นายหล่อเตวียนยุง |
นายหล่อเตวียนยุง นักวิจัยที่มีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนเผ่าไทดำในจังหวัดเอียนบ๊ายเผยว่า "Khau cút" หรือคล้ายกาแล สัญลักษณ์ของคนเผ่าไทดำนั้นมีความหมายสำคัญเป็นพิเศษและเกี่ยวข้องกับตำนานการอพยพครั้งใหญ่ของบรรพชนเผ่าไทดำในอดีต โดยก่อนแยกย้ายจากกันในวันพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวพวกเขาได้นัดกันไว้ว่าเมื่อไปถึงถิ่นใหม่บ้านทุกหลังที่สร้างขึ้นต้องมีสัญลักษณ์ของพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวบนหลังคาเพื่อเป็นสัญลักษณ์รำลึกถึงรากเหง้าและให้คนเผ่าเดียวกันสามารถพบเจอกัน "Khau cút" ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้แบบเหลี่ยมแกะสลักให้มีลวดลาย เป็นส่วนต่อจากปลายบนของช่องปั้นลมเหนือจั่วและอกไก่ โดยไขว้ติดกันเพื่อป้องกันลมและปกป้องคนในครอบครัวให้คลาดแคล้วจากภัยธรรมชาติ โดยจากรูปทรงที่เรียบง่ายด้วยการใช้ไม้ไผ่สองแท่งในตอนแรก ชาวบ้านได้พัฒนาให้มีรูปทรงที่สวยงามและมีชีวิตชีวาต่างๆเช่น รูปเขาควายที่สะท้อนอารยธรรมแห่งข้าวนาดำ โดยที่หายากที่สุดคือ"Khau cút"คำที่ทำจากไม้มีค่าหายาก ถูกแกะสลักเป็นรูปดอกไม้หลายชั้นพร้อมเครื่องหมายของอำนาจคือดาบสองเล่ม แต่"Khau cút" ที่ถือว่าพบเห็นทั่วไปคือรูปดอกไม้โดยบนแท่งไม้จะประดับรูปดอกบัว หรือใบเบอะป่าซึ่งเป็นพืชพันธุ์ที่คุ้นเคยในวิถีชีวิตของคนเผ่าไทดำ สื่อความหมายของความบริสุทธิ์ความละเอียดอ่อนและพลังชีวิตที่เข้มแข็งไม่ว่าจะอยู่ในสภาวกการณ์ใดก็ตาม นาย หล่อเตวียนยุงได้อธิบายเกี่ยวกับ"Khau cút"ใบเบอะว่า"Khau cút"ใบเบอะถือเป็นสัญลักษณ์ของพลังชีวิตที่เข้มแข็งเพราะเป็นพืชที่สามารถทนต่อทุกสภาพอากาศอยู่บนดินหรือบนน้ำก็ขึ้นได้หมด ดังนั้น คนเผ่าไทจึงเลือกถือเป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิต"
"Khau cút"ที่ประดับบนหลังคาเรือนของเผ่าไทดำ |
รูปทรงของ"Khau cút"ที่ประดับบนหลังคาเรือนยังสะท้อนสถานะของครอบครัวเช่นถ้าเป็นคนธรรมดามักจะเป็น"Khau cút"เสี้ยวจันทร์หรือเขาควาย เป็นชนชั้นกลางจะใช้ "Khau cút"ดอกไม้หรือมีลวดลายการแกะสลักที่สวยงามต่างๆ และยิ่งมีลวดลายที่หลากหลายก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าครอบครัวนั้นมีฐานะดี ส่วน"Khau cút"คำเป็นตัวแทนของครอบครัวที่ร่ำรวยมีอำนาจในชุมชน ทั้งนี้ไม่ว่าจะทำจากอะไรหรือมีรูปแบบไหนแต่ที่สำคัญที่สุดคือ"Khau cút"คือสัญลักษณ์เพื่อให้คนเผ่าเดียวกันได้ตามหากันได้ นายหล่อวันเบียน นักวัฒนธรรมชนเผ่าไทที่จังหวัดเอียนบ๊ายเผยว่า" เมื่อเห็นสัญลักษณ์บนหลังคาคนเผ่าไทดำก็สามารถหาชุมชนเผ่าเดียวกันได้ถูก แม้จะใช้นามสกุลเลือง ฮา หล่อ ไม่ว่าจะอยู่ที่จังหวัดเดียนเบียน เซินลาหรือลายโจว์ ก็เป็นเผ่าเดียวกัน"
"Khau cút" มีความหมายในเชิงจิตวิญญาณพิเศษแต่ใช่ว่าคนเผ่าไทดำทุกคนจะเข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งของสัญลักษณ์นี้ได้หมดดังนั้นสำหรับบ้านเรือนของคนสมัยใหม่มักจะไม่เป็นรูปทรงนี้บนหลังคา โดยมีแต่บ้านของผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ที่มีความรู้ด้านวัฒนธรรมของชนเผ่าเท่านั้นถึงจะยังคงใช้ประดับบนหลังคาอยู่เหมือนเดิม ดังนั้น ชาวเผ่าไทดำจึงตระหนักถึงการประชาสัมพันธ์เผยแพร่วัฒนธรรมเพื่อสืบทอดให้คนรุ่นหลังได้สานต่อ
"ผู้สูงอายุและคนที่ศึกษาค้นคว้าถึงจะเข้าใจความหมายแล้วทำ"Khau cút"ประดับบนหลังคาบ้าน ซึ่งถือเป็นตัวอย่างให้คนอื่นๆศึกษาเรียนรู้แล้วปฏิบัติตาม"
"นี่เป็นสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมที่โดดเด่นของชนเผ่าไทดำ ถ้าแต่ละคนตระหนักถึงความหมายที่สำคัญของสิ่งนี้เราก็สามารถส่งเสริมการอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของเผ่าตนได้อย่างมั่นคงถาวร"./.