ประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าม้งที่จังหวัดเดียนเบียน

Lan Anh/VOV5
Chia sẻ
VOVworld)-ชนเผ่าม้งที่จังหวัดเดียนเบียนได้อนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าตนอย่างเข้มแข็งผ่านการดำเนินชีวิตในทุกมิติรวมทั้งจากประเพณีการแต่งงานและฤดูใบไม้ผลิถือเป็นฤดูของงานมงคลของหนุ่มสาวเพื่อจะมาอยู่ร่วมกันเป็นฝั่งเป็นฝา


(VOVworld)-ชนเผ่าม้งที่จังหวัดเดียนเบียนได้อนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าตนอย่างเข้มแข็งผ่านการดำเนินชีวิตในทุกมิติรวมทั้งจากประเพณีการแต่งงานและฤดูใบไม้ผลิถือเป็นฤดูของงานมงคลของหนุ่มสาวเพื่อจะมาอยู่ร่วมกันเป็นฝั่งเป็นฝา

ประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าม้งที่จังหวัดเดียนเบียน - ảnh 1

นายหว่างอามัวและนางถ่าวทิวานเป็นสองสามีภรรยาชนเผ่าม้งขาวที่ต.แทงมิง อ.เดียนเบียน โดยในช่วงสุดสัปดาห์นายมัวจะขี่มอเตอร์ไซค์ส่งภรรยาไปตลาดเหมือนตอนที่ยังไม่แต่งงานและทั้งคู่ได้จูงมือกันเดินซื้อของในตลาดอย่างสนุกสนาน เรื่องราวความรักของนายมัวและนางวานไม่เหมือนกับเรื่องของคนรุ่นปู่ย่าตายายในอดีตเพราะได้มาอยู่ร่วมกันด้วยความรักและได้ใช้เวลาเพื่อศึกษานิสัยใจคอกันก่อนแต่งงานนานถึง3ปีนายมัวและนางวานได้เล่าว่า

ผมพบกับภรรยาผมที่เมืองลายเจา ซึ่งเมื่อเจอกันก็รู้สึกชอบแล้วและได้ถามเธอตรงๆเลยว่าจะชอบผมหรือไม่ ตอนนั้นภรรยาผมยิ้มอย่างเดียวซึ่งก็เป็นการยอมรับว่าชอบเราแล้ว ต่อจากนั้นเราทั้งสองก็มีการพบปะพูดคุยกันเป็นประจำทั้งเรื่องประเพณี วิถีชีวิต ครอบครัวและสังคม

พบกันครั้งแรกเราก็รู้สึกชอบกันแล้ว ซึ่งชาวม้งเป็นคนซื่อตรงคิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น เขาก็ถามตรงๆต่อหน้าว่าจะชอบเขาหรือเปล่าดิฉันก็ได้แต่ยิ้มเพื่อแสดงคำตอบ

ประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าม้งที่จังหวัดเดียนเบียน - ảnh 2

ประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าม้งในอดีตยังมีประเพณีการ “จับภรรยา” ที่คนรุ่นอาวุโสต่างๆในชุมชนชาวม้งได้ปฏิบัติกันแต่เดี๋ยวนี้การแต่งงานของชาวม้งได้มีการเปลี่ยนแปลงในบางส่วนที่ถือว่าล้าหลังไม่เหมาะสมแล้ว นายหว่างอาสู่ ที่ต.แทงมิงเผยว่า“ปัจจุบันประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าม้งมีหลายอย่างที่ไม่เหมือนแต่ก่อน เช่นหากหนุ่มสาวชอบพอกันแล้วก็จะมีการหารือกันก่อนและรายงานให้ผู้ใหญ่ทราบ แต่เมื่อก่อนจะไม่บอกใครถ้าชอบสาวคนไหนผู้ชายก็ไปจับมาอยู่ที่บ้านแล้วจะมีการจัดพิธีเรียกวิญญาณภรรยาให้มาอยู่ที่บ้านสามี

นายสู่ยังเผยว่าเมื่อก่อนหนุ่มสาวชาวม้งแต่งงานกันตั้งแต่อายุยังน้อยแต่เดี๋ยวนี้ได้ปฏิบัติตามกฎหมายแล้วคือสำหรับผู้หญิงต้องครบ18ปีและผู้ชาย20ปี แต่ถึงอย่างไรก็ดีแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนแต่พิธีกรรมสำคัญต่างๆก็ยังคงได้รับการสืบต่อเช่น พิธีส่งเจ้าสาวไปที่บ้านเจ้าบ่าวหรือการเลือกวันเวลาที่มีฤกษ์งามยามดีสำหรับการแต่งงาน เป็นต้น“พวกเรามักจะเลือกวันคู่เช่นวันที่2 ที่4 หรือที่6เพราะถือเป็นวันที่มีฤกษ์ดี เพื่อขอให้ครองคู่ครองรักกันไปนานๆซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมานานแล้ว

ประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าม้งที่จังหวัดเดียนเบียน - ảnh 3

สำหรับการจัดงานแต่งงาน พิธีการรับเจ้าสาวเป็นขั้นตอนที่ชาวม้งให้ความสำคัญ โดยการจัดพิธีนี้จะมีขั้นตอนไม่มากแต่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญูและความเคารพต่อบรรพชน เมื่อบ้านไหนมีคนแต่งงานก็จะต้องทำพิธีเซ่นไหว้เพื่อรายงานต่อบรรพบุรุษโดยเครื่องเซ่นมีแค่เนื้อสุกร1ชาม ข้าวสวยหนึ่งถ้วยและเหล้า1แก้ว ในพิธีเจ้าบ่าวกับเจ้าสาวจะใส่ชุดประจำชนเผ่า นายหว่างอามัวเผยว่า“เมื่อถึงบ้านภรรยา แม่ของแฟนก็ได้เตรียมชุดแต่งงานให้คู่รักเพื่อใส่ในระหว่างงาน เมื่อถึงบ้านสามีทางบ้านผมก็เตรียมอีกชุดไว้สำหรับเจ้าบ่าวเจ้าสาวเช่นกันโดยสองชุดจะมีความแตกต่างกันทั้งการออกแบบและสี ซึ่งของผู้ชายเป็นสีขาว ผู้หญิงเป็นสีดำ

ตามประเพณีของชาวม้งในระหว่างการส่งเจ้าสาว ผู้ที่เข้าร่วมขบวนแห่จะมีมื้ออาหารระหว่างทางเพื่อเป็นการรายงานต่อเจ้าที่เจ้าทางว่าฝ่ายชายได้รับเจ้าสาวแล้ว ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงคุ้มครองปกป้องให้ทั้งคู่มีความสุขและโชคดี เมื่อขบวนถึงบ้านฝ่ายชายก็มีการจัดพิธีเซ่นไหว้รายงานต่อบรรพบุรุษของตระกูลว่านับตั้งแต่บัดนี้บ้านจะมีสมาชิกใหม่เพิ่มอีกคนซึ่งหลังพิธีชาวบ้านก็จะมาร่วมแสดงความยินดีกันที่บ้านของเจ้าบ่าว

ประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าม้งที่จังหวัดเดียนเบียน - ảnh 4

ปัจจุบัน ขั้นตอนต่างๆในพิธีแต่งงานของชาวม้งดูเหมือนจะเรียบง่ายกว่าก่อนเพื่อให้สอดคล้องกับชีวิตสมัยใหม่แต่หนุ่มสาวทุกคนก็ยังคงตระหนักถึงการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชนเผ่าตนเพื่อส่งเสริมให้พัฒนาต่อไปควบคู่ไปกับการพัฒนาชีวิตให้มั่นคง ไม่ต้องอดอยากยากจน มีส่วนร่วมสร้างสรรค์ชีวิตวัฒนธรรมใหม่ในท้องถิ่นเขตเขาของประเทศ./.

Komentar