โอกาสที่เปราะบางในการฟื้นฟูข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับประเทศมหาอำนาจ

Anh Huyen/VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 6 - 9 เมษายน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย คณะกรรมการร่วมว่าด้วยแผนปฏิบัติการร่วมในทุกด้านหรือ JCPOA ได้เริ่มฟื้นฟูการเจรจาเพื่อกอบกู้ข้อตกลงนิวเคลียร์ครั้งประวัติศาสตร์ที่ลงนามเมื่อปี 2015 ระหว่างอิหร่านกับประเทศมหาอำนาจ แต่การฟื้นฟูข้อตกลงก็ไม่สามารถดำเนินได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากขาดการประนีประนอมของทุกฝ่าย
โอกาสที่เปราะบางในการฟื้นฟูข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับประเทศมหาอำนาจ - ảnh 1เมื่อวันที่ 6 เมษายน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย คณะกรรมาการร่วมว่าด้วยแผนปฏิบัติการในทุกด้านหรือJCPOA ได้เริ่มการเจรจาเพื่อกอบกู้ข้อตกลงนิวเคลียร์ครั้งประวัติศาสตร์ที่ลงนามเมื่อปี 2015 ระหว่างอิหร่านกับประเทศมหามหาอำนาจ (THX)

การสร้างมุมมองในเชิงบวกและเป็นไปถูกทิศทางคือความเห็นร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหลังการพบปะ ณ กรุงเวียนนาเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านในตลอด 3 ปีที่ผ่านมา การเคลื่อนไหวใหม่นี้ช่วยเปิดความหวังเกี่ยวกับการฟื้นฟูข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ที่ลงนามเมื่อปี 2015

ความปรารถนาดีของทุกฝ่าย

การที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการเจรจา ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียคือก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาหลังจากความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอิหร่านในบางช่วงมีความตึงเครียดดูเหมือนว่ากำลังใกล้เข้าสู่ภาวะสงคราม

ในเวลาที่ผ่านมา รัสเซีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนีและอังกฤษได้พยายามธำรงข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ปี 2015 อย่างเข้มแข็งด้วยการเสนอนโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆเพื่อโน้มน้าวให้อิหร่านไม่ทำลายคำมั่นในข้อตกลง ซึ่งความพยายามเหล่านี้มีความสะดวกมากขึ้นเมื่อทางการชุดใหม่ของประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน มีแนวโน้มสนทนาเพื่อฟื้นฟูข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับอิหร่าน ดังนั้น ในหลายเดือนที่ผ่านมา ประเทศมหาอำนาจอียูได้เข้าร่วมการเจรจาในเชิงลึกกับทุกฝ่ายที่เข้าร่วมข้อตกลงเพื่อผลักดันการเจรจา และในการประชุมครั้งนี้ สหรัฐได้ตอบรับคำเชิญของผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปเพื่อเข้าร่วมการประชุมของกลุ่มพี5 + 1 กับอิหร่าน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียแต่ไม่ได้พูดคุยกับอิหร่านโดยตรง ในขณะที่ประเทศภาคีในข้อตกลงนี้คือจีน รัสเซีย เยอรมนี ฝรั่งเศสและอังกฤษได้พบปะกับอิหร่านโดยตรง  นอกจากนั้น สหรัฐยังยกเลิกข้อจำกัดที่เข้มงวดที่ออกโดยอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ต่อการเดินทางของเจ้าหน้าที่อิหร่านที่ทำงานในสหประชาชาติหรือเจ้าหน้าที่ของอิหร่านที่ต้องไปเข้าร่วมกิจกรรมในองค์กรระหว่างประเทศ

ถึงแม้ได้มีการประเมินว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมเกี่ยวกับ JCPOA ณ กรุงเวียนนาได้ดำเนินไปถูกทิศทางและมีความเคลื่อนไหวในเชิงบวก แต่ทั้งฝ่ายสหรัฐและอิหร่านต่างก็แสดงความระมัดระวัง ท่าทีที่แข็งกร้าวในถ้อยแถลงต่างๆ โดยเตหะรานได้ประกาศว่า จะไม่เจรจาโดยตรงหรือโดยอ้อมกับสหรัฐถ้าหากยังไม่ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทั้งหมดและเมื่อวันที่ 10 เมษายน อิหร่านได้นำเครื่องหมุนเหวี่ยงเสริมสมรรถภาพยูเรเนียมในอัตราที่เร็วขึ้นหลายเครื่องมาใช้งานซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่แสดงให้เห็นถึงทัศนะที่แข็งกร้าวของอิหร่าน

ในขณะเดียวกัน สหรัฐยังคงยืนกรานคำสั่งคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจนกว่าอิหร่านจะยุติการละเมิดข้อตกลง ถึงแม้วอชิงตันยืนยันว่า การฟื้นฟูการเจรจากับอิหร่านเพื่อฟื้นฟูข้อตกลงนิวเคลียร์และการแสวงหาวิธีการพัฒนาข้อตกลงนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของสหรัฐในตะวันออกกลาง การประชุม ณ ประเทศออสเตรียครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นและจะมีการหารือที่ยากลำบากรออยู่ข้างหน้า

โอกาสที่เปราะบางในการฟื้นฟูข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับประเทศมหาอำนาจ - ảnh 2โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน Saeed Khatibzadeh (IRNA)

โอกาสที่เปราะบาง

JCPOA ได้รับการลงนามโดยอิหร่านและกลุ่มพี5 + 1  ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สหรัฐ จีนและเยอรมนีเมื่อปี 2015 แต่เมื่อปี 2018  ประธานาธิบดีสหรัฐในสมัยนั้นคือนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ถอนสหรัฐออกจากข้อตกลงแต่เพียงฝ่ายเดียวและเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อเตหะราน ซึ่งทางอิหร่านก็ได้ตอบโต้การกระทำดังกล่าวด้วยการลดคำมั่นที่ถูกระบุในข้อตกลง

นับตั้งแต่ขึ้นบริหารประเทศ ทางการของประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการแก้ไขปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านเมื่อเทียบกับทางการของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ โดยนาย โจ ไบเดน ได้แสดงความจำนงที่จะกลับเข้าร่วมข้อตกลง JCPOA ถ้าหากเตหะรานกลับปฏิบัติตามคำมั่นที่ถูกระบุในข้อตกลงอีกครั้ง นอกจากนั้น นาย โจ ไบเดน ยังได้แต่งตั้งทีมการเมืองและความมั่นคงที่เคยเจรจาจนบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านมในสมัยของอดีตประธานาธิบดี บารัค โอบามา นี่เป็นการยืนยันจุดยืนของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ต่อรัฐสภาและพันธมิตรในยุโรปและอิหร่าน 

ในขณะเดียวกัน อิหร่านได้ยืนยันหลายครั้งว่า จะกลับมาปฏิบัติตามคำมั่นในข้อตกลงนิวเคลียร์อย่างสมบูรณ์แต่สหรัฐจะต้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทั้งหมดต่อประเทศนี้ ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวในปัจจุบันได้แสดงให้เห็นว่า ยากที่จะมีก้าวกระโดดในการฟื้นฟูการเจรจาเพื่อกอบกู้ข้อตกลงนิวเคลียร์ แม้ทั้งสหรัฐและอิหร่านต่างก็มีความต้องการที่จะรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015  แต่คำถามคือฝ่ายใดจะเริ่มก่อนหรือมีการประนีประนอมก่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้. /.

Komentar