เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าซ๊านจี๋

Lan Anh- VOV5
Chia sẻ
(VOVWorld)-ชนเผ่าซ๊านจี๋รักการร้องเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าตนเป็นชีวิตจิตใจ  ทำนองเพลงพื้นเมืองของชนเผ่านี้มีความหลากหลาย วิธีการร้องก็มากมายรูปแบบแต่ที่โดดเด่นที่สุดคือเพลง“สิ่งกา” เป็นเพลงฉ่อยเกี้ยวกันที่หนุ่มๆสาวๆชอบร้องมากในยามได้เจอะเจอกัน

(VOVWorld)-ชนเผ่าซ๊านจี๋รักการร้องเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าตนเป็นชีวิตจิตใจ  ทำนองเพลงพื้นเมืองของชนเผ่านี้มีความหลากหลาย วิธีการร้องก็มากมายรูปแบบแต่ที่โดดเด่นที่สุดคือเพลง
“สิ่งกา” เป็นเพลงฉ่อยเกี้ยวกันที่หนุ่มๆสาวๆชอบร้องมากในยามได้เจอะเจอกัน
เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าซ๊านจี๋ - ảnh 1
งานเทศกาลของชนเผ่าซ๊านจี๋

ชาวเผ่าซ๊านจี๋มีผลงานศิลปวรรณกรรมมากมายเช่น นิทานโบราณ  กลอนกวี  สำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย  เพลงพื้นเมืองเกี่ยวกับการแต่งงาน  การอวยพรวันเกิด  การเชิญเหล้า เชิญชา ฯลฯ  แต่ที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าคือเพลง “สิ่งกา” หรือฉ่อยเกี้ยวกันของหนุ่มสาวชาวซ๊านจี๋ที่จะตั้งวงร้องกันได้ทุกเมื่อและการร้องอาจจะยันรุ่งเพราะสองฝ่ายใช้คำกลอนโต้ตอบแก้กันอย่างเมามัน  การร้องเพลง “สิ่งกา”ถือเป็นชีวิตจิตใจของวัยรุ่นชาวซ๊านจี๋ก็ว่าได้  

ชนเผ่าไต่และหนุ่งมีเพลง สะลี  สะเลือน  ชนเผ่ากิงมีเพลงพื้นเมืองกวานเหาะที่รัองกันในวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติหรือเรียกว่าตรุษเต๊ด  แต่เพลง “สิ่งกา” ของชาวซ๊านจี๋จะร้องได้ในทุกที่ทุกเวลาทั้งกลางวันกลางคืนและตอนเดินทางไปทำไร่ทำนาหรือไปตลาด  ไม่ว่าเจอกันตอนไหนก็จะร้องเพลง “สิ่งกา” โต้ตอบกัน ไปเยี่ยมกันที่บ้านก็จะร้องเพลง “สิ่งกา”ทักทายกัน  การร้องเพลงเป็นไปแบบธรรมชาติไม่มีดนตรีประกอบ  คำร้องก็มาจากคำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งถือได้ว่าเป็นวิธีการสื่อสัมพันธ์กันด้วยเสียงเพลงจากใจ  นาย เลิมเหาะ ชาวซ๊านจี๋ ที่อาศัยอยู่ในอำเภอม้องก๊าย จังหวัดกว๋างนิงคุยให้พวกเราฟังว่า “โดยที่เรียนมาจากผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านพวกหนุ่มสาวที่นี่ร้องเพลง “สิ่งกา” กันได้หมด  ถ้าขยันเรียนและโน๊ตคำร้องไว้  แล้วท่องจำให้ดีก็จะร้องเพลง “สิ่งกา”ได้อย่างไพเราะจับใจและสามารถร้องได้ในทุกที่”
เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าซ๊านจี๋ - ảnh 2
ตามปกติการร้องเพลง “สิ่งกา” จะร้องกันนาน 5 ถึง 7 คืน 

ตามปกติการร้องเพลง “สิ่งกา” จะร้องกันนาน 5 ถึง 7 คืน ด้วยเพลงเก่าที่มีอยู่แล้ว 700 ถึง 1000 เพลง  ผู้ร้องต้องมีไหวพริบในการจำคำร้องโต้ตอบให้ถูกเพราะถ้าร้องผิดคำเดียวก็ร้องต่อไม่ได้และเพลงที่ร้องต้องไม่ซ้ำกันและไม่ซ้ำกับคืนก่อน ซึ่งเป็นข้อกำหนดเคร่งครัดที่ผู้ร้องต้องปฎิบัติตาม  การร้องเพลงจะเริ่มขึ้นเวลาหนึ่งหรือสองทุ่มไปจนถึงวันรุ่งขึ้น   ผู้ร้องแบ่งเป็นสองฝ่ายชายและหญิงแต่ละฝ่ายจะมี 5 คนขึ้นไปและต้องเลือกหัวหน้าหนึ่งคนที่เป็นผู้ร้องเพลงเพราะ  โต้ตอบได้เร็ว  พูดจามารยาทดีและต้องเป็นผู้ชายที่ยังไม่แต่งงาน เพราะ “สิ่งกา”เป็นเพลงทอดสะพานรักระหว่างหนุ่มสาวฉะนั้นคนที่แต่งงานแล้วจะไม่ได้ร่วมการร้องเพลง “สิ่งกา”เกี้ยวกัน  หากร้องเพลง“สิ่งกา”อื่นได้ในเทศกาลปีใหม่หรือในงานแต่งเท่านั้น นาย เหิ่าแทงติ่ง ชาวซ๊านจี๋ ที่อาศัยอยู่ในอำเภอม้องก๊าย จังหวัดกว๋างนิงคุยให้ฟังว่า “ตั้งแต่ก่อนมาจนถึงทุกวันนี้หนุ่มสาวชาวซ๊านจี๋ชอบชวนกันไปเที่ยวงานพื้นบ้านไม่ว่าจะเป็นงานในหมู่บ้านตนหรือหมู่บ้านอื่นๆเพื่อหาเนื้อคู่  เมื่อคู่หนุ่มสาวใดต้องใจกันก็จะนัดแนะเจอกันอีกในวงเพลง“สิ่งกา”
การร้องเพลง“สิ่งกา”เกี้ยวกันของชนเผ่าซ๊านจี๋เป็นวัฒนธรรมการร้องเพลงแบบธรรมชาติที่อาจร้องได้ในทุกที่ทุกเวลา  เมื่อหนุ่มสาวคู่ใดมีใจให้กันแล้วก็จะหาโอกาสจัดวงร้องเพลง “สิ่งกา”บอกรักกันเพื่อไปสู่งานวิวาห์สร้างชีวิตคู่ให้เป็นฝั่งเป็นฝาดังสำนวนที่ว่า “คู่กันแล้วไม่แคล้วคลาดกัน” .

Komentar