ขีปนาวุธข้ามทวีปของรัสเซียในขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะที่จัตุรัสแดงในกรุงมอสโกเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมปี 2020 (AP) |
สนธิสัญญาลดอาวุธโจมตีทางยุทธศาสตร์ฉบับใหม่หรือ New START ได้รับการลงนามเมื่อปี 2010 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2011 โดยระบุว่า สหรัฐและรัสเซียห้ามครอบครองขีปนาวุธข้ามทวีปเกิน 700 ลูก รวมทั้งเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์และหัวรบนิวเคลียร์ไม่เกิน 1,550 หัว ตามความตกลงเดิม สนธิสัญญาดังกล่าวจะหมดอายุในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ปี 2021 แต่ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องขยายเวลาออกไปอีก 5 ปี คือจนถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ปี 2026
หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการแข่งขันด้านอาวุธการ
การขยายอายุสนธิสัญญา New START สามารถช่วยให้โลกหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านอาวุธระหว่างสองประเทศมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์ นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้ชื่นชมการขยายอายุสนธิสัญญาฯ โดยย้ำว่า นี่เป็นวิธีการเพื่อธำรงรักษาการตรวจสอบคลังนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีความประสงค์ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า รัสเซียและสหรัฐจะเจรจาเพื่อลดจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ที่ทั้งสองฝ่ายกำลังครอบครองต่อไปเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านอาวุธ
ในขณะเดียวกัน องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า New START จะมีส่วนร่วมต่อเสถียรภาพระหว่างประเทศ และประเทศสมาชิกยังแสดงการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งต่อการปฏิบัติสนธิสัญญานี้ต่อไป ตลอดจนการสนทนาในเชิงสร้างสรรค์และโดยเร็วเกี่ยวกับมาตรการปรับปรุงความมีเสถียรภาพทางยุทธศาสตร์ กลุ่มนาโต้ยังคงมีความมุ่งมั่นในการรักษาข้อตกลงฉบับต่างๆและคำมั่นเกี่ยวกับการปรับลด การควบคุมและการไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ สนับสนุนการเจรจาเกี่ยวกับการเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมอาวุธเพื่อปรับปรุงความมั่นคงของกลุ่ม อีกทั้งถือการขยายอายุสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามแก้ไขภัยคุกคามด้านนิวเคลียร์และความท้าทายใหม่ ๆ ต่อเสถียรภาพเชิงยุทธศาสตร์
ในสมัยของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ทางการวอชิงตันไม่ให้ความสนใจต่อการขยายอายุสนธิสัญญา New START เพราะเห็นว่า ข้อตกลงนี้ไม่มีความเป็นธรรมต่อสหรัฐ โดยให้ความสำคัญกับการควบคุมอาวุธในระยะสั้นมากกว่า รวมถึงการห้ามใช้หัวรบนิวเคลียร์ทั้งหมดและระบุจีนเข้าสู่การพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในอนาคต ซึ่งในท้ายที่สุด แนวทางนี้ก็ได้ตกเข้าสู่ภาวะชะงักงัน ในขณะที่อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตผู้นำพรรครีพับลิกัน – ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้แสดงท่าทีที่ไม่รีบร้อนในการต่ออายุและยังมีความประสงค์ที่จะขยายให้ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ โดยเฉพาะประเทศจีนเข้าร่วมสนธิสัญญาฉบับนี้ด้วย
สัญญาณที่น่ายินดีและอนาคตของความสัมพันธ์รัสเซีย - สหรัฐ?
ในเฉพาะหน้า การขยายสนธิสัญญาออกไปอีก 5 ปีจะทำให้ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ รวมทั้งอาวุธอื่นๆ เสถียรภาพของยุทธศาสตร์อาจนำไปสู่การปรับลดอาวุธโดยมีการเข้าร่วมของฝ่ายที่ 3 ที่อาจรวมถึงจีนและพันธมิตรนาโต้ของสหรัฐคือฝรั่งเศสและอังกฤษด้วย
บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า การขยายอายุสนธิสัญญา New START สามารถช่วยให้โลกหลีกเลี่ยงการแข่งขันระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์ชั้นนำของโลก แต่แทบจะไม่สามารถแก้ปัญหาความสัมพันธ์รัสเซีย – สหรัฐที่คั่งค้างอยู่ได้ เนื้อหาในแถลงการณ์ของพระราชวังเครมลินและทำเนียบขาวได้แสดงให้เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในเรื่องวิธีการเข้าถึง โดยฝ่ายรัสเซียแสดงความยินดีต่อการขยายอายุสนธิสัญญา New START แสดงความปรารถนาที่จะร่วมมือในหลาย ๆ ด้าน เช่นการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจและการค้า ส่วนฝ่ายสหรัฐกลับแสดงความระมัดระวัง โดยประกาศถือการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญและจะตอบโต้การกระทำของรัสเซียที่เป็นอันตรายต่อสหรัฐและพันธมิตร ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับนาย เจนส์ สโตลเตนเบิร์ก (Jens Stoltenberg) เลขาธิการนาโต้ โดยยืนยันอีกครั้งถึงคำมั่นของสหรัฐในการธำรงบทบาท "ฐานที่มั่นเพื่อป้องกันรัสเซีย" ของนาโต้ ซึ่งทั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ทางการของนาย โจ ไบเดน ไม่ถือเรื่องการปรับปรุงความสัมพันธ์กับรัสเซียเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ
ในทางเป็นจริง ทั้งสองประเทศยังคงมีความขัดแย้งที่ต้องใช้เวลานานเพื่อแก้ไข ในสภาวการณ์ดังกล่าว การขยายอายุสนธิสัญญา New START เป็นแค่งเพียง 1 สัญญาณในเชิงบวกที่บ่งบอกว่า ทางการสหรัฐอยากรักษาสถานะที่เป็นอยู่กับรัสเซียและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรง ดังนั้น ความหวังเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐแบบหน้ามือเป็นหลังมืออาจจะยังไม่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้.