ภาพของพิธีมอบรางวัล |
ภายหลัง 1 เดือนที่เปิดการรณรงค์ คณะกรรมการจัดงานได้รับผลงานจากผู้ที่เข้าร่วมการประกวดทั้งในเวียดนามและนักศึกษาเวียดนามที่กำลังศึกษาและทำงานในประเทศอินโดนีเซียรวม 22 ผลงาน ผ่านคลิปวิดีโอที่มีความยาว 2 นาทีเท่านั้น บรรดาผู้ที่เข้าร่วมการประกวดได้กล่าวถึงสิ่งที่พวกเขาได้มีโอกาสค้นคว้าในประเทศอินโดนีเซียและความรักต่อวัฒนธรรมและคนอินโดนีเซีย
“ความคิดริเริ่มของดิฉันคือการบอกเล่าความทรงจำที่ดีงามในช่วงเวลาที่ดิฉันเรียนที่ประเทศอินโดนีเซีย ความแตกต่างระหว่างชีวิตปัจจุบันกับช่วงเวลา1 ปีตอนศึกษาที่ประเทศอินโดนีเซียเป็นแรงบันดาลใจให้ดิฉันเข้าร่วมการประกวดนี้ ดิฉันหวังว่า ทุกคนจะเห็นได้ว่า อินโดนีเซียได้ช่วยให้ดิฉันและนักศึกษาคนอื่นๆมีช่วงเวลาที่ดีในชีวิต โดยไม่ต้องไปศึกษาที่สหรัฐหรือประเทศยุโรป”
“ในคลิปวิดีโอนี้ ดิฉันอยากกล่าวถึงสิ่งที่ดิฉันได้มีโอกาสเรียนรู้ตอนศึกษาที่ประเทศอินโดนีเซีย สิ่งที่ดิฉันรู้จากประเทศอินโดนีเซียและไม่สามารถลืมได้ และในตอนจบของคลิปวิดีโอ ดิฉันก็ร้องเพลงท่อนหนึ่งของเพลง Tanah Air ซึ่งเป็นเพลงอินโดนีเซียเพลงแรกที่ดิฉันเคยฟัง สำหรับดิฉันเอง อินโดนีเซียเหมือนบ้านเกิดแห่งที่ 2”
“ดิฉันเข้าร่วมการประกวดนี้ด้วยความประสงค์ว่า จะมีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะ ผ้าบาติกต่อบรรดานักศึกษา คลิปวิดีโอของดิฉันกล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในนคร Kudus ดิฉันได้มีโอกาสทำผ้าบาติกและรู้สึกประทับใจต่อเทคนิกการทำผ้าบาติก”
นี่คือความคิดเห็นของนาง ฝามเอี๊ยนแอวง ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 1 นาง ดิงถิท้ายลิง ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 2 และนาง เหงวียนถิเฮือง ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 3 เกี่ยวกับเหตุผลและสิ่งที่พวกเขาอยากบอกผ่านการประกวด
นาง ฝามเอี๊ยนแอวง ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 1 (คนแรกจากด้านซ้าย) และเพื่อนๆ |
นาง ฝามเอี๊ยนแอวง ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 1 สร้างความประทับใจให้แก่คณะกรรมการจัดงานเนื่องจากทักษะความสามารถในการพูดภาษาอินโดนีเซียได้อย่างคล่องแคล่วและเนื้อหาของคลิปวิดีโอ โดยเล่าเรื่อง ของสาวคนหนึ่งที่เคยศึกษาในประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลา 1 ปี เมื่อกลับประเทศ เธอบังเอิญเจอร้านอาหารอินโดนีเซีย ซึ่งอาหารของอินโดนีเซีย เช่น หมี่โกรัง และ นาซิโกเร็งช่วยให้เธอหวนนึกถึงความทรงจำเกี่ยวกับเพื่อน สถานที่ต่างๆและอาหารอินโดนีเซียเมื่อ 3 ปีก่อน นาง ฝามเอี๊ยนแอวง ได้กล่าวขอบคุณโครงการทุนการศึกษา Darmassiwa ของรัฐบาลอินโดนีเซียและมีความประสงค์ว่า ความสัมพันธ์มิตรภาพระหว่างเวียดนามกับอินโดนีเซียจะนับวันพัฒนา ทั้งสองประเทศจะร่วมกันฟันฝ่าช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ถึงแม้ผู้ที่เข้าร่วมการประกวดมีวิธีการนำเสนอและทักษะความสามารถในการพูดภาษาอินโดนีเซียที่แตกต่างกันแต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ พวกเขามีความรักต่ออินโดนีเซีย ซึ่งถ่ายทอดผ่านคลิปวิดีโอที่พวกเขาทำขึ้น ซึ่งผู้เข้าร่วมการประกวดหลายคนต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการทำคลิปวิดีโอ นาย Ibnu Hadi เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำเวียดนามได้เผยว่า
“ทักษะความสามารถในการใช้ภาษาอินโดนีเซียของผู้เข้าร่วมการประกวดดีมาก แม้พวกเขาส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนเพื่อถ่ายทำคลิปวิดีโอแต่ผมยังคงสามารถรู้สึกได้ถึงสิ่งที่พวกเขาอยากถ่ายทอด ผมมีความประทับใจต่อผลงานที่เข้าร่วมการประกวด โดยเฉพาะ ผลงานที่ได้รับรางวัล ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกของผู้เข้าร่วมการประกวดในช่วงเวลาศึกษาที่ประเทศอินโดนีเซีย พวกเรามีแผนการจัดการประกวดนี้อีกในปีหน้าและหวังว่า จะมีผู้เข้าร่วมมากขึ้น”
คลิปวิดีโอของนาง ดิงถิท้ายลิง กล่าวถึงประสบการณ์ที่เธอได้รับในตลอดเวลา 1 ปีที่ศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย จากเมื่อก่อนที่ไม่รู้ภาษาอินโดนีเซีย ปัจจุบัน เธอสามารถพูดภาษาอินโดนีเซียได้อย่างคล่องแคล่วและสามารถตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับอินโดนีเซีย วิธีการทำผ้าบาติกและสามารถฟ้อนรำพื้นเมืองของอินโดนีเซียเป็น อาจกล่าวได้ว่า ผลงานที่ได้รับรางวัลนี้ถือเป็นเสียงพูด ความในใจและความรักของคนรุ่นใหม่เวียดนามต่ออินโดนีเซีย ซึ่งพิธีมอบรางวัลมีความหมายมากขึ้นเนื่องจากถูกจัดขึ้นในงานกาลา “ราตรีแห่งมิตรภาพอินโดนีเซีย-เวียดนาม”ในโอกาสรำลึกครบรอบ 65 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ ผู้ที่ได้รับรางวัลรู้สึกดีใจไม่ใช่แค่เพราะได้รับรางวัลเท่านั้นหากยังเป็นเพราะสามารถส่งเสริมให้ทุกคนรักประเทศอินโดนีเซียมากขึ้น สำหรับแผนการในอนาคตพวกเขาได้เผยว่า
“งานที่ดิฉันทำต้องใช้ภาษาอินโดนีเซียส่วนใหญ่แต่ดิฉันหวังว่า ในเวลาที่จะถึง ดิฉันจะมีส่วนร่วมผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศและคนของทั้งสองประเทศ”
“ดิฉันกำลังเรียนภาษาอินโดนีเซียในมหาวิทยาลัย ดิฉันมีความประสงค์ว่า หลังเรียนจบ ดิฉันจะสามารถหางานทำที่เกี่ยวข้องถึงอินโดนีเซียเพราะดิฉันชอบภาษา วัฒนธรรมและชาวอินโดนีเซีย”
ผู้ที่เข้าร่วมการประกวดแต่ละคนต่างมีความฝันและความผูกพันกับประเทศและภาษาอินโดนีเซีย การประกวด “Aku dan Indonesia” ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสเพื่อให้ผู้เข้าร่วมแสดงความรักต่อประเทศอินโดนีเซียเท่านั้นหากยังเป็นพลังขับเคลื่อเพื่อช่วยให้พวกเขาแปรความฝันให้กลายเป็นความจริงอีกด้วย.