ประเพณีการแต่งงานของชนชาติกิง

Bui Hang/VOV5
Chia sẻ

(VOVworld)- ในชีวิตจิตใจของชาวเวียด พิธีแต่งงานเป็นงานที่สำคัญที่สุดของทุกคนซึ่งการจัดพิธีจะขึ้นอยู่กับประเพณีของแต่ละเขตแต่ละชนเผ่า การแต่งงานก็จะเป็นไปตามเอกลักษณ์ของชนเผ่านั้นๆ ถึงแม้ทุกวันนี้ สังคมได้พัฒนาไปมากแต่ชาวเวียดยังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมเอาไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ สำหรับวันนี้ สีสันวัฒนธรรม54ชนเผ่าเวียดนามจะแนะนำเกี่ยวกับพิธีการต่างๆในการแต่งงานของชาวเวียดทั้งในอดีตและปัจจุบัน



(VOVworld)- ในชีวิตจิตใจของชาวเวียด พิธีแต่งงานเป็นงานที่สำคัญที่สุดของทุกคนซึ่งการจัดพิธีจะขึ้นอยู่กับประเพณีของแต่ละเขตแต่ละชนเผ่า การแต่งงานก็จะเป็นไปตามเอกลักษณ์ของชนเผ่านั้นๆ ถึงแม้ทุกวันนี้ สังคมได้พัฒนาไปมากแต่ชาวเวียดยังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมเอาไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ สำหรับวันนี้ สีสันวัฒนธรรม54ชนเผ่าเวียดนามจะแนะนำเกี่ยวกับพิธีการต่างๆในการแต่งงานของชาวเวียดทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ประเพณีการแต่งงานของชนชาติกิง - ảnh 1
สินสอดทองหมั้น (kienthuc.com.vn)

ตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวเวียดได้ให้ความสำคัญต่องานใหญ่3อย่างที่ต้องทำคือ “ซื้อวัว มีครอบครัวและปลูกเรือน”  ซึ่งนับเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดในชีวิต ดังนั้งการแต่งงานก็จะต้องได้รับการเตรียมพร้อมและจัดขึ้นตามขั้นตอนประเพณีโดยในสมัยก่อนจะมี6พิธีหลักคือพิธีVấn danhคือการพูดคุยทำความรู้จักกับฝ่ายหญิงว่าชื่ออะไร อายุเท่าไหร่ หน้าตาและบุคลิกภาพเป็นอย่างไร เป็นต้น เพราะในสมัยก่อนการคัดเลือกคู่ครองให้แก่ลูกเป็นหน้าที่ของพ่อแม่และผู้ใหญ่  -พิธีหนาบก๊่ต(Nạp cát)คือการสู่ขอ -พิธีหนาบท้าย(Nạp Thái) คือขั้นตอนต่อไปหลังจากได้หารือและตกลงกันแล้วเรื่องการแต่งงานซึ่งเหมือนวัฒนธรรมของจีนคือ ฝ่ายชายจะนำนกนางแอ่นสองตัวมามอบให้ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นการยืนยันคำมั่นเพราะถือว่านกชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์รักเดียวใจเดียว -พิธีหนาบเตะ(Nạp tệ) ก็คล้ายกับพิธีหนาบท้ายคือนำของขวัญที่มีค่ามามอบให้ฝ่ายหญิงเพื่อแสดงความจริงใจในการที่จะรับลูกสาวของเขามาเป็นสะใภ้ -พิธีถิงกี่ (Thỉnh kỳ) คือพิธีการตกลงกฤษ์แต่งงาน -พิธีงิงเทิน(Nghinh thân) คือพิธีแต่งงานรับเจ้าสาว แต่สมัยนี้เพื่อความสะดวกให้แก่ทั้งสองฝ่ายพิธีการต่างๆก็ถูกรวมเข้ากันให้เหลือเพียง3พิธีใหญ่คือ การทาบทามสู่ขอ งานหมั้น และงานแต่งงาน นางหวูทิแทงเติม นักวิจัยวัฒนธรรมเวียดนามแห่งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามเผยว่า ในพิธีทาบทามสู่ขอผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายจะหารือกันเพื่อทำความเข้าใจและตัดสินใจเรื่องการจัดงานแต่งงานให้แก่คู่หนุ่มสาว สิ่งของที่ฝ่ายชายจะนำมามอบเป็นของขวัญในวันนั้นอย่างแรกคือต้องมีขันหมากเล็กๆนอกนั้นก็แล้วแต่อาจจะมีถาดขนมนมเนยหรือผลไม้ด้วยและก็ไม่มีการกำหนดเวลาว่าจากวันสู่ขอถึงวันจัดงานหมั้นต้องห่างกันเท่าไหร่เพราะต้องขึ้นอยู่กับดวงชะตาของคู่บ่าวสาวด้วย โดยการดูฤกษ์แต่งงานก็ต้องเอาวันเดือนปีเกิดและเวลาตกฟากของฝ่ายหญิงมาคำนวณดวงชะตาตามแบบโหราศาสตร์และจะไม่แต่งงานในปีที่เป็นปีชงหรืออยู่ในเกณฑ์ปีกิมเลา(Kim Lâu)ที่มีเลข1-3-6-8

ประเพณีการแต่งงานของชนชาติกิง - ảnh 2
ขบวนขันหมาก

หลังพิธีทาบทามสู่ขอก็ถึงงานหมั้น โดยสินสอดทองหมั้นต้องเตรียมพร้อมตามความต้องการของฝ่ายหญิงซึ่งมักจะมีหมากพลู ชา เหล้า ขนมที่มีชื่อความหมายมงคลคือขนมฟูเท ขนมข้าวเม่า ผลไม้ เป็นต้น โดยจะขึ้นอยู่กับประเพณีของท้องถิ่นนั้นๆ ส่วนขบวนแห่ขันหมากนั้นก็โดยพ่อแม่และผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นญาติมิตรและเพื่อนฝูงติดตาม ผู้ถือขันหมากของฝ่ายชายต้องเป็นหนุ่มหน้าตาดีที่ยังโสดส่วนผู้รับขันหมากของฝ่ายหญิงต้องเป็นสาวๆที่ยังไม่แต่งงาน และส่วนใหญ่เรื่องที่พูดคุยกันในวันหมั้นคือตกลงเรื่องฤกษ์งามยามดีเพื่อรับเจ้าสาว จุดธูปเทียนเพื่อรายงานต่อบรรพบุรุษและแนะนำตัวว่าที่คู่บ่าวสาวให้แก่ญาติมิตรของทั้งสองฝ่าย นางหวูทิแทงเติม นักวิจัยวัฒนธรรมเวียดนามแห่งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามเผยว่าในงานหมั้น ฝ่ายหญิงจะแบ่งสินสอดทุกอย่างไปตั้งบนหิ้งบูชาเพื่อเป็นการรายงานเรื่องมงคลที่สำคัญของลูกหลานต่อบรรพบุรุษ สินสอดนั้นจะถูกแจกให้ญาติมิตรเพื่อนฝูงพร้อมกับบัตรเชิญร่วมงานแต่งงานของฝ่ายหญิง

ประเพณีการแต่งงานของชนชาติกิง - ảnh 3
ขันหมากที่มีหมากพลูร้อยชิ้นซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการใช้ชีวิตเนื้อคู่มานานแสนนานเพื่อขอรับเจ้าสาว(goldenweding.com.vn)

หลังงานหมั้นก็ถึงงานแต่ง ซึ่งโดยรวมแล้วประเพณีการแต่งงานของชาวเวียดดูเหมือนจะมีขั้นตอนไม่มากเท่ากับประเพณีการแต่งงานของคนไทยที่มีทั้งพิธีการกั้นประตูเงินประตูทอง นับสินสอด เชิญขันหมาก ไหว้ผู้ใหญ่ พิธีสวดพระพุทธมนต์ พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และปราสาทพร ตลอดจนการจัดงานเลี้ยงแต่งงาน เป็นต้น ส่วนสำหรับพิธีแต่งงานของชาวเวียดนั้นก่อนขบวนการของฝ่ายชายมารับเจ้าสาวก็จะมีผู้ใหญ่ถือขันหมากเล็กๆที่มีหมากพลูร้อยชิ้นซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการใช้ชีวิตเนื้อคู่มานานแสนนานเพื่อขอรับเจ้าสาวก่อน15นาที ส่วนในขบวนเจ้าบ่าวนั้นจะนำหน้าด้วยผู้อาวุโสในครอบครัว ก่อนรับเจ้าสาวไปจะต้องทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษแล้วถือขันหมากร้อยชิ้นเชิญญาติมิตรทั้งสองฝ่าย สำหรับฤกษ์ยามของขบวนรับส่งเจ้าสาวก็ต้องเป็นไปในกรอบเวลาที่กำหนดและเมื่อถึงเรือนหอของฝ่ายเจ้าบ่าวก็มีพิธีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษด้วยเช่นกัน
มีอย่างหนึ่งในพิธีแต่งงานที่เห็นว่าประเทศในแถบเอเซียได้ทำเหมือนกันคือการเลือกผู้ปูเตียง โดยนอกจากจะมีการตกแต่งเรือนหอและจัดเตียงนอนให้มีความสวยงามแล้ว บุคคลที่ถือว่ามีความสำคัญในพิธีมงคลนี้คือผู้ปูเตียงโดยต้องเป็นคนใจดี ครอบครัวมีความสุขและมีลูกครบทั้งหญิงและชาย อย่างไรก็ดีแล้วแต่ประเพณีของท้องถิ่นและชนเผ่าต่างๆสินสอดและพิธีกรรมที่ต้องปฏิบัติในงานแต่งงานอาจจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย เช่นในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจำนวนผู้ร่วมขบวนรับเจ้าสาวต้องเป็นเลขคู่เพราะมีความหมายของการเป็นคู่ครอง เกี่ยวกับความแตกต่างในพิธีแต่งงานของชาวเวียดในภาคเหนือและภาคใต้ คุณหวอมายเฟือง เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามเผยว่า  ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงนั้น ระหว่างการส่งเจ้าสาวไปที่บ้านเจ้าบ่าวทั้งคู่ต้องจับมือกันให้แน่นห้ามปล่อยไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ตามความเชื่อนั้นหากระหว่างทางหากเจอสิ่งที่ขวางทางหรือมีคนเดินเข้าตรงกลางสองคนก็ให้หลีกเขาไปเพื่อที่จะไม่ต้องแยกจากกัน ส่วนขั้นตอนการเซ่นไหว้บรรพบุรุษและการเชิญแขกเหรื่อดื่นเหล้าดื่มน้ำชาก็เหมือนกับชาวเวียดในภาคเหนือ

ในประเพณีการแต่งงานของชาวเวียดนั้นหลังวันจัดงาน3วันจะมีพิธีหลายหมัด(Lạimặt)หรือการกลับบ้านฝ่ายหญิงเพื่อรับประทานอาหารและแสดงความขอบคุณพ่อตาแม่ยายที่ได้ยกลูกสาวให้ โดยในของขวัญที่นำไปนั้นต้องมีไก่หรือนก1คู่  ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันสังคมมีการพัฒนาและขั้นตอนบางอย่างก็ไม่ยุ่งยากเหมือนแต่ก่อนรวมไปถึงขึ้นอยู่กับประเพณีของแต่ละท้องถิ่นที่ขั้นตอนต่างๆในการจัดงานอาจจะมีความแตกต่างกันบ้างแต่โดยรวมแล้ว ประเพณีที่สำคัญๆยังคงได้รับการรักษาและสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์เพื่อให้วันแต่งงานกลายเป็นช่วงเวลาที่งดงามและมีความหมายที่สุดในชีวิตของทุกคน./.

Komentar