ชนกลุ่มน้อยเซอดังในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน

Vinh Phong /VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) -เซอดังเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในเขตเตยเงวียนยาวนานที่สุดและในกระบวนการพัฒนาชุมชนของตน ชาวเซอดังได้พยายามรักษาวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าตนไว้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นที่สร้างความแตกต่างกับชนเผ่าอื่นๆที่อาศัยในพื้นที่เดียวกัน
ชนกลุ่มน้อยเซอดังในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน - ảnh 1บ้านโรง บ้านกลางของชาวเซอดัง (internet)

ชนกลุ่มน้อยเซอดังมีประชากรประมาณ1แสน7หมื่นคนและอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร ซึ่งเป็นหนึ่งใน6กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากที่สุดในเขตเตยเงวียน  ชุมชนชาวเซอดังส่วนใหญ่อาศัยในจังหวัดกอนตุม มีบางกลุ่มเล็กๆอาศัยในเขตเขาจังหวัดกว๋างหงายและกว๋างนาม อาชีพหลักของชาวเซอดังคือทำไร่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ พร้อมงานหัตถกรรมเพื่อผลิตของใช้ต่างๆคือทอผ้า จักสานและตีเหล็ก วิถีชีวิตในชุมชนชนเผ่าเซอดังมีความผูกพันกับธรรมชาติดังนั้นจะมีการบูชาเทพเจ้าที่ดูแลทุกส่วนของชีวิตและการผลิต

            สำหรับชุดประจำชนเผ่ามักจะเน้นแนวสีดำ โดยผู้ชายใส่ผ้าเตี่ยวที่มีแถบผ้าทั้งด้านหน้าและด้านหลังยาวถึงข้อเท้า  ส่วนชุดของผู้หญิงมีเสื้อแขนกุด กระโปรงและผ้าคลุมไหล่ นอกจากนี้ผู้หญิงยังชอบใส่เครื่องประดับที่เป็นสายคาดแอว กำไลทองแดงหรือเงินที่ข้อมือข้อเท้า ต่างหูและสร้อยคอที่ทำจากเงิน นางเลืองแทงเซิน นักวิจัยชนเผ่าในเตยเงวียนเผยว่า“ชุดแต่งกายของชาวเซอดังนั้นดูคล้ายๆกับชนเผ่าต่างๆในเขตเตยเงวียนแต่มีการปักลวดลายหลากหลายกว่า เมื่อร่วมงานเทศกาลสำคัญ ผู้ชายมักจะมีผ้าพาดบ่าเพิ่มอีกเพื่อให้ดูมีความแข็งแกร่งเหมือนนักรบเมื่อรำประกอบกับผู้หญิงที่มีความอ่อนช้อยก็สร้างเป็นภาพที่งดงาม”

ชนกลุ่มน้อยเซอดังในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน - ảnh 2งานเทศกาลของชาวเซอดัง (internet)

ในวิถีชีวิตของชาวเซอดัง การตั้งชื่อนั้นจะแยกเพศชายกับเพศหญิงตามตัวอักษรนำหน้าเช่น ผู้ชายมักจะมีชื่อที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A หรือ U ส่วนผู้หญิงจะใช้ตัว Y ครอบครัวต่างๆจะอาศัยร่วมกันในบ้านหลังเดียวหลายรุ่น หนุ่มสาวสามารถหาคู่รักได้ตามใจและงานแต่งงานก็จัดขึ้นแบบเรียบง่ายโดยคู่บ่าวสาวจะเลือกมาอยู่ที่บ้านของฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงก็ได้แล้วแต่ความสะดวก ปัจจุบันชาวเซอดังยังคงสามารถรักษาประเพณีวัฒนธรรมพื้นเมืองที่น่าสนใจหลายอย่าง รวมทั้งคลังศิลปะดนตรีพื้นเมืองที่หลากหลายที่สามารถสะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจของแผ่นดินเตยเงวียน  สำหรับดนตรีพื้นเมืองของชาวเซอดังก็ล้วนทำจากไม้ไผ่เช่น พิณกอง พิณตรึง พิณกลองปุต เป็นต้น

            ในด้านงานเทศกาลพื้นเมืองนั้นส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับชีวิตการผลิตเกษตรเช่นงานบุญข้าวใหม่เพื่อขอบคุณเทพแห่งรวงข้าวและข้อพรให้การเก็บเกี่ยวได้ผลดี นาย อาคาว ชาวเซอดังที่ต.ดัคอา อ.หงอกโห่ย จ.กอนตุม เผยว่า มีงานเทศกาลต่างๆรวมทั้งงานบุญข้าวใหม่ที่เมื่อก่อนนี้ชาวเซอดังมักจะจัดในขอบเขตของครอบครัว แต่เดี๋ยวนี้ได้กลายเป็นงานชุมชนโดยผู้ใหญ่บ้านเป็นคนดูแลควบคุมกิจกรรมต่างๆและเป็นตัวแทนของชาวบ้านในการทำพิธีเซ่นไหว้เพื่อขอบคุณฟ้าดินและเทพเจ้าที่คอยปกป้องดูแลให้ชาวบ้านคลาดแคล้วจากภัยร้ายและชีวิตความอิ่มหนำผาสุก“ชนเผ่าเซอดังในแต่ละท้องถิ่นจะมีการประกอบกิจกรรมวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่งานเทศกาลส่วนใหญ่มักจะมีขึ้นในช่วงต้นปีเมื่อเริ่มฤดูกาลต่างๆและมีการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูใหม่ ซึ่งทุกบ้านจะมีการฆ่าหมูจัดงานเลี้ยงเพื่อฉลองกัน

            สำหรับงานชุมชนต่างๆในหมู่บ้านจะมี หย่าหล่าง หรือ ผู้ใหญ่บ้านเป็นคนดูแล ดังนั้นจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือและมีอายุสูง เมื่อมีงานชุมนุมชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่บ้านกลางหรือเรียกว่าบ้านโรงเพื่อหารือและปรึกษารับฟังความเห็นจากผู้ใหญ่บ้านแล้วแบ่งกันทำอย่างเป็นระเบียบ บ้านโรงนั้นไม่เพียงแต่เป็นบ้านกลางที่ใช้จัดประชุม จัดการพบปะสังสรรค์หรือใช้ต้อนรับแขกเหรื่อเท่านั้น หากยังเปรียบเสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของต่างๆที่เกี่ยวข้องถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของชาวเซอดังเช่น ฆ้องและรูปปั้นเพื่อการบูชาบรรพบุรุษ เป็นต้น.

Komentar