ค่างแว่นถิ่นเหนืออาศัยที่แหลมเซินจ่า นครดานัง (Photo: หนังสือพิมพ์เญินเยิน) |
ตามรายงานล่าสุดของโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO ระบบนิเวศของโลกกำลังต้องเผชิญกับภัยคุกคามใหญ่ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ปัญหามลภาวะในแม่น้ำ ภาวะภัยแล้งในพื้นที่ชุ่มน้ำและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางทะเล เป็นต้น
การเป็นฝ่ายรุกในการปฏิบัติเป้าหมายร่วมระหว่างประเทศ
ที่เวียดนาม ตามรายงานของกรมอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพสังกัดทบวงสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม นอกจากการที่พื้นที่ป่าดงดิบลดลงแล้ว พืชและสัตว์ป่าที่มีค่าหายากก็ลดลงเป็นอย่างมากเช่นกัน จากสถานการณ์ดังกล่าวและการกำหนดให้งานด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพต้องได้รับการปฏิบัติในขอบเขตทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในระดับแต่ละประเทศเท่านั้น เวียดนามได้เป็นฝ่ายรุกในการปฏิบัติเป้าหมายการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของโลกผ่านการจัดทำกลไกและนโยบายใหม่ ปฏิบัติยุทธศาสตร์ แผนการและโครงการอนุรักษ์และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ การฟื้นฟูระบบนิเวศของป่า ทะเล พื้นที่ชุ่มน้ำ การอนุรักษ์แหล่งยีนของพันธุ์สัตว์และพืชชนิดต่างๆ ดอกเตอร์ เหงวียนวันต่าย อธิบดีทบวงสิ่งแวดล้อมได้แสดงความเห็นว่า
“ ความหลากหลายทางชีวภาพของเวียดนามเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพโลก ดังนั้น ต้องการประสานงานระหว่างประเทศ โดยเฉพาะระหว่างเวียดนามกับประเทศต่างๆเพื่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ต้องมีความร่วมแรงร่วมใจขององค์การระหว่างประเทศ ประชาชน ทางการทุกระดับ นักวิทยาศาสตร์และฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประสานงานระหว่างกระทรวง หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ส่วนกลางจนถึงส่วนท้องถิ่น”
การป้องกันการล่าสัตว์ป่าเป็น 1 ในมาตรการฟื้นฟูระบบนิเวศ (Photo: TTXVN) |
เริ่มทศวรรษเกี่ยวกับการฟื้นฟูระบบนิเวศ
ในเวลาที่ผ่านมา ตามแนวทางของอนุสัญญาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพที่เวียดนามเข้าร่วม เวียดนามได้สร้างสรรค์ระบบสำนักงานที่บริหาร จัดทำกรอบนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดตั้งระบบเขตอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่หายากและอนุมัติโครงการปฏิบัติงานต่างๆ นอกจากนี้ การตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญและบทบาทของความหลากหลายทางชีวภาพต่อชีวิตความเป็นอยู่และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนนับวันได้รับการยกระดับ
ปี 2021 เป็นปีแรกของทศวรรษการฟื้นฟูระบบนิเวศในช่วงปี 2021 -2030 ที่สหประชาชาติกำหนดและเป็นเส้นตายของการปฏิบัติเป้าหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติระเบียบวาระการประชุมปี 2030เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อขานรับเป้าหมายดังกล่าวของสหประชาชาติ เวียดนามได้จัดทำยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพจนถึงปี 2030 และแนวทางจนถึงปี 2040 โดยเน้นจัดทำระบบนโยบายและเอกสารทางนิตินัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ นาง หว่างถิแทงหย่าน รองอธิบดีกรมการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพสังกัดทบวงสิ่งแวดล้อมได้เผยว่า
“ ในกระบวนการเตรียมความพร้อมนี้ ต้องพิจารณาความต้องการของกรอบโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโลก 2030 เพื่อปฏิบัติประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆผ่านปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเงื่อนไขของเวียดนาม นอกจากการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว คุณค่าของธรรมชาติเวียดนามก็มีส่วนร่วมต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในโลก”
อาจกล่าวได้ว่า ความหลากหลายทางชีวภาพนำผลประโยชน์มาสู่มนุษย์โดยตรงและมีส่วนร่วมที่ยิ่งใหญ่ต่อเศรษฐกิจของประเทศ เวียดนามกำลังพยายามบริหารและทำการตรวจสอบเพื่อใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน.