมินห์ด้วยความเศร้าโศกอย่างสุดซึ้ง  จตุรัศบาดิ่งได้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกพันกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ  สำหรับชาวต่างประเทศที่มาเวียดนามในช่วงนี้ก็รู้สึกถึงบรรยากาศการเฉลิมฉลองวันชาติอย่างยิ่งใหญ่ของชาวเวียดนาม คุณโรเบอร์ต โบเวอร์มาน นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันเผยว่า  “ ผมได้มาที่นี่ในฤดูหนาวของปีที่แล้ว แต่มาที่นี่ยามฤดูใม้ผลัดใบได้สัมผัสกับบรรยากาศของวันงานสำคัญที่คึกคัก โดยมีธงแดงหลายๆผืนโบกสบัดต้อนรับวัชาติ  ผมหวังว่า คราวหน้าจะได้ชมการเดินสวนสนามดังที่ผมเคยได้ชมในภาพยนตร์สารคดี

 จัตุรัสบาดิ่งยามฤดูไม้ผลัดใบ - ảnh 4
ทิวม้ใผ่ข้างๆสุสานของประธานโฮจิมินห์



ประเทศพัฒนาก็ทำให้ภูมิทัศน์ของจัตุรัสบาดิ่งมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แต่คำว่าบาดิ่งยังคงสถิตอยู่ในหัวใจของชาวเวียดนามทุกคน เป็นความภาคภูมิใจของคนกรุงและคนเวียดนามทั้งประเทศ ./.

Komentar