(VOVworld)-ตามความเชื่อของชนเผ่าไต ตามหลักธรรมชาตินั้น ชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดแก่เจ็บตายก็ต้องมีการชุมนุมญาติมิตรอย่างน้อย4ครั้งในพิธีต่างๆคืองาน มาแญต งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่และงานศพ โดยงานมาเญตก็คือพิธีไหว้เจ้าขอพรสำหรับทารกครบเดือนซึ่งถือเป็นพิธีที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นพิธีกรรมแรกในชีวิตดังนั้นต้องมีการเตรียมพร้อมทุกอย่าง
ขนมก๊อกหม่อ(KT)
|
พิธีไหว้เจ้าขอพรให้ทารกครบเดือนนั้นในภาษาไตเรียกว่า มาเเญต ซึ่งมีความหมายว่าขี้เหร่ ในพิธีนี้เด็กจะได้ตั้งชื่อโดยหมอผีหรือผู้อาวุโสในครอบครัวและจะเลือกชื่อที่ไม่สวยเพราะเชื่อว่าจะให้เด็กเลี้ยงง่ายโตเร็ว นอกจากนี้พิธีมาแญตก็เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณต่อเทพเจ้าและบรรพบุรุษที่คอยปกป้องคุ้มครองทั้งแม่และเด็กให้แข็งแรงปลอดภัย เนื่องจากเป็นพิธีที่สำคัญโดยเฉพาะบ้านไหนที่มีลูกหรือหลานคนแรกดังนั้นการเตรียมข้าวของเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆก็ต้องจัดให้ครบรวมทั้งการเชิญหมอผีมาทำพิธี ขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านมาทำอาหารเลี้ยงแขกและงานเลี้ยงก็ขึ้นอยู่กับฐานะของครอบครัวบางทีอาจจะเท่ากับงานแต่งงาน นอกจากนั้นในอาหารชุดเลี้ยงแขกนั้นสิ่งที่ขาดมิได้คือขนมก๊อกหม่อหรือขนมเขาวัวเพื่อแจกเป็นของฝากให้ผู้ที่มาร่วมงานเลี้ยง
พิธีมาแญตของชนเผ่าไตยังขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นและผู้ที่เป็นหมอผีแต่โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งเป็นสองส่วนคือพิธีไคตวนหรือไหว้บ่าหมุซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ประทานบุตรและคายเบือนหรือการรับรองทารกคนนั้นเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัวและชุมชน นาย หว่างทิเหี่ยนหัวหน้าแผนกมรดกแห่งสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและท่องเที่ยวจ.บั๊กก๋านเผยว่า “พิธีไหว้เจ้าของชาวไตมีหลายขั้นตอนใช้เวลาประมาณ5ชั่วโมงและทำภายในบ้านที่หน้าหิ้งบูชาของครอบครัว โดยขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือเข้าประตูบ่าหมุ การดูแลต้นไม้ดอกในบ้านและการถวายเครื่องเซ่นต่อบ่าหมุ”
ตามความเชื่อของชนเผ่าไต “ประตูบ่าหมุ” เป็นที่ของเทพเจ้าที่ประทานบุตรให้แก่ครอบครัวต่างๆดังนั้นต้องมีการถวายเครื่องเซ่นไหว้ที่เตรียมไว้เพื่อเป็นการขอบคุณที่ได้ประทานบุตรให้และขอตั้งชื่อให้ลูกด้วย เมื่อก่อนหมอผีจะเป็นตัวแทนถามและตั้งชื่อเองแต่ปัจจุบันพ่อแม่เด็กหรือคนในครอบครัวได้เลือกชื่อที่อยากตั้งให้เด็กแล้วเพื่อขออนุญาตจาก บ่าหมุ หลังจากเสร็จพิธีตั้งชื่อก็ตามด้วยพิธีคายเบือน คือจะอุ้มเด็กออกนอกบ้านเพื่อเป็นการขายสิ่งที่ไม่ดีและซื้อสิ่งที่เป็นมงคลมาให้แก่เด็กคนนี้ ส่วนคนในบ้านจะทำพิธีตั้งเปล ร้องเพลงกล่อมและเตรียมของขวัญมอบให้เด็ก นาย ห่าวันเวียน อาศัยที่หมู่บ้านนาหรี่ อ.บั๊กก๋าน จ.บั๊กก๋าน เผยว่า “คุณย่า และคุณยายรวมทั้งญาติพี่น้องในครอบครัวมักจะเตรียมของขวัญที่เป็นข้าวเหนียว ไก่ตัวเมีย1ตัวที่มีเท้าและขนสีเดียวกันคือสีเหลือง”
การอุ้มเด็กออกนอกบ้านนั้นก็ต้องเลือกคนที่มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ ประสบความสำเร็จในการงานและมีฐานะ หลังจากกลับเข้าบ้านแล้วคุณย่าจะอุ้มเด็กแล้ววางนอนบนเปลเพื่อให้ญาติพี่น้องทั้งสองฝ่ายร่วมกันร้องเพลงกล่อมอันเป็นการรับรองว่าเด็กได้เป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัวแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือคุณยายจะสะพายหลานบนหลังแล้วถือถุงขนมก๊อกหม่อออกนอกบ้านเพื่อขายขนมตามพิธีจนหมดและจะปิดท้ายด้วยงานเลี้ยงที่สนุกสนานและอบอุ่น
พิธีมาแญตของชนเผ่าไตนั้นไม่เพียงแต่เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาช้านานเพื่อขอพรตั้งชื่อให้เด็กแรกเกิดเท่านั้นหากยังแฝงไว้ซึ่งความหมายทางวัฒนธรรมอันดีงามเกี่ยวกับความรักไคร่และความช่วยเหลือจุนเจือกันในครอบครัวต่อหน้าที่การดูแลแม่และเด็ก นี่ยังเป็นโอกาสให้ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายชายหญิงได้พบปะสังสรรค์กันเพื่อเพิ่มพูลความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างกันแถมยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความสำคัญของสตรีในครอบครัวชนเผ่าไตอีกด้วย./.