เวียดนามยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน

Vân + Tùng
Chia sẻ
(VOVWORLD) - การปฏิรูปขั้นพื้นฐานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของดัชนีบรรยากาศการประกอบธุรกิจและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจคือหนึ่งในมาตรการของรัฐบาลเพื่อปฏิบัติเป้าหมาย หน้าที่และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมปี 2018 ให้ลุล่วง ซึ่งจากแนวทางดังกล่าว รัฐบาลเวียดนามได้ผลักดันการปฏิบัติมาตรการต่างๆอย่างต่อเนื่อง ส่วนประชาคมระหว่างประเทศก็ได้รับทราบถึงความพยายามของเวียดนามในการปฏิรูปและการส่งเสริมปัจจัยที่เอื้อให้แก่การขยายตัวระยะยาว แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาต่างๆที่ต้องได้รับการแก้ไขต่อไปเพื่อค้ำประกันการพัฒนาอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
เวียดนามยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน - ảnh 1นาย Justin Wood ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของฟอรั่มเศรษฐกิจโลก หรือ WEF (เว็บไซต์ของกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม ) 

ฟอรั่มเศรษฐกิจโลก หรือ WEF ได้ประเมินว่า เวียดนามมีก้าวพัฒนาที่น่าชื่นชมในด้านเทคโนโลยีและการสร้างประสิทธิผลของตลาดแรงงาน ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอื่นๆได้ให้ข้อสังเกตว่า กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆของเวียดนามกำลังปฏิบัติมาตรการปรับปรุงบรรยากาศการประกอบธุรกิจเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างเข้มแข็ง

การประเมินที่เข้มแข็ง

หอการค้ายุโรปประจำเวียดนาม หรือ EuroCham ได้ชื่นชมบทบาทของรัฐบาลเวียดนามในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เข้มแข็งและชัดเจนของบรรยากาศการประกอบธุรกิจ การเข้าถึงปัญหาต่างๆอย่างสร้างสรรค์และเปิดเผยผ่านการเชิดชูบทบาทที่สำคัญของสถานประกอบการและถือสถานประกอบการเป็นหุ้นส่วนในการส่งเสริมการค้า การลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่วนทางการปกครองท้องถิ่นได้ทำการปฏิรูปในด้านต่างๆเพื่อสนับสนุนสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมพัฒนาธุรกิจ  กระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงวางแผนและการลงทุน กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมได้ผลักดันการปฏิรูประเบียบราชการต่อไปและยกเลิกเงื่อนไขการประกอบธุรกิจที่ไม่จำเป็นตามกฎหมายการลงทุน นาย Nicolas Audier ประธาน EuroCham ประจำเวียดนามได้เผยว่า การสร้างสรรค์และปรับปรุงระบบกฎหมายในเวียดนามกำลังประสบผลที่น่ายินดี “จากนโยบายให้สิทธิพิเศษแก่นักลงทุน ต้นทุนการผลิตที่สามารถแข่งขันได้ ศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ชนชั้นกลางมีการพัฒนา แรงงานนับวันมีทักษะความสามารถเพิ่มสูงขึ้นและสถานะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามถือเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติ”

ส่วนนาย Justin Wood ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของฟอรั่มเศรษฐกิจโลก หรือ WEF ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับจุดแข็งของเวียดนามว่า “จากสถานการณ์การประกอบธุรกิจในเวียดนามก็สามารถมองเห็นถึงความคืบหน้าผ่านดัชนีต่างๆที่ถูกระบุในรายงานประจำปีต่างๆ ซึ่งนอกเหนือจากผลการวิจัยของ WEF ธนาคารโลก ก็จัดทำรายงานที่ระบุถึงความคืบหน้าของเวียดนามในการปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและประกอบธุรกิจ การปฏิรูประเบียบราชการในด้านศุลกากร ภาษี การส่งออกนำเข้าและการจดทะเบียนประกอบธุรกิจ”

ความท้าทายต่างๆ

ถึงแม้ขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจเวียดนามได้รับการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เวียดนามต้องแก้ไขปัญหาที่คั่งค้างที่ขัดขวางกระบวนการพัฒนาก้าวรุดหน้าไปในระดับที่สูงกว่าในระบบห่วงโซ่คุณค่าโลก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือปัญหาดัชนีการเปลี่ยนแปลงใหม่และความคิดสร้างสรรค์ การลงทุนเพื่อการวิจัยและการพัฒนา และการจดสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นยังมีไม่มาก  ซึ่งเป็นอุปสรรคในการผลักดันการผสมผสานและเข้าร่วมกระบวนการโลกาภิวัตน์ของเวียดนาม โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ คุณภาพและโครงสร้างของแรงงานในเวียดนาม ซึ่งสะท้อนอุปสรรคของสถานประกอบการในการจ้างแรงงานที่เหมาะสมและความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนงานทำของแรงงานจนส่งผลกระทบในทางลบต่อการรับมือและการขยายตัวของเศรษฐกิจ นาย Tomaso Andreatta ประธานสหภาพฟอรั่มสถานประกอบการเวียดนามได้เสนอว่า“มาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือต้องยกระดับความรู้และทักษะความสามารถให้แก่แรงงานเพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 และขยายผลรูปแบบบริษัทฝึกสอนอาชีพอิสระ ประเทศที่ประสบความสำเร็จล้วนเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่พัฒนา ซึ่งเวียดนามก็ต้องทำการปฏิรูประบบการศึกษาต่อไป”

ทั้งนี้ สามารถยืนยันได้ว่า ความพยายามของรัฐบาล กระทรวงและหน่วยงานต่างๆในการปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจในเวลาที่ผ่านมานั้นได้บรรลุผลที่เป็นรูปธรรม แต่อย่างไรก็ตาม นี่เป็นกระบวนการที่ต้องปฏิบัติในระยะยาวและต่อเนื่องเพื่อมีส่วนช่วยให้เวียดนามปฏิบัติเป้าหมายผลักดันการขยายตัวและพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ประสบความสำเร็จ.

Komentar