ชาวเผ่าเกอตูเรียกพิธีตอบแทนบุญคุณของพ่อตาแม่ยายว่า “pa’đăh” |
ชาวเผ่าเกอตูเรียกพิธีตอบแทนบุญคุณของพ่อตาแม่ยายว่า “pa’đăh” ซึ่งถือเป็นงานแต่งงานครั้งที่ 2 ที่จะจัดขึ้นหลังจากที่สามีภรรยาแยกออกมาสร้างครอบครัวเอง เมื่อชีวิตคู่มีฐานะดีขึ้น ลูกเขยชาวเผ่าเกอตูก็อยากตอบแทนบุญคุณพ่อตาแม่ยายเพราะหลังจากที่แต่งงานกันแล้ว เจ้าสาวจะมีเวลาน้อยในการดูแลพ่อแม่ของตนเพราะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดูแลครอบครัวสามีนั้นจะ แล้วแต่ฐานะทางการเงินของลูกเขย รวมทั้งการเตรียมของขวัญเพื่อมอบให้แก่พ่อตาแม่ยาย ผู้ใหญ่บ้าน บริ๊วโป๊ ชาวเผ่าเกอตูที่อาศัยในตำบลลัง อำเภอเตยยาง จังหวัดกว๋างนาม ได้เผยว่า “ผู้ชายเมื่อแต่งงานและมีลูก 1คนแล้ว ก็จะจัดงานตอบแทนบุญคุณพ่อตาแม่ยาย ซึ่งลูกเขยจะมอบควายหนึ่งตัวให้แก่พ่อตาแม่ยาย ตีกลองและฆ้องตลอดทั้งคืน ส่วนครอบครัวฝ่ายหญิงจะเตรียมอาหารและเครื่องดื่มเพื่อร่วมกับฝ่ายชายตีกลองและฆ้องเป็นเวลา 3 วัน ในพิธีตอบแทนบุญคุณพ่อตาแม่ยาย ชาวบ้านมักจะจัดพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าเพื่อขอให้ครอบครัวประสบความโชคดี มีสุขภาพแข็งแรงและการเก็บเกี่ยวได้ผลดี”
ผู้ใหญ่บ้าน บริ๊วโป๊ ชาวเผ่าเกอตูที่อาศัยในตำบลลัง อำเภอเตยยาง จังหวัดกว๋างนาม |
ในวันแรกของงาน จะมีการเข้าร่วมของสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น ส่วนในวันถัดไป เจ้าของบ้านจะเชิญญาติมิตรและเพื่อนบ้านมาร่วมงาน ถ้าครอบครัวที่มีฐานะดี จะจัดการการรำตุงตุงยาย้าของชนเผ่าเกอตู ถ้าใช้หมูในพิธี pa’đăh งานจะถูกจัดขึ้นเป็นเวลา 1 วันและมีการเข้าร่วมของญาติมิตรของฝ่ายหญิงเท่านั้น ส่วนถ้าหากใช้ควายและวัว พ่อแม่ของเจ้าสาวจะเชิญชาวบ้านมาร่วมงาน ซึ่งงานก็จะจัดขึ้นหลายวัน นาง Bhling Thị Trơu ชาวเผ่าเกอตูจังหวัดกว๋างนาม ได้เผยว่า“ลูกเขยจะนำ ควาย วัว หมู ไก่หรือเป็ดมามอบเพื่อตอบแทนบุญคุณของพ่อตาแม่ยายที่ได้เลี้ยงดูเจ้าสาว วัตถุประสงค์ของพิธีนี้ก็เพื่อสร้างครอบครัวที่มีความสุข”
เอกลักษณ์ของพิธี pă’đăh คือนอกจากการจัดงานเลี้ยงแล้ว ลูกเขยจะเลือกเนื้อส่วนที่อร่อยที่สุดและเหล้ามอบให้แก่ครอบครัวฝ่ายภรรยา ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงน้ำใจและการให้ความเคารพของฝ่ายชายต่อครอบครัวฝ่ายหญิง เมื่อดื่มเหล้าและกินเนื้อหมด ชาวเผ่าเกอตูเชื่อว่า ทั้งสองฝ่ายจะมีความใกล้ชิดและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
จากการที่มีแนวคิด “ถ้าคุณมีชีวิตอยู่ คุณก็จะมีบ้าน ถ้าคุณตาย คุณก็ยังมีบ้าน”ดังนั้น ชาวเผ่าเกอตูจึงไม่มีธรรมเนียมที่ห้ามให้หรือรับโลงศพและสุสาน ดังนั้น poi t'rang หรือโลงศพจึงถือเป็นหนึ่งในสิ่งของที่มีค่าที่สุดในงานตอบแทนบุญคุณพ่อตาแม่ยายของชนเผ่าเกอตู งานตอบแทนบุญคุณของพ่อตาแม่ยายของชนเผ่าเกอตูเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาช้านาน วัตถุประสงค์ของการจัดงานนี้ก็เพื่อให้พ่อแม่อยู่อย่างมีความสุขกับลูกหลานและมีความภาคภูมิใจ นี่ก็เป็นโอกาสเพื่อให้ครอบครัวสองฝ่ายมีโอกาสพบปะกันและส่งเสริมความใกล้ชิดสนิทสนมกันระหว่างสองครอบครัว.