ภาพพิธีเปิดการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 43 (VNA) |
การประชุมผู้นำอาเซียนกับหุ้นส่วนเป็นกรอบความร่วมมือทวิภาคีนอกกลุ่มที่ได้รับการจัดตั้งเร็วที่สุดของอาเซียน โดยกลไกความร่วมมืออาเซียน+ได้นำมาซึ่งผลประโยชน์มากมายให้แก่ทั้งอาเซียนและหุ้นส่วนต่างๆ
กลไกความร่วมมืออาเซียน+เป็นความคิดริเริ่มของอาเซียน
อาเซียนได้ตระหนักดีถึงความสำคัญของประเทศใหญ่ๆ หุ้นส่วนต่างๆทั้งภายในและนอกภูมิภาค โดยได้พยายามสถาปนาความสัมพันธ์กับประเทศใหญ่ๆและหุ้นส่วนต่างๆในหลายรูปแบบ อีกทั้งปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศใหญ่ๆเพื่อผลประโยชน์ของอาเซียน ซึ่งเพื่อปฏิบัติเป้าหมายนี้ อาเซียนได้จัดทำกลไกความร่วมมือคู่สนทนา หรือ อาเซียน+เพื่อขยายความสัมพันธ์กับประเทศใหญ่ๆ หุ้นส่วนทั้งภายในและนอกภูมิภาคตามความต้องการของอาเซียนและสถานการณ์ของหุ้นส่วน
ในทางเป็นจริง กลไกคู่สนทนาคือวิธีการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับประเทศใหญ่ๆและหุ้นส่วนผ่านการสนทนาและความร่วมมือในระดับต่างๆเพื่อขยายความไว้วางใจและความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันแทนการใช้ หรือ ข่มขู่ที่จะใช้กำลัง ซึ่งนี่เป็นนิมิตหมายพิเศษของอาเซียน
ปัจจุบัน อาเซียนมีกลไกคู่สนทนา หรือ อาเซียน+1กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐ แคนาดา สหภาพยุโรป หรือ อียูและอังกฤษ ซึ่งได้จัดตั้งกลไกความร่วมมือนี้ตั้งแต่ปี 1970 และผ่านกลไกนี้ อาเซียนไม่เพียงแต่ดำเนินการสนทนากับประเทศใหญ่ๆอย่างเท่าเทียมกันเท่านั้น หากยังแสวงหาแหล่งพลังต่างๆเพื่อการพัฒนาในทุกด้าน เช่น การค้า การลงทุน การพัฒนาแหล่งบุคลากร วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การศึกษาและการช่วยเหลือด้านเทคนิค เป็นต้น
นอกจากนี้ อาเซียนยังมีกลไกการสนทนาและความร่วมมือกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี หรือ อาเซียน+3 ซึ่งได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 1997เพื่อช่วยเหลืออาเซียนในการปรับปรุงภาคการเงิน ธนาคารและฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตการเงิน หรือ วิกฤตต้มยํากุ้ง ส่วนกลไกการประชุมผู้นำเอเชียตะวันออก หรือ EAS ฟอรั่มความมั่นคงในภูมิภาค หรือ ARF ความร่วมมือด้านกลาโหมอาเซียนขยายวงมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนประเทศใหญ่ๆทั้งภายในและนอกภูมิภาคมาหารือและมีส่วนร่วมต่อสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาในภูมิภาคและโลก
ธำรงบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในปัญหาระหว่างประเทศ
ภาพการประชุมครบองค์ผู้นำอาเซียนครั้งที่ 43 (VNA) |
ในกระบวนการพัฒนาของอาเซียนในหลายสิบปีที่ผ่านมา การขยายการสนทนา ความร่วมมือและการจัดตั้งกรอบความร่วมมือต่างๆเพื่อแสดงทัศนะทำให้อาเซียนมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในการแก้ไขการปะทะ ปัญหาความมั่นคง ความร่วมมือและการพัฒนาในภูมิภาคและโลก ซึ่งปัจจุบัน มี 86 ประเทศนอกอาเซียนส่งเอกอัครราชทูตไปประจำอาเซียน โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆได้แสดงความประสงค์ว่า อาเซียนจะส่งเสริมบทบาทเป็นศูนย์กลางในกลไกความร่วมมือในภูมิภาค
ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 43 ที่กำลังมีขึ้น ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกมีความผันผวนอย่างซับซ้อน บรรดาผู้นำอาเซียนได้ยืนยันอีกครั้งถึงความสามัคคี ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้อาเซียนสามารถฟันฝ่าอุปสรรคและความท้าทายต่างๆ รวมถึงการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์เพื่อยืนยันถึงบทบาทเป็นศูนย์กลางในโครงสร้างของภูมิภาค
ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างประเทศใหญ่ๆ เพื่อธำรงบทบาทเป็นศูนย์กลาง อาเซียนต้องส่งเสริมพลังภายใน เสริมสร้างความสามัคคีภายในกลุ่มเพื่อยืนยันถึงคุณค่าเชิงยุทธศาสตร์ ประเทศสมาชิกอาเซียนควรเชิดชูจิตใจแห่งเอกราช การพึ่งตนเอง การให้ความเคารพกฎหมาย ยืนหยัดหลักการขั้นพื้นฐานและหลักปฏิบัติต่อกันของอาเซียน ธำรงความสมดุลเชิงยุทธศาสตร์กับประเทศใหญ่ๆเพื่อเป็นสะพานเชื่อมที่น่าไว้วางใจ สร้างความกลมกลืนระหว่างความสัมพันธ์กับผลประโยชน์ ยืนหยัดเป้าหมายสร้างสรรค์โครงสร้างภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส ครอบคลุม โดยเฉพาะธำรงจุดยืนและหลักการของกลุ่มในปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ความมั่นคงและการพัฒนาของภูมิภาค.