ภาพการประชุม ณ กรุงฮานอย (vietnamplus) |
กลไกความร่วมมือ CLMV ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2003 ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามเพื่อตอบสนองความต้องการผสมผสานของอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและอาเซียน ความร่วมมือ CLMV เกิดขึ้นจากแนวคิดในการลดช่องว่างการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการผสมผสานของกลุ่มประเทศ CLMV ต่อกระบวนการพัฒนาของภูมิภาค
ความร่วมมือ CLMV มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความได้เปรียบและศักยภาพความร่วมมือที่มีของประเทศภายในกลุ่มอีกทั้งเป็นช่องทางในการเรียกร้องการสนับสนุนจากประเทศอาเซียนอื่น ๆ และหุ้นส่วนพัฒนา ความร่วมมือ CLMV ยังเป็นเวทีสำหรับการประสานจุดยืนและปกป้องผลประโยชน์ของประเทศภายในกลุ่มในกระบวนการเชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียน ตลอดจนระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนอื่น ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี 6 ด้านความร่วมมือของ CLMV ได้แก่ การค้าและการลงทุน การเกษตร อุตสาหกรรมและพลังงาน การเดินทาง การท่องเที่ยวและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19
หนึ่งในเนื้อหาหลักที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจของ 4 ประเทศในกลุ่ม CLMV หารือในการประชุมครั้งนี้คือ แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19 และขั้นตอนต่อไปเพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนและผลักดันความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ CLMV
ปี 2021 ยังคงเป็นปีที่ยากลำบากเนื่องจากความท้าทายมากมายสำหรับประเทศต่างๆในขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงผันผวนอย่างซับซ้อนและมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อต่อไป แต่ถึงกระนั้นก็มีสัญญาณที่น่ายินดีคือถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่การแลกเปลี่ยนการค้าและการลงทุนในภูมิภาค CLMV จะยังคงเติบโตในปี 2020 และในช่วงต้นปี 2021 ซึ่งมีส่วนร่วมต่อการขยายตัวของภูมิภาคอาเซียน นี่คือผลงานที่น่ายินดี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของประเทศต่างๆทั้งในการควบคุมการแพร่ระบาดและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
เพื่อปฏิบัติแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและส่งเสริมการค้าและการลงทุน ผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV บรรดารัฐมนตรีเศรษฐกิจกลุ่ม CLMV ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับนโยบายและมาตรการเพื่อรับมือการแพร่ระบาดและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศตน เสนอมาตรการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนและผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV หนึ่งในมาตรการเหล่านั้นคือกลุ่มประเทศ CLMV จะอำนวยความสะดวกให้แก่กิจกรรมการนำเข้าและส่งออกระหว่างกันต่อไป โดยเฉพาะกิจกรรมด้านศุลกากร ณ จุดผ่านแดน ส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างสถานประกอบการของประเทศ CLMV ในด้านการแปรรูป ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคโดย CLMV เป็นแกนหลัก นอกจากนี้ กลุ่มประเทศ CLMV ยังเห็นพ้องที่จะส่งเสริมความเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนบูรณาการเกี่ยวกับการเชื่อมโยงของอาเซียนจนถึงปี 2025
บรรดาผู้แทนของประเทศต่างๆเข้าร่วมการประชุม (vietnamplus) |
ผลักดันกระบวนการฟื้นตัวเศรษฐกิจของอาเซียน
ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในการผสมผสานของอาเซียนคือการลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV กับประเทศที่เหลือของอาเซียน ในขณะเดียวกัน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคยังคงเปราะบางเนื่องจากกระบวนการเปิดประเทศใหม่ในประเทศสมาชิกประสบปัญหาชะลอตัวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ถึงกระนั้น การค้าและการลงทุนในภูมิภาค CLMV จะยังคงเติบโตในปี 2020 และในช่วงเดือนแรกของปี 2021 ซึ่งมีส่วนร่วมต่อการเติบโตของภูมิภาคอาเซียน ในภาพรวม เศรษฐกิจอาเซียนยังได้รับการประเมินในเชิงบวกและคาดการณ์กันว่า การขยายตัวจีดีพีของภูมิภาคนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 4 ในปี 2021 และร้อยละ 5.2 ในปี 2022
ในเวลาที่ผ่านมา กลุ่มประเทศ CLMV ได้ปฏิบัติแผนปฏิบัติการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ CLMV ประสานงานอย่างใกล้ชิดในกิจกรรมส่งเสริมการค้า เช่น การจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการส่งเสริมการค้าและการลงทุน สนับสนุนสถานประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อมและขนาดจิ๋วผ่านการเชื่อมโยง “B2B matching” หรือการเชื่อมโยงระหว่างสถานประกอบการกับสถานประกอบการ ในสภาวการณ์ที่ภูมิภาคกำลังพยายามฟื้นฟูหลังวิกฤตโควิด-19 บวกกับการให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 การส่งเสริมและธำรงความร่วมมือ CLMV อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปจะช่วยลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกและส่งเสริมกระบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจร่วมกันในอาเซียน.