อำเภอบ๋าวหลากเป็นอำเภอในเขตชายแดนของจังหวัดกาวบั่ง เป็นถิ่นอาศัยของชนกลุ่มน้อยหลายเผ่าแต่ชนเผ่าไตและหนุ่งมีประชากรมากที่สุดโดยชีวิตของชนกลุ่มน้อยในผืนดินแห่งนี้มีความคุ้นเคยกับเพลงพื้นบ้านทำนองหล่างเอ๋ย (baonhandan)
|
การร้องเพลงพื้นเมืองทำนองหล่างเอ๋ยมีลักษณะเป็นการร้องเพลงโต้ตอบระหว่างหนุ่มสาวหรือระหว่างแขกกับเจ้าของบ้านในโอกาสพบปะสังสรรค์กัน โดยการร้องเพลงแต่ละครั้งมักจะจัดยาวตั้งแต่ค่ำจนถึงเช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้นหรือบางทีจัดยาวหลายวัน การพบปะสังสรรค์แบบนี้ทำให้มีหนุ่มสาวหลายคนสามารถหาเนื้อคู่แต่งงานกันเป็นครอบครัวที่มีความสุข นายมาวันเย้า ชาวต.เถืองฮา อ.บ๋าวหลาก จ.กาวบั่งเผยว่า"เพลงพื้นเมืองนี้มักจะร้องกันในโอกาสเทศกาลต่างๆหรือในงานฉลองปีใหม่ เช่น ในช่วงเดือนอ้าย ในงานแต่งงาน งานวันเกิด งานอวยพรผู้ใหญ่หรืองานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น แต่ละงานจะมีทำนองร้องเฉพาะ ฝ่ายไหนรู้จักทำนองร้องที่หลากหลายก็สามารถร้องได้ยาว"
ก็เหมือนกับเพลงพื้นบ้านทำนองอื่นๆในท้องถิ่น เนื้อร้องของเพลงหล่างเอ๋ยก็เป็นไปตามจังหวะโดยจะเริ่มด้วยคำเชื้อเชิญทักทายและขออนุญาตเจ้าของบ้านให้ลูกหลานในบ้านได้ร้องเพลงโต้ตอบกับแขกที่มาเยือน ท่อนกลางเป็นการสรรเสริญบ้านเกิดเมืองนอนและความรักไคร่กันและการทำความรู้จักกัน ส่วนท่อนปิดท้ายเนื้อร้องจะสื่อความหมายเป็นการสัญญา อำลาและนัดกันว่าจะเจอกันอีกหรืออาจจะเชิญร่วมร้องเพลงต่ออีกวันสองวัน คุณเลถิเติม เจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมอ.บ๋าวหลากเผยว่า"หนุ่มสาวที่เจอะเจอกันในตลาดหรือในงานเทศกาลชุมชน ได้ใช้ทำนองเนื้อร้องเพื่อสื่อความคิดเห็นในใจแทนการส่งจดหมาย ถ้าอยากพบกันก็ต้องรอให้ถึงงานเทศกาลปีหน้า พวกเขาทำความรู้จักกันด้วยเพลงและสร้างความประทับใจต่อกันผ่านทำนองเพลงพื้นเมืองที่ร้องโต้ตอบกัน"
ของที่ระลึกมอบให้กันต้องเป็นของที่ทำเอง(baonhandan) |
ชาวเผ่าไต-หนุ่งสามารถร้องเพลงโต้ตอบกันได้ตลอดปี แต่ที่นิยมที่สุดคือช่วงวสันต์ฤดูและช่วงว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยวและสามารถร้องได้ทุกที่ทุกเวลาเช่น ในระหว่างการไปตลาด ไปเดินป่าหรือไปร่วมงานเทศกาลต่างๆ ทำนองการร้องอาจแต่งขึ้นได้เองตามบรรยากาศแต่จะต้องตรงตามหลักในการแต่งเพลงและมีจังหวะเพื่อให้คนฟังรู้สึกดี โดยเฉพาะในช่วงวันงานเทศกาล หนุ่มสาวมักจะร่วมร้องเพลงและมอบของขวัญให้กันแทนคำมั่นสัญญา โดยผู้ชายจะมอบขนมหรือผ้าโพกศีรษะสี่เหลี่ยมให้แก่สาวที่ตนชอบและสัญญาไว้ตั้งแต่งานครั้งก่อน ส่วนสาวๆจะมอบกระเป๋าผ้า รองเท้าผ้าใบหรือเสื้อให้แก่ผู้ชายที่ตัวเองมีใจ
คุณเฮื้อถิกวิ่ง ชาวต.ก๊กป่าง อ.บ๋าวหลากเผยว่า "พวกเราทำความรู้จักกันและจะนัดกันว่าในการพบกันที่งานครั้งต่อไปจะมีของที่ระลึกมอบให้กัน ซึ่งต้องเป็นของที่เราทำเองและเย็บปักถักร้อยเพื่อรำลึกถึงวันที่ได้พบกัน ถ้าไม่ได้แต่งงานกันก็เก็บไว้เป็นที่ระลึกเพื่อที่จะได้ไม่ลืมกันเหมือนรุ่นคุณพ่อคุณแม่ และนี่ก็เป็นการสืบทอดและอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมของชนเผ่าเอาไว้"./.