เรือหลายสิบลำติดอยู่ในทะเลสาบ Oroville ในภาคเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียเนื่องจากน้ำในทะเลสาบแห้งจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (AFP) |
การประชุมระดับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมและพลังงานของกลุ่ม G20 มีขึ้นในระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคมและเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่อาวุโสของเศรษฐกิจชั้นนำของโลกหารือในเชิงลึกเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องสภาพภูมิอากาศและประเทศที่เข้าร่วมได้เห็งพ้องต่อในเนื้อหาที่สำคัญที่มีลักษณะปลุกเร้าความพยายามของโลกในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ผลงานในเชิงบวก
ในการปิดการประชุม บรรดารัฐมนตรีของกลุ่ม G20 ได้ลงนามยืนยันอีกครั้งถึงคำมั่นปฏิบัติตามข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ COP21 และออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้วยเนื้อหาหลัก 3 ประเด็น ได้แก่ การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ การปกป้องธรรมชาติและฟื้นฟูระบบนิเวศด้วยมาตรการอาศัยธรรมชาติ ปกป้องและฟื้นฟูพื้นดิน ปกป้องทรัพยากรน้ำมหาสมุทร และทะเล รวมถึงการป้องกันและลดขยะพลาสติก การใช้แหล่งพลังต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นพัฒนาหน่วยงานสิ่งทอและแฟชั่นแบบยั่งยืน การศึกษาและฝึกอบรม การรับรองความเชื่อมโยงระหว่างความหลากหลายทางชีวภาพกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ดำเนินการด้านการเงินอย่างยั่งยืนโดยเน้นถึงความต้องการทางการเงินเฉพาะสำหรับการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศเพื่อมีส่วนร่วมต่อการกำหนดอนาคตของระบบการเงินโลก
การลงนามยืนยันคำมั่นอีกครั้งที่จะปฏิบัติ COP21 และการออกแถลงการณ์ร่วมด้วยเนื้อหาที่สำคัญดังกล่าวถือเป็นการสานต่อความพยายามระดับโลกในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการส่งเสริมจากเศรษฐกิจชั้นนำของโลกในปี 2021 ซึ่งที่น่าสนใจมากที่สุดคือผลงานในเชิงบวกที่ได้บรรลุในการประชุมสุดยอดเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์โดยสหรัฐเป็นประธาน ซึ่งมีขึ้นเมื่อ 3 เดือนก่อนคือในระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2021
ในการกล่าวปราศรัยหลังการประชุม นาย โรแบร์โต ซิงโกลานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของอิตาลีได้ประเมินว่า แถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอด G20 เป็นผลงานที่สะท้อนความทะเยอทะยานเป็นพิเศษ" เมื่อมีการยืนยันว่า "นี่เป็นครั้งแรกที่เนื้อหาต่างๆดังกล่าวถูกบันทึกเป็นตัวอักษรที่ละเอียดชัดเจนและมีข้อผูกมัดต่อประเทศที่มีส่วนร่วมร้อยละ 80 ต่อจีดีพีของโลก แต่ก็เป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนมากถึงร้อยละ 85 ของโลก" ดังนั้นการเร่งผลักดันปฏิบัติการเพื่อสภาพภูมิอากาศในทุกระดับ ตลอดจนความพยายามในการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกของกลุ่ม G20 นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายในการจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5-2 องศาเซลเซียส และค้ำประกันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและสามารถในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลังวิกฤตการระบาดใหญ่ทั่วโลก
การประชุมพิเศษระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับสภาพอากาศ ณ เมืองนาโปลี ประเทศอิตาลี (aa.com.tr) |
ความท้าทายยังคงมีอยู่
ถึงแม้ได้พยายามลดความแตกต่างกัน แต่การประชุม ณ เมืองนาโปลีก็ยังไม่สามารถบรรลุเสียงพูดเดียวกันเกี่ยวกับเป้าหมายในการควบคุมอุณหภูมิโลก โดยเฉพาะปัญหาการลดการทำเหมืองถ่านหินซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาที่สร้างความขัดแย้งที่ใหญ่ที่สุดระหว่างสหรัฐ ญี่ปุ่นและประเทศในยุโรปกับจีน รัสเซียและอินเดียจนทำให้ในแถลงการณ์ร่วมไม่ได้มีคำมั่นที่จะปรับลดการทำเหมืองและใช้ถ่านหิน ส่วนประเด็นการลดปริมาณการการผลิตปิโตรเลียมก็ยังไม่สามารถบรรลุเสียงพูดเดียวกันในการประชุมเนื่องจากการคัดค้านจากประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน
ก่อนการประชุม รายงานอิสระระหว่างประเทศหลายฉบับระบุว่า กลุ่ม G20 ได้สนับสนุนเงินกว่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลนับตั้งแต่ COP21 ได้รับการลงนามเมื่อปี 2015 ซึ่งประเทศสมาชิก G20 เกือบทั้งหมดยังคงให้การสนับสนุนทางการเงินในระดับสูงรวมถึงมีบางประเทศสนับสนุนมากถึงร้อยละ40-50 สำหรับการผลิตและการใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงฟอสซิล
จากสถานการณ์ที่เป็นจริงนี้ บรรดานักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นว่า ยังมีส่วนงานอีกมากที่ต้องทำและประเทศต่างๆต้องพยายามมากขึ้นตั้งแต่บัดนี้จนถึงการประชุมสุดยอดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติหรือ COP26 ที่จะจัดขึ้น ณ ประเทศสกอตแลนด์ในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ เหตุการณ์นี้เป็นเส้นตายสำหรับเกือบ 200 ประเทศและดินแดนในการปรับปรุงคำมั่นเกี่ยวกับสภาพอากาศในกรอบ COP21
ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม นาย อันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้เรียกร้องให้บรรดาผู้นำของกลุ่ม G20 มีปฏิบัติการในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระดับโลก และโลกต้องมีคำมั่นที่ชัดเจนของทุกประเทศกลุ่ม G20 ในการบรรลุเป้าหมายในการธำรงอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสภายในสิ้นทศวรรษนี้./.