เวียดนามเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นในกลไกความร่วมมือของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง

Anh Huyen
Chia sẻ
(VOVWORLD) - วันที่ 5 เมษายน นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง พร้อมนายกรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงหรือ MRC ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว ไทยและเวียดนาม ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ในฐานะประเทศสมาชิกที่มีความกระตือรือร้นของ MRC และได้รับประโยชน์โดยตรงจากแม่น้ำโขง เวียดนามได้มีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมและปฏิบัติตามข้อตกลงแม่น้ำโขงปี 1995 อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้เรียกร้องการสนับสนุนและการช่วยเหลือของประชาคมระหว่างประเทศต่อภูมิภาค
เวียดนามเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นในกลไกความร่วมมือของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง - ảnh 1นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง กับนายกรัฐมนตรีลาว  Sonexay Siphandone (VGP)

การประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงหรือ MRC ครั้งที่ 4 เป็นกิจกรรมการเมืองระดับสูงของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เป็นการยืนยันถึงบทบาทที่สำคัญของ MRC  กระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก ดึงดูดความสนใจและการสนับสนุนจากองค์การทั้งในระดับภูมิภาคและโลก หุ้นส่วนสนทนา หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาและบรรดาผู้สนับสนุน

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง-ฟอรั่มเกี่ยวกับการทูตว่าด้วยเรื่องน้ำและความร่วมมือระดับภูมิภาค

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงได้รับการก่อตั้งตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 5 เมษายนปี 1995 ระหว่างลาว ไทย กัมพูชาและเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการใช้ประโยชน์ การพัฒนา การปกป้องแหล่งน้ำและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน

ในกรอบความร่วมมือเกี่ยวกับลุ่มแม่น้ำโขงในปัจจุบัน MRC เป็นองค์กรเดียวที่มีหน้าที่จัดทำกรอบทางนิตินัย รวมถึงข้อบังคับต่อประเทศสมาชิกเกี่ยวกับการแบ่งปันทรัพยากรน้ำอย่างเท่าเทียมกันและเหมาะสม ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศของลุ่มน้ำนอกเหนือจากการส่งเสริมโครงการพัฒนาร่วมกัน ในตลอดเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา จากการสนับสนุนทางการเงินอย่างเข้มแข็งของประเทศสมาชิก ผู้สนับสนุนและองค์กรระหว่างประเทศ MRC ได้บรรลุผลงานที่น่ายินดี มีส่วนร่วมต่อการส่งเสริมการพัฒนาในประเทศสมาชิก ผลักดันความร่วมมือในเขตลุ่มแม่น้ำโขงในหลายด้าน เช่น การจัดทำข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้น้ำ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเชื่อมโยงการขนส่งทางน้ำ การผลิตเกษตร สัตว์น้ำและการขยายความร่วมมือกับสองประเทศในเขตแม่น้ำโขงตอนบน ได้แก่ จีนและเมียนมาร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นหุ้นส่วนสนทนาของ MRC หุ้นส่วนพัฒนา บรรดาผู้สนับสนุนและหุ้นส่วนระหว่างประเทศต่างๆ

ดังนั้น กิจกรรมของ MRC ไม่เพียงแต่มีความหมายสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกเท่านั้น หากยังช่วยกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศในเขตลุ่มน้ำอีกด้วย

เวียดนามเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นในกลไกความร่วมมือของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง - ảnh 2นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง เข้าร่วมการประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงหรือ MRC (VGP)

ส่วนร่วมของเวียดนามในผลสำเร็จของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง

ในฐานะประเทศในเขตแม่น้ำโขงตอนล่างและได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้นจากกิจกรรมการพัฒนาในเขตแม่น้ำโขงตอนบนบวกกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เวียดนามได้กำหนดว่า ความร่วมมือในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงคือกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคที่มีพื้นฐานทางนิตินัยที่เข้มงวดมากที่สุด มีโครงสร้างกลไกที่มั่นคงในระยะยาว และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ นี่เป็นกลไกความร่วมมือเต็มรูปแบบด้านทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำโขงเพียงกลไกเดียวที่มีอยู่ในขณะนี้ของภูมิภาค

การประชุมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงยังถือเป็นเวทีระดับภูมิภาคที่สำคัญที่สุด ซึ่งช่วยให้เวียดนามปกป้องทรัพยากรน้ำและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและความมั่นคงด้านแหล่งน้ำของประเทศต่างๆ ดังนั้น เวียดนามกำหนดว่า จะเป็นตัวอย่างและเป็นผู้เดินหน้าในกลไกความร่วมมือนี้ในระยะยาว เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติตามข้อตกลงแม่น้ำโขงปี 1995 อย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติตามข้อกำหนดขององค์กรจนถึงขณะนี้ เวียดนามได้แสดงให้เห็นถึงคำมั่นทางการเมืองและบทบาทของประเทศสมาชิกที่กระตือรือร้นและเข้าร่วมกิจกรรมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในทุกระดับและทุกเวที ผ่านข้อคิดริเริ่ม การสนับสนุน การส่งเสริมและการมีส่วนร่วมที่เป็นก้าวกระโดดในด้านการเงิน ข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญ เวียดนามยังเป็นประเทศสมาชิกที่เดินหน้าในความพยายามเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ สถานะและความสำคัญของความร่วมมือในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงบนเวทีระหว่างประเทศและพหุภาคี ให้ความสำคัญต่อจิตใจแห่งความสามัคคีและความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขง มีส่วนร่วมต่อการส่งเสริมเสถียรภาพและความร่วมมือในภูมิภาค ให้ความสนใจถึงผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของทุกประเทศของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศในเขตแม่น้ำโขงตอนบนคือจีนและเมียนมาร์

เวียดนามเข้าร่วมการประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงครั้งที่ 4 ในสภาวการณ์ที่รัฐบาลได้อนุมัติการวางผังเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในช่วงปี 2021-2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2050 โดยในการประชุม นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้หารือกับผู้นำของคณะกรรมาธิการฯเกี่ยวกับอุปสรรคและความท้าทาย ตลอดจนโอกาสต่อการพัฒนาของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งของเขตลุ่มแม่น้ำโขง และแนวทางที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการพัฒนาเขตลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน.

Komentar