(Reuters) |
รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ไมค์ ปอมเปโอ ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนอิหร่านต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในนครนิวยอร์คเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมว่า อิหร่านไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนิวเคลียร์ถึงแม้สหรัฐได้ถอนตัวออกจากข้อตกลงฉบับนี้เมื่อปี 2018 ซึ่งถือเป็นก้าวเดินทางนิตินัยครั้งแรกของสหรัฐในความพยายามเริ่มฟื้นฟูกลไกการคว่ำบาตรอิหร่านอีกครั้ง
ความพยายามแต่เพียงฝ่ายเดียว
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับกรอบเวลายุติการคว่ำบาตรด้านอาวุธต่ออิหร่านในมติ 2231 เกี่ยวกับการสนับสนุนข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี 5+1 ประกอบด้วย สหรัฐ รัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนี ซึ่งเรียกว่า แผนปฏิบัติการร่วมในทุกด้านหรือ JCPOA ตามข้อกำหนดนี้ คำสั่งคว่ำบาตรของสหประชาชาติมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 13 ปี โดยห้ามส่งออกระบบขับเคลื่อนอาวุธนิวเคลียร์ไปยังอิหร่าน ห้ามอิหร่านส่งออกอาวุธและห้ามประเทศต่างๆขายอาวุธให้แก่อิหร่าน ซึ่งคำสั่งคว่ำบาตรนี้จะหมดอายุในวันที่ 18 ตุลาคมนี้ ดังนั้น ทางการสหรัฐจึงได้จัดทำร่างมติเพื่อขยายระยะเวลาคว่ำบาตรนี้ออกไปอย่างไม่มีกำหนดเพื่อใช้แทนมติฉบับเก่า
แต่อย่างไรก็ตาม ผลการลงคะแนนในการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้แสดงให้เห็นว่า วอชิงตันไม่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ นอกเหนือจาก 1 คะแนนสนับสนุนของสาธารณรัฐโดมินิกัน ส่วนรัสเซียและจีนได้ลงคะแนนคัดค้าน ในขณะที่ 11 ประเทศสมาชิกที่เหลือได้งดออกเสียง ทำให้ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศว่า จะใช้กลไกที่เรียกว่า “sapback”ใน JCPOA เพียงฝ่ายเดียวเพื่อฟื้นมาตรการคว่ำบาตรที่บังคับใช้ต่ออิหร่านกลับมาใช้อีกรอบ
ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ ถึงแม้สหรัฐได้ถอนตัวออกจาก JCPOA ตั้งแต่ปี 2018 แต่ก็ยังคงมีพื้นฐานทางนิตินัยเพื่อขยายระยะเวลาคว่ำบาตรอิหร่าน เพราะตามมติฉบับนี้ ฝ่ายที่เป็นภาคีในข้อตกลงมีสิทธิ์เปิดโปงอีกฝ่ายที่ไม่ให้ความเคารพคำมั่นต่างๆ แต่การตัดสินใจของสหรัฐได้สร้างความแตกแยกที่ยากแก้ไขกับพันธมิตรในอีกฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก โดยพันธมิตรยุโรปได้แสดงความเห็นว่า ถึงแม้สหรัฐเป็นผู้ที่ขึ้นไกปืนในปัญหานี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า กระสุนจะถูกยิงออกไปจริงๆ และใช่ว่า เป็นสิ่งที่สหรัฐอยากให้ประชาคมโลกต้องปฏิบัติตาม
ประธานาธิบีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ (AP) |
จุดจบของข้อตกลงด้านนิวเคลียร์?
เป้าหมายในการประกาศใช้กลไกฝ่ายเดียวเพื่อฟื้นฟูทุกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐนั้นมีเป้าประสงค์เพื่อสกัดกั้น ไม่ให้อิหร่านเข้าถึงอาวุธที่ทันสมัยหลังจากมาตรการคว่ำบาตรหมดอายุ แต่อันที่จริง สิ่งนี้ยิ่งทำให้ความขัดแย้งที่มีอยู่ระหว่างวอชิงตันกับเตหะรานนั้นรุนแรงมากขึ้น โดยนอกจากถือความล้มเหลวของสหรัฐในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็นชัยชนะทางการเมืองของอิหร่านและเป็นความพ่ายแพ้ของสหรัฐในด้านนิตินัยและการเมืองเท่านั้น อิหร่านยังเพิ่มการกระทำที่ยั่วยุอีกด้วย โดยถึงแม้สหรัฐจะมีข้อเรียกร้องให้อิหร่านต้องยุติโครงการขีปนาวุธ แต่เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม อิหร่านได้เปิดตัวขีปนาวุธรุ่นใหม่ที่มีพิสัยการยิง 1,400 กิโลเมตรและ 1,000 กิโลเมตรซึ่งประธานาธิบดีอิหร่าน ฮัสซัน โรฮานี ได้แสดงความเห็นว่า ความแข็งแกร่งในการป้องกันตัวเองของอิหร่านจะเอื้อประโยชน์ให้แก่พันธมิตร
ท่าทีของสหรัฐยังสร้างการถกเถียงในหลายวันที่ผ่านมา ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์มองว่า การที่สหรัฐขู่ว่า จะคว่ำบาตรอิหร่านแต่เพียงฝ่ายเดียวนั้นจะทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตกเข้าสู่วิกฤตการทูตที่รุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน และอาจทำให้ข้อตกลงนิวเคลียร์นี้ล้มเหลว ท่าทีล่าสุดของทางการประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ถูกมองว่า จะยิ่งเป็นการเพิ่มช่องว่างระหว่างสหรัฐกับพันธมิตรตะวันตกที่สนับสนุนการปฏิบัติข้อตกลง JCPOA
จากสถานการณ์ความตึงเครียดในปัจจุบัน ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน ได้เรียกร้องให้จัดการประชุมเกี่ยวกับอิหร่านเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการทวีความตึงเครียดในเขตอ่าว ขณะนี้ ยังไม่ทราบว่า ความพยายามทางการทูตที่เร่งรีบในปัจจุบันจะมีผลหรือไม่เพราะเหลือไม่ถึง 2 เดือน คำสั่งคว่ำบาตรด้านอาวุธต่ออิหร่านจะหมดอายุลง./.